ดร.ฉวีรัตน์ กล่าวต่อว่า กระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร คัดสรรสาวงามประจำท้องถิ่น จังหวัดละ 1 คน เพื่อส่งเข้าประกวด รวม 77 คน ทั้งนี้ สาวงามที่ได้รับรางวัลกุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์ ประจำปี 2559 ได้แก่ น.ส.ลักขณา พิมพ์แดง จาก สนง.วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ซึ่งจะได้รับเงินรางวัล จำนวน 1 แสนบาท พร้อมมงกุฎ ถ้วยเกียรติยศ และสายสะพาย รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ น.ส.กัญจน์อมล เคล้าจิตพูลสุข จาก สนง.วัฒนธรรมจังหวัดยะลา ซึ่งจะได้รับเงินรางวัล จำนวน 8 หมื่นบาท พร้อมมงกุฎ ถ้วยเกียรติยศ และสายสะพาย รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ น.ส.รดา ศุภมังคลาชัย จาก สนง.วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ซึ่งจะได้รับเงินรางวัล จำนวน 5 หมื่นบาท พร้อมมงกุฎ ถ้วยเกียรติยศ และสายสะพาย ส่วนรางวัลพิเศษอีก 3 รางวัล คือ รางวัลเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัยดีเด่น ได้แก่ น.ส.ชัญญา วงศ์ลาภพานิข
จาก สนง.วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ รางวัลกุลสตรีมารยาทงาม ได้แก่ น.ส.ปริศญา คูหามุข จากสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และรางวัลทูตวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งเป็นรางวัลที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เพื่อให้สาวงามทำหน้าที่เป็นสานสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมกับประเทศสมาชิกอาเซียน ในการต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยผู้ที่ได้รับตำแหน่ง คือ น.ส.ณัฐธิดาเกษร จาก สนง.วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลพิเศษทั้ง 3 รางวัล จะได้รับเงินรางวัล จำนวน 3 หมื่นบาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ และสายสะพาย
อย่างไรก็ตาม กุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์ ทั้ง 6 คน จะเป็นดั่งสัญลักษณ์ของการจัดงานฯ และทำหน้าที่เป็นทูตวัฒนธรรมให้แก่กระทรวงวัฒนธรรม ขณะที่สาวงามผู้เข้าประกวดทุกคนก็จะทำหน้าที่ทูตวัฒนธรรมสร้างภาพลักษณ์ประจำท้องถิ่นของตนเองอีกด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit