Mr. Xavier Forneris ได้กล่าวถึงภาพรวมการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ คือ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง นอกจากนี้ประเทศไทยมีโอกาศในการดึงดูดการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับประเด็นที่เห็นว่าประเทศไทยควรดำเนินการเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ได้แก่ การคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ เช่น ความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment Agreements: IIAs) และความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนทวิภาคี (Bilateral Investment Treaty: BIT) ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการไม่เลือกประติบัติ การประติบัติเยี่ยงคนชาติ การคุ้มครองการยึดทรัพย์ การประกันการเวนคืน และการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ หากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (The Trans-Pacific Partnership: TPP) จะสร้างโอกาสและส่งเสริมการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ
Mr. Harald Jedlicka ได้บรรยายว่า นโยบายการลงทุนไม่ได้เป็นเพียงการให้สิทธิประโยชน์แก่การลงทุนทางตรงเท่านั้น แต่ควรดำเนินควบคู่ไปกับนโยบายการลงทุนอื่นๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ โดยประเทศไทยควรหาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถให้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันพบว่าประเทศไทยขาดแรงงานที่มีทักษะ ดังนั้น จึงเห็นว่าการเปิดให้มีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาทำงานมากขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะให้กับแรงงานในประเทศ และควรมีการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศเพื่อดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในประเทศไทย นอกจากนี้ ได้ยกตัวอย่างนโยบายการลงทุนของประเทศคอสตาริก้า ซึ่งมีการกำหนดสิทธิประโยชน์เจาะจงเพื่อสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีโดยมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนร่วมกับภาคเอกชนโดยจัดทำ MOU ร่วมกัน จัดตั้งองค์กรกลางเพื่อดูแลการลงทุน รวมถึงการอุดหนุนเพื่อฝึกอบรม และได้เสนอแนวทางการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยโดยให้พิจารณาความเหมาะสมของประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายการลงทุน การให้สิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานควรจัดให้มีศูนย์กลางฐานข้อมูลการลงทุนของประเทศเพื่อให้เห็นภาพรวมและกำหนดนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพสำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลังโทร. 0 2273 9020 ต่อ 3651 โทรสาร 0 2273 9088
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit