การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ หรือ ไอโอที (Internet of Things : IoT) และคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องเคลื่อนย้ายระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และแบนด์วิธ ให้ใกล้ชิดกับผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์รอบข้างมากขึ้น สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ เป็นที่รู้จักในนาม ศูนย์ข้อมูลใกล้เคียง หรือ 'neighborhood' data center' ที่ต้องพรั่งพร้อมด้วยประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น ระบบประมวลผล และความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลมหาศาลได้
มร.แดเนียล ซิม ผู้อำนวยการ ช่องทางธุรกิจ อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า "ปีนี้คาดการณ์ได้ว่า การบริโภคข้อมูลด้านดิจิตัลจะมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะทำให้เกิดจุดอัดตัวเป็นอุปสรรคต่อการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้น "ระบบศูนย์ข้อมูลใกล้เคียง" จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจและการธนาคาร ที่จำเป็นต้องอาศัยระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ และคุ้มค่าการลงทุนเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์โครงข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและล้ำสมัยรองรับกับการใช้งานในอนาคต โดย
หนึ่ง ต้องออกแบบให้มีความยืดหยุ่น เนื่องด้วยศูนย์ข้อมูลใกล้เคียง ที่อยู่รอบข้างจะมีบทบาทมากขึ้นในการรองรับการส่งผ่านข้อมูล การประมวลผล พร้อมจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้ และทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายและอุปกรณ์จำนวนมากเข้าด้วยกัน ซึ่ง การ์ดเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านไอทีในสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่า ในปี 2563 จะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อมากถึง 6.4 พันล้าน จากอิทธิพลของ IoT ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพการใช้งาน ด้าน Jay Wirts รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายบริหารไอที อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ ให้ข้อคิดว่า "เมื่อถึงจุดหนึ่งองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงอัตราการเติบโต ทั้งในเชิงกว้างและลึก เพราะมันไม่ได้ง่ายแค่ปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายให้รองรับการเจริญเติบโตตามขนาดของธุรกิจภายในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น แต่ต้องสามารถปรับใช้กับพื้นที่ใหม่อื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วด้วย เช่น ระบบ SmartCabinet และ SmartRow ระบบขนาดเล็กที่สามารถปรับขยายการใช้งานได้ตามความจำเป็น สะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน
สอง การแสดงผลที่ชัดเจน การจัดการอุปกรณ์เทคโนโลยีระยะไกลจากส่วนกลาง เป็นสิ่งท้าทายและจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาดูแลซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อเป็นการประหยัดงบ ขณะที่ยังมั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการ "ระบบศูนย์ข้อมูลใกล้เคียง" จะไม่เกิดข้อผิดพลาด องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีระบบไอทีที่ทำงานแบบเรียลไทม์ทั้งหมด ทั้งจากส่วนกลางและโครงข่ายรอบนอก ซึ่งโครงข่ายระบบจ่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เช่น Liebert MPH 2 สวิตช์ KVM และโซลูชั่นการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของระบบดาต้า เซ็นเตอร์ จะช่วยให้สามารถจัดการระบบศูนย์ข้อมูลจากส่วนกลางได้ผ่านการควบคุมเซิร์ฟเวอร์ระยะไกล ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำงานเชิงรุกและพบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
สาม มีความยืดหยุ่นในทุกระดับ จากที่สังคมปัจจุบันเชื่อมต่อถึงกันหมด ผู้ใช้งานต่างคาดหวังว่าแอพพลิเคชั่นต่างๆ จะใช้งานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด แต่จากการศึกษาล่าสุดของ สถาบันโพนีมอน (Ponemon Institute ) (ภายใต้การสนับสนุนจาก อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์) เกี่ยวกับสาเหตุการหยุดทำงาน (downtime) ของระบบดาต้า เซ็นเตอร์ พบว่า สาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้ระบบศูนย์ข้อมูลหยุดทำงาน เกิดขึ้นจากความล้มเหลวของเครื่องสำรองไฟฟ้า โดยก่อให้เกิดความเสียหายสูงถึง 8,851 เหรียญสหรัฐ ต่อนาที (ประมาณ 315,000 บาทต่อนาที) หรือคิดเฉลี่ยประมาณ 740,357 เหรียญสหรัฐ ต่อการหยุดทำงานต่อครั้ง (ประมาณ 26 ล้านบาทต่อครั้ง) ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการใช้ยูพีเอสที่มีความคงทน เช่น เครื่องสำรองไฟฟ้า Liebert GXT4 ที่ช่วยปกป้องอุปกรณ์ไอทีให้ปลอดภัยจากกระแสไฟที่ไม่สม่ำเสมอ
มร.แดเนียล กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานไมโครแบบครบวงจรข้างต้น เหมาะสำหรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์รอบข้างหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งถูกออกแบบมาให้ควบคุมการทำงาน พร้อมโซลูชั่นครบวงจรสำหรับสำนักงานสาขา ควบคุมการทำงานระยะไกล และเชื่อมต่อกับเครือข่ายรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบครบวงจรของอิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ ติดต่อ: www.EmersonNetworkPower.com/Edge
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit