น.พ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดประเด็นเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูลูก และแนวทางในการให้การศึกษา จากการสำรวจพบว่าเด็กไทยเป็นเด็กที่มีความสุขอันดับ 4 ของโลก แสดงให้เห็นว่าคนไทยไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของการเลี้ยงลูกให้มีความสุข สิ่งที่เราควรทำเพิ่มเติม คือ การหาเครื่องมืออื่นให้ลูกมีความสุขมากขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยการให้การศึกษาที่ถูกวิธี และผลักดันให้ลูกพัฒนาศักยภาพจนถึงขีดสุด และจุดนี้พ่อแม่มีส่วนสำคัญมาก เพราะลูกจะเรียนรู้จากสิ่งที่พ่อแม่ทำเป็นลำดับแรก ผู้ใหญ่อย่างเราจึงควรสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูก ส่งเสริมให้ลูกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อีกหนึ่งปัจจัยที่เด็กไทยต้องเร่งพัฒนา คือ ทักษะภาษาอังกฤษ เพราะภาษาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนวิชาอื่นๆ กระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นความสำคัญในประเด็นนี้จึงมีนโยบายเพิ่มชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษจาก 1ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็น 1 ชั่วโมงต่อวัน ในปีการศึกษาหน้า
นางสาวอริสรา ธนาปกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ เปิดเผยว่า "ปัจจัยหลักที่จะพาเด็กไทยไปสู่ความสำเร็จระดับโลกได้นั้น ต้องเริ่มจาก กล้า คือ กล้าที่จะวางแผนการศึกษาโดยมองไปไกลถึงระดับโลก และการพิชิตทุนการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆเพราะการตั้งเป้าหมายนั้นเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จ, ก่อน การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสร้างความได้เปรียบทั้งในการเรียนและการแข่งขัน , แกร่ง คือ การเปลี่ยนแรงกดดันให้เป็นความท้าทาย เปลี่ยนความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเรียนรู้ และอดทนฝึกฝนจนเกิดผลสำเร็จ และสุดท้าย ก้าว คือ การลงมือทำจริง ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจนเกิดความเชี่ยวชาญ ซึ่งทั้ง กล้า ก่อน แกร่ง และก้าวนั้น หากเด็กไทยเพิ่มคุณสมบัติเหล่านี้ขึ้นก็จะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า 16 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญในการแข่งขันบนเวทีโลกของเด็กไทยที่ต้องเร่งพัฒนาคือทักษะภาษาอังกฤษเป็นอันดับแรก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าภาษาอังกฤษช่วยสร้างโอกาสในชีวิตที่ดีตามมาด้วยเช่นกัน"
นายอภิธา วัลลภศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ เปิดเผยว่า "เอ็นคอนเส็ปท์พยายามหาข้อมูลของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาชั้นนำ ซึ่งพบเทรนด์การศึกษาที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ คือ การนำบุคคลากร (People) กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) มาผสมผสานกัน ไม่ว่าจะเป็น Adaptive Learning Management System ซึ่งจากการสังเกตการณ์ประเทศที่มีการศึกษาชั้นนำทั้ง 5 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ฟินแลนด์ อังกฤษ อเมริกา เกาหลี และญี่ปุ่น นั้นมีส่วนที่เหมือนกันคือการแก้ปัญหาและลดช่องว่างของการเรียนรู้ได้ประสบผลสำเร็จ Attendance Gap วินัยและการเข้าเรียน ในจุดนี้การศึกษาไทยค่อนข้างมีปัญหา เพราะมีนักเรียนเพียง 59.99 % ที่เรียนในระบบจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 , Effort Gap ความพยายามและพัฒนาการ, Social Force หรือพลังทางสังคม คือ ส่วนที่ช่วยผลักดันให้เด็กก้าวไปข้างหน้า Performance การเพิ่มความสามารถและศักยภาพของนักเรียนไทย นอกจากนี้ยัง Gamification หรือการนำรูปแบบกลไกหรือวิธีคิดแบบในเกม มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเพื่อสร้างความสนุกและกระตุ้นการมีส่วนร่วมในที่สุด โดยทั้งหมดนี้ เอ็นคอนเส็ทป์จึงพัฒนาระบบต่างๆที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหา โดยล่าสุดเอ็นคอนเส็ปท์ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น EchoEnglish นวัตกรรมใหม่ที่จะมาแก้ไขปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทยทุกเพศทุกวัย ซึ่งพร้อมแล้วสำหรับการใช้งานนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย"
ครูพี่หมุย ธนัช ลาภนิมิตรชัย อดีตนักเรียนทุนสหภาพยุโรป และครูผู้สอนโรงเรียนโซโซไทย เปิดเผยถึง เคล็ดลับสร้างความสำเร็จและเทคนิคการเรียน "สำหรับการเรียนในระดับมัธยมเด็กหลายคนมักแยกวิชาการเรียนเป็น วิชาสายวิทยาศาสตร์ และวิชาสายศิลป์ ทั้งที่ความจริงแล้ว ควรแยกตามรูปแบบการเรียนและธรรมชาติของวิชานั้นๆ แบ่งเป็น วิชาเนื้อหา และ วิชาทักษะ เพื่อให้ตรงประเด็นและง่ายต่อการทบทวน โดยวิชาเนื้อหาอย่างวิชาชีววิทยา และวิชาสังคม เน้นความจำ ความเข้าใจ ส่วนวิชาทักษะ อย่าง ภาษา และคณิตศาสตร์ นั้นนอกจากการจำและความเข้าใจแล้ว ยังต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีก ซึ่งวิชาทั้งสองประเภทนั้นสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบ S.M.A.R.T คือ ชี้ชัดเนื้อหา (Specific) คือ มีความชัดเจนและรู้ว่า ต้องเรียนอะไร คะแนนเป้าหมายคือเท่าไหร่ ต้องทบทวนหรือเรียนกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตัวอย่างข้อสอบเป็นอย่างไร และผลลัพธ์การเรียนเป็นอย่างไร, วัดผลได้ (Measurable) คือ ต้องสามารถประเมินตัวเองได้ว่าเรียนแล้วมีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน และต้องปรับปรุงส่วนใด, ทำได้จริง (Attainable) หมายถึงการตั้งเป้าหมายโดนเริ่มจากส่วนที่ง่ายไปยังส่วนที่ยากขึ้น และได้คะแนนเต็มในที่สุด , ตรงเป้าหมาย ( Relevant ) คือ เลือกเท่าที่สำคัญและจำเป็น และทันเวลา (Time Based) หมายถึงความเร็วในการทำข้อสอบและการเตรียมตัวล่วงหน้า นอกจากนี้การปรับเนื้อหาต่างๆมาสู่เทคนิคช่วยจำ จากภาพ เสียง และภาพประกอบเสียง ซึ่งจะช่วยอธิบายเนื้อหาที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
งานคิดข้ามช็อต เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เอ็นคอนเส็ปท์ตั้งใจจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในแวดวงการศึกษา มาร่วมกันสะท้อนปัญหา นำเสนอมุมมองใหม่ๆ เพื่อช่วยวางแผนและพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยสู่เวทีโลก โดยได้รับเกียรติจากกูรูด้านการศึกษามาร่วมพูดคุย อาทิ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด, อ.อดัม แบรดชอว์ ครู พิธีกรรายการ TV นักเขียน ชื่อดัง, ครูพี่กิ๊บ วลีรัตน์ หาญเมธีคุณา โรงเรียน InterPass, ครูพี่หมุย ธนัช ลาภนิมิตรชัย อดีตนักเรียนทุนสหภาพยุโรปและครูผู้สอนโรงเรียนโซไซไทย และครูพี่แนน อริสรา ธนาปกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ซึ่งในปีนี้มีผู้ให้ความสนใจร่วมงานกว่า 4,000 คน และรับชมผ่านการถ่ายทอดสดไปยังจุดต่างๆทั่วประเทศอีกเป็นจำนวนมาก
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit