นายประสงค์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ เนื่องจากจังหวัดเกียวโตมีสภาพอากาศไม่เหมาะสมในการปลูกหม่อนเลี้ยง จึงมีอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมไหม ทางจังหวัดเกียวโตจึงมีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมไหมร่วมกับประเทศไทย โดยตั้งเป้าพัฒนาอุตสาหรรมไหมของทั้ง 2 ประเทศ ให้สามารถขยายไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น การแพทย์และอาหาร นอกเหนือจากแค่อุตสาหรกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพียงอย่างเดียว โดยผู้ประกอบการจากจังหวัดเกียวโต เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการไทย เพราะไทยมีรากฐานการผลิตไหมที่เข้มแข็ง มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงไหม และผ้าไหมไทยมีคุณภาพดี มีความแวววาวที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ และได้รับความนิยมสูงจากผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยหวังว่าหากประเทศไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและจังหวัดเกียวโตร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว น่าจะก่อให้เกิดการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5
ตามที่รัฐบาลได้วางเป้าหมายในการยกระดับอุตสาหกรรม SMEs ของไทย ให้ก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตของเทคโนโลยีขั้นสูง การที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน พึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งจังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นจังหวัดที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมชั้นสูง เช่น เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ พลังงานทดแทน หุ่นยนต์ และอุตสาหรกรรมสิ่งทอและเคมีภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหรกรรมที่มีนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่ม หรือ S-Curve ซึ่งเป็นโอกาสดีที่อุตสาหกรรมในประเทศไทยจะได้เรียนรู้นวัตกรรมชั้นสูงจากญี่ปุ่นเพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศต่อไป นายประสงค์ กล่าว
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สามารถสอบถามได้ที่ โทร.0 2202 4426-7 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th หรือwww.facebook.com/dip.pr
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit