"คาดว่าภาวะสุกรหายไปจากระบบอันเนื่องมากจากอากาศร้อนที่เกิดขึ้น จะเป็นเช่นนี้ไปอีกประมาณ 2-3 เดือน จึงเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งวัฎจักรสุกรเป็นแบบนี้ทุกปี แต่ปีนี้ภาวะรุนแรงขึ้นจากภัยแล้งที่เกิดยาวนานกว่าที่คาดการณ์ และเกิดขึ้นทั่วภูมิภาคนี้ ส่งผลให้ราคาสุกรหน้าฟาร์มของประเทศเพื่อนบ้านในขณะนี้ปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม กัมพูชา และลาว" น.สพ.ปราโมทย์ กล่าว
ปัญหาวิกฤตภัยแล้งรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้แหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดินแห้งแล้งทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงสุกรมากที่สุดในประเทศต่างประสบปัญหาอย่างหนัก เพราะไม่มีน้ำสำหรับให้สุกรกินและใช้ภายในฟาร์มโดยเฉพาะน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงระบบความเย็นในโรงเรือนปิดแบบปรับอากาศได้ หรือโรงเรือนระบบอีแวป เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อน้ำมาใช้กลายเป็นต้นทุนที่แบกรับสูงขึ้นถึง 10 เท่าตัว ขณะเดียวกัน สุกรที่โตช้ากว่าปกติ ทำให้ต้องยืดอายุการเลี้ยงออกไป 2-4 สัปดาห์ จึงต้องเสียค่าอาหารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
"เมื่ออุปสงค์กับอุปทานของตลาดไม่สมดุลกัน ราคาสุกรขุนจึงปรับขึ้นตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตามผู้บริโภคสามารถปรับเปลี่ยนแหล่งของโปรตีนได้ อาจชะลอการบริโภคสุกรไปก่อน แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรนั้นมีเพียงอาชีพเดียวที่เลี้ยงตนเองและครอบครัว เชื่อว่าภาวะราคาคงเข้าสู่ภาวะปกติในไม่ช้า" น.สพ.ปราโมทย์ กล่าว
น.สพ.ปราโมทย์ ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรว่า สภาพอากาศร้อนแล้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเครียดแก่สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรจัดเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอ หากเกิดปัญหาการขาดแคลนและน้ำไม่สะอาด ควรใช้คลอรีน 2-3 ppm ผสมในน้ำ เพื่อปรับสภาพน้ำให้สะอาดไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ช่วยป้องกันอาการท้องเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์ได้ อาจเพิ่มวิตามินละลายน้ำให้สุกร ควรให้อาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งขึ้น เพื่อกระตุ้นการกินอาหาร นอกจากนี้ อาจเพิ่มระบบน้ำหยดหรือน้ำพ่นฝอยควบคู่กับการเปิดพัดลมระบายอากาศเพื่อลดความร้อนให้กับสัตว์ แต่ต้องระวังอย่างให้ชื้นแฉะ และต้องมีการจัดการฟาร์ม การสุขาภิบาลและการป้องกันโรคที่ดี จำกัดยานพาหนะและบุคลากรที่จะเข้าภายในฟาร์ม โดยต้องผ่านการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง ที่สำคัญต้องหมั่นดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง กรณีที่พบสัตว์ป่วยหรือตายเกษตรกรต้องมีการกำจัดให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ไม่นำไปชำแหละเพื่อบริโภคหรือขาย ห้ามทิ้งซากสัตว์ลงคูคลองเพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว หากพบปัญหาสัตว์เจ็บป่วยผิดปกติควรรีบปรึกษาเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที.
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit