สี่มุมเมืองการค้าคึกคักเงินสะพัดรับตุรษจีนปีวอกทอง

05 Feb 2016
"ตลาดสี่มุมเมือง" คึกคักต้อนรับเทศกาลตรุษจีน พรั่งพร้อมด้วยสินค้ามากมายมีให้เลือกอย่างครบครัน โดยเฉพาะสินค้าผลไม้ที่ใช้นำไปไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต โดยตั้งแต่วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นั้นมีพ่อค้า-แม่ค้า และประชาชนทั่วไป จากทั่วสารทิศทั้งต่างจังหวัด กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้หลั่งไหลเข้ามาจับจ่ายใช้สอยเลือกซื้ออาหาร ผลไม้ และเครื่องเซ่นไหว้ เพื่อนำจำหน่ายต่อไปยังตลาดค้าปลีกกันอย่างคับคั่ง ก่อนจะเข้าสู่วันจ่ายของเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงในวันพรุ่งนี้ คือ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับปริมาณผู้ซื้อที่จะเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก ตลาดได้มุ่งมั่นจัดระเบียบการค้าเพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านพื้นที่ให้แก่ผู้เข้ามาใช้บริการ ผู้ซื้อ โดยได้จัดเตรียมพื้นที่ในการจัดจอดรถ พร้อมอำนวยความสะดวกการให้บริการลงสินค้าให้รวดเร็วมากขึ้น การจัดสต็อกสินค้า เพื่อเพิ่มความคล่องตัวด้านการค้าขาย ให้แก่พ่อค้า-แม่ค้า สามารถทำการค้าได้อย่างทันท่วงที
สี่มุมเมืองการค้าคึกคักเงินสะพัดรับตุรษจีนปีวอกทอง

สินค้าหลักที่นิยมนำไปใช้ไหว้ในช่วงตรุษจีนและเป็นสินค้าขายดีของสี่มุมเมืองช่วงนี้ ราคาขยับสูงขึ้นจากสภาวะการค้าในช่วงปรกติ โดยเฉพาะสินค้าอย่างผลไม้ที่นิยมนำไปไหว้ ซึ่งมีความหมายอันเป็นมงคล เช่น ส้ม หมายถึง โชคลาภ วาสนา มีความหมายถึงโชคดี กล้วย หมายถึง การมีลูกหลานมาก และเรียกโชคลาภเข้าบ้าน แอปเปิ้ล หมายถึง การมีสุขภาพแข็งแรง และความสุขสงบ สาลี่ หมายถึง เงินทองไหลมาเทมา สับปะรด หมายถึง การมองเห็นได้กว้างไกล และส้มโอ หมายถึง มหามงคล โชคดี ฯลฯ โดยในปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ผ่านมา ปริมาณสินค้าเข้าสู่ตลาดมากขึ้น แต่ด้านราคาขายก็ยังขยับไม่สูงมากนัก ยกตัวอย่างเช่น ราคาขายส้มพันธุ์โชกุนเบอร์ 5 ขาย 75 บาท /กิโกลรัม ส่วนเบอร์ 6 ขายอยู่ที่ 85 บาท /กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปีที่แล้วส้มโชกุนจะมีราคาสูงกว่าถึง 100 บาท/กิโลกรัม เป็นต้น

สำหรับสถานการณ์การค้าขายผักในช่วงก่อนวันจ่าย ค่อนข้างหนาตาเป็นพิเศษในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ โดยพื้นที่ขายผักหนาแน่นตลอดทั้งวัน เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าบรรยากาศการค้าขายคึกคักมีพ่อค้า-แม่ค้า ทยอยนำสินค้าต่างๆ เข้ามาขายอย่างต่อเนื่อง หลังจากในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา สินค้าบางชนิดลดน้อยและมีราคาแพงขึ้นตามสภาพกลไกของดีมานด์และซัพพลายที่สอดคล้องกัน ซึ่งผักที่นิยมนำไปปรุงเป็นอาหารคาว เพื่อใช้ไหว้ในช่วงเทศกาลที่มีชื่อมงคล ได้แก่ ผักคื่นช่าย หมายถึง มุมานะบากบั่น พากเพียร ขยันขันแข็ง ผักกาดเขียว หมายถึง ทำอะไรให้พยายามมองไปข้างหน้า (อนาคต) หัวไชเท้าหรือ ผักกาดหัว หมายถึง หัวหน้า เจ้านาย จุดเบื้องต้นและจุดเบื้องปลายของสรรพสิ่ง ผักคะน้า หมายถึง ยอดเยี่ยม ล้ำเลิศ เกราะป้องกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาสินค้าทั้งผัก ผลไม้ ของสดและของแห้งมีแนวโน้มจะแพงขึ้น แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อการ ซื้อของผู้บริโภค เพราะสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าหลักที่นิยมนำไปใช้เพื่อประกอบพิธีไหว้ตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

HTML::image( HTML::image( HTML::image(