มรภ.สงขลา ชู “สะเต็มศึกษาสู่อาชีพ” พัฒนาการสอนวิทย์-คณิตครู ตชด. ครุศาสตร์ มรภ.สงขลา ใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา พัฒนาการสอนวิทย์-คณิตครู ตชด. ปูทางสู่อาชีพ สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

18 May 2016
ดร.รุจิราพรรณ คงช่วย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการอบรมพัฒนากลุ่มสาระคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้แก่ครูสังกัดกองกำกับการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เปิดเผยว่า โรงเรียนโครงการพระราชดำริเป็นสถานศึกษาที่ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะครูผู้สอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สำคัญมาก ดังนั้น เพื่อให้ครูผู้สอนทั้ง 2 กลุ่มสาระได้เรียนรู้วิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสู่อาชีพ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ ผ่านประสบการณ์ในการทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานพื้นฐาน หรือกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งจะช่วยให้ครูผู้สอนมีโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ในงานที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่งผลให้ผู้เรียนได้ศึกษาในรายวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นห่วงในด้านการศึกษาในโรงเรียนดังกล่าว
มรภ.สงขลา ชู “สะเต็มศึกษาสู่อาชีพ” พัฒนาการสอนวิทย์-คณิตครู ตชด. ครุศาสตร์ มรภ.สงขลา ใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา พัฒนาการสอนวิทย์-คณิตครู ตชด. ปูทางสู่อาชีพ สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวว่า หลักสูตรในการฝึกอบรมประกอบด้วย 1. บรรยาย เรื่องความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา และการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 2. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บ้านนางฟ้า 3. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กล้วยฉาบ และ 4. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสู่อาชีพ ให้สอดคล้องตามบริบทของท้องถิ่น โดยมีครูโรงเรียนสังกัด ตชด. ที่ 41 , 42 , 43 และ 44 จำนวน 42คน เข้ารับการพัฒนาในทิศทางเดียวกันอย่างมีระบบ.

HTML::image( HTML::image( HTML::image(