นอกจากนี้ ปตท . ยังจัดกรอบการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน ให้การบริหารชุมชนสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ โดย ปตท. ดำเนินงานเพื่อสังคมตาม 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาสังคมและชุมชน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การทำ CSR ของ ปตท. จึงต้องมีความลึกซึ้ง มีเป้าหมาย และมีความสำเร็จที่ชัดเจนมากขึ้น การสนับสนุนในรูปของเงินไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เพราะเมื่อเงินหมด ปัญหาของชาวบ้านก็กลับมาใหม่ เราจะเปลี่ยนจากการทำ CSR แบบเดิมๆ ให้เป็น Strategic CSR หรือที่เรียกว่า CSV นั่นเอง ซึ่ง ปตท. จะต้องมีส่วนร่วมและมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อสังคมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยองค์กรจะให้ความสนับสนุนในรูปแบบของโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการให้ความรู้ซึ่งจะเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและยั่งยืนติดตัวชาวบ้านตลอดไป นอกจากนี้ ปตท. ยังมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจให้เป็นที่รักของสังคมชุมชน ด้วยการให้สถานีบริการน้ำมันสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ภายในสถานีบริการ เพื่อให้สถานีบริการ ปตท. เป็นศูนย์กลางของชุมชน และมีการจัดโครงการ "แยก แลก ยิ้ม" ให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับแคมเปญคัดแยกขยะ และนำรายได้ไปช่วยสังคมรอบๆ สถานีบริการน้ำมันต่อไป
ที่มาของโครงการ "แยก แลก ยิ้ม"
สำหรับโครงการ "แยก แลก ยิ้ม" มีที่มาจากการตระหนักถึงปัญหาการบริหารจัดการขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศไทย ปตท. จึงได้มีแนวคิดที่จะจัดระบบการบริหารจัดการขยะในสถานี ประกอบกับแนวคิดของการทำสถานีบริการน้ำมัน ให้เป็นสถานีบริการเพื่อชุมชน ทำให้ ปตท. มองเห็นโอกาสที่จะนำขยะมาสร้างรอยยิ้มให้ชุมชน ด้วยการนำเงินที่ได้จากการขายขยะรียูสหรือรีไซเคิล ไปสร้างสาธารณประโยชน์ให้ชุมชนต่างๆ ผ่านสถานีบริการน้ำมัน ปตท. กว่า 1,400 สาขา ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดที่ ปตท. สัมผัสกับผู้บริโภค และใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด
งบประมาณในการดำเนินงานโครงการฯ
เนื่องจากทาง ปตท. เล็งเห็นว่าการจะสร้างให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการแยกขยะในเวลาอันสั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสื่อสาร ณ จุดเกิดเหตุ จึงใช้งบประมาณกว่า 20 ล้านบาท ในการพัฒนารูปแบบถังขยะให้ดึงดูดความสนใจ และง่ายต่อการทำความเข้าใจเวลาที่จะทิ้งขยะ รวมทั้งการกระจายถังขยะให้ครอบคลุมทั่วประเทศผ่านสถานีบริการน้ำมัน ปตท. กว่า 1,400 สาขา นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำสื่อต่างๆ เพื่อสื่อสารกับผู้ประกอบการสถานีฯ ให้มีความเข้าใจ และสามารถดำเนินการตามโครงการฯ อย่างถูกต้อง เพื่อให้รายได้จากการขายขยะของทุกสถานีฯ เปลี่ยนเป็นสาธารณประโยชน์ สร้างรอยยิ้มให้ชุมชนทั่วประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
ความคาดหวังจากการดำเนินการโครงการฯ
ในปีแรกของการดำเนินโครงการ "แยก แลก ยิ้ม" ปตท. ตั้งเป้าหมายที่จะให้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทุกสถานี ได้นำรายได้จากขายขยะไปทำประโยชน์ให้ชุมชนบริเวณใกล้เคียงสถานีฯ อย่างน้อย 1 ครั้ง นั่นหมายความว่าจะมีชุมชนอย่างน้อยกว่า 1,400 ชุมชนทั่วประเทศ ที่จะมีรอยยิ้มจากโครงการนี้ และจากการประมาณการแล้ว คาดว่าโดยเฉลี่ยแล้วขยะในสถานีจะสร้างรายได้จากการขายให้แต่ละสถานีประมาณ 15,000 บาท/ปี หรือรวมเงินที่สามารถนำไปทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ทั่วประเทศจากโครงการนี้เป็นจำนวนกว่า 21 ล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งโครงการนี้ก็จะยังคงดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ เพื่อจะเป็นการสร้างให้ประชาชนและสถานีบริการน้ำมัน ปตท. มีจิตสำนึกในการบริหารจัดการขยะ การดูแลสิ่งแวดล้อม และการช่วยเหลือดูแลสังคมชุมชนร่วมกันตลอดไป
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit