แพทย์หญิงสมิตดา สังขะโพธิ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "รอบรู้เรื่องปวด…ภัยเงียบของผู้หญิง" ในงานเปิดตัวโครงการ "Pfizer's 2 Missions: 1 Goal – สองภารกิจ เพื่อเป้าหมายหนึ่งเดียว" ร่วมสร้างสรรค์ เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของคนไทย ซึ่งจัดโดย มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย และ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมยาคุณภาพของโลก ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ว่า "บทบาทของผู้หญิงไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจากอดีตเป็นอย่างมาก จากความรับผิดชอบที่มีอยู่ในแต่เฉพาะครอบครัว เป็นแม่ที่ดูแลบุตร และคนในครอบครัวซึ่งรับผิดชอบการทำงานบ้านเป็นหลัก แต่ปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมมากขึ้น เราจะเห็นได้ชัดในเรื่องของการทำงาน มีผู้หญิงทำงานอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพ ซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในต่างประเทศผู้หญิงก็ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในสังคมเช่นเดียวกัน เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้หญิงมีความสามารถทัดเทียมเท่าผู้ชาย และสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น หรือเป็น Working Women มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบตามวิถีของสังคมเมือง ทำงานแข่งกับเวลา และต้องทำงานหนัก หักโหม และการมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง นำพาไปสู่โรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงแบบไม่รู้ตัว"
แพทย์หญิงสมิตดากล่าวเพิ่มเติมว่า "โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) นั้น ส่งผลต่ออวัยวะในระบบต่างๆ ในร่างกาย อาทิ กระดูก, กล้ามเนื้อ, ข้อต่อ, การมองเห็น, ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบทางเดินอาหาร, หัวใจและหลอดเลือด หรือแม้แต่โรคอ้วน สำหรับแนวทางการรักษาและป้องกันของโรคนั้น แบ่งได้ 2 แนวทาง หลักๆ คือ การรักษาที่สาเหตุ สามารถทำได้ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด และการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น การรับประทานยาการฉีดยา ตลอดจนการบรรเทาอาการการปวดเมื่อยโดยการนวดผ่อนคลาย หรือการยืดหยุ่นร่างกายอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถนะและความยืดหยุ่น รวมถึงผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ ไหล่ สะบัก หลัง และขา เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสมในขณะทำงาน อาทิ 1) ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง 2) ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้เหมาะสม นั่งสบาย 3) หากใช้คอมพิวเตอร์ กึ่งกลางของจอควรอยู่ในระดับสายตา การพิมพ์งานแป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่ 4) ขณะนั่งทำงาน ควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กระพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง 5) ปลูกต้นไม้ในร่ม ช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาจากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ 6) รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบ 5 หมู่ 7) ควรเปิดหน้าต่างสำนักงาน เพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทบ้าง อย่างน้อยในตอนเช้าและพักกลางวัน ซึ่งหากพบว่าตนเอง มีอาการปวดที่เรื้อรังนานกว่า 3 เดือน ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป"
อนึ่งโครงการเพื่อสังคม "Pfizer's 2 Missions: 1 Goal – สองภารกิจ เพื่อเป้าหมายหนึ่งเดียว โดย มูลนิธิไฟเซอร์ ประเทศไทย และด้วยความห่วงใยจาก บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมยาคุณภาพของโลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อีกทั้งยังเป็นเป้าหมายในการสร้างสรรค์สุขภาพที่ดีกว่าของสังคมไทยอย่างยั่งยืน
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit