มร.จัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แบงค็อค เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด (BES) (Mr. Justin Pau, General Manager, Bangkok Exhibition Services (BES) Ltd.) กล่าวถึงความน่าสนใจของอาเซียนหลังการเปิด AEC อย่างเป็นทางการว่า การเกิดขึ้นของ AEC ทำให้อาเซียนกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจกลุ่มหนึ่งของโลก ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท มีประชากรรวมกันกว่า 620 ล้านคน ถือเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และ เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากจีน และ อินเดีย ในด้านการค้าและการลงทุนอาเซียนยังถือเป็นดาวเด่นของโลกที่ยังเติบโตสวนทางกับเศรษฐกิจโลก จนกลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีความน่าสนใจมากกว่า สหรัฐอเมริกา และ ยุโรป นอกจากนั้นความร่วมมือกันระหว่าง สหรัฐอเมริกา และ กลุ่มประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน ตามกรอบการความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ภาคพื้นแปซิฟิค (TPP) ยังแสดงให้เห็นว่ากลุ่มประเทศอาเซียนมีความสำคัญและมีศักยภาพในการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ประเทศไทย ซึ่งเป็นเสมือนศูนย์กลางของอาเซียนจากสภาพทางภูมิศาสตร์ รวมถึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมการค้าและการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคได้รับความสนใจจากนักธุรกิจและนักลงทุนเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ด้วยเหตุนี้ทำให้งานโพรแพ็ค เอเชีย 2016 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและบรรจุภัณฑ์ระดับนานาชาติอันดับหนึ่งของเอเชียครอบคลุมอุตสาหกรรมและธุรกิจสำคัญ ทั้ง อาหาร เครื่องดื่ม ยา เวชภัณฑ์ และ FMCG markets และเป็นศูนย์รวมของงานประชุมสัมมนาขององค์กรและบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมการผลิตและบรรจุภัณฑ์ทั่วเอเชียได้รับความสนใจในการร่วมจัดแสดงงานจากบริษัทต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมชมงานล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก ทำให้การจัดงานโพรแพ็ค เอเชีย 2016 ในครั้งนี้ ทาง บีอีเอส จึงตัดสินใจขยายพื้นที่จัดงานเพิ่มขึ้นโดยมีพื้นที่การจัดงานทั้งหมด 50,000 ตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 7 ฮอลล์ (ฮอลล์ 101 - 107) ของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ นับเป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของการจัดงานโพรแพ็ค เอเชีย
สำหรับการจัดงานโพรแพ็ค เอเชีย 2016 ในปีนี้ มีธุรกิจและบริษัทสนในเข้าร่วมในการจัดแสดงงานแล้วกว่า 1,800 บริษัท จาก 45 ประเทศ พร้อมทั้ง 17 พาวิเลียนนานาชาติ ทั้ง ออสเตเลีย จีน (2 พาวิเลียน) เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี (2 พาวิเลียน) ญี่ปุ่น เกาหลี (2 พาวิเลียน) สิงคโปร์ สเปน ไต้หวัน (2 พาวิเลียน) อังกฤษ และ อเมริกา ซึ่งพาวิเลียนใหม่ที่เพิ่มขึ้นในครั้งนี้มาจาก ออสเตเลีย และ เดนมาร์ก โดยแบ่งพื้นทีการจัดงานออกเป็น 6 โซนอุตสาหกรรม ประกอบด้วย DrinkTechAsia, FoodTechAsia, Lab&TestAsia, PackagingMaterialsAsia, PharmaTechAsia และ PrintTechAsia มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเข้าร่วมจัดแสดงในงานถึง 4,500 เครื่อง จากบริษัทชั้นนำระดับโลก
นอกจากนั้นภายในงานฯ ยังถือเป็นศูนย์กลางในการจัดประชุมและสัมมนาด้านอุตสาหกรรมระดับเอเชีย อาทิ การจัดงานประชุมด้านนวัตกรรมอาหารของเอเชีย 2016 (Food Innovation Asia Conference 2016), การประกวดนวัตกรรมอาหาร 2016 (Food Innovation Contest 2016), การประชุมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเอเซีย 2016 (Asia Drink Conference 2016), งานสัมมนาเทคโนโลยียาและเวชภัณฑ์ 2016 (PharmaTech Seminar 2016), การประชุมด้านบรรจุภัณฑ์ไทยและTISTR Conference 2016 (Thai Packaging Centre and TISTR Conference 2016), งานสัมมนาจากกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 2016 (The Department of Industrial Promotion Seminar 2016), กิจกรรมแข่งขัน The FoSTAT-Nestle Bowl Quiz (The FoSTAT-Nestle Bowl Quiz), การประชุมด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกครั้งที่ 8 (The 8th Plastics in Packaging Conference), การประชุมอาหารและเครื่องดื่มแห่งเอเชีย (Asia Food Beverage Thailand Conference) และ กิจกรรมการมอบรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ The Thai Star and Asia Star Packaging Award 2015 ซึ่งทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นมีส่วนในการส่งเสริมมูลค่าให้แก่ภาคอุตสาหกรรม
ซึ่งจากการขยายพื้นที่จัดงาน จำนวนธุรกิจและบริษัทจากทั่วโลกที่เข้าร่วมจัดแสดงงาน และ จำนวนผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมงาน ทำให้คาดว่างานโปรแพ็ค เอเชีย 2016 จะสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจ การเจรจาการค้า และ การลงทุนได้สูงถึง 27,000 ล้านบาท โดยมูลค่าทางการค้าและการลงทุนที่เกิดขึ้นนอกจากจะส่งเสริมทางด้านธุรกิจแล้ว ยังช่วยให้เกิดมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย ทั้งยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นที่สนใจจากนักลงทุนและนักธุรกิจจากทั่วโลกอีกด้วย
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit