อ่างเก็บน้ำคำจวง บ้านถ้ำติ้ว ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำประวัติศาสตร์ตามพระอริยสงค์ “โครงการป่ารักน้ำ

25 Mar 2016
นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี กล่าวในระหว่างการเยี่ยมชมผลสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการป่ารักน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านถ้ำติ้ว ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559 ว่าโครงการป่ารักษ์น้ำแห่งนี้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ของชาติบ้านเมือง ในแง่ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อ่างเก็บน้ำคำจวง บ้านถ้ำติ้ว ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำประวัติศาสตร์ตามพระอริยสงค์ “โครงการป่ารักน้ำ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องป่าและน้ำ วันนี้นับเป็นวันที่รู้สึกเป็นสิริมงคลเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเยี่ยมเยียนพื้นที่นี้ ได้มายืนอยู่หน้าจุดที่ครั้งหนึ่งเมื่อ 30 ปีมาแล้ว ที่สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ประโยคที่สำคัญมากที่สุดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรามชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า ถ้าหากพระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ พระองค์ท่านจะทรงเป็นป่า ถ้าหากพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างแหล่งน้ำให้พี่น้อง ประชาชน ไว้ทำการเพาะปลูก ไว้ใช้สอยแล้ว พระองค์ท่านก็จะเป็นผู้ที่ช่วยโน้มน้าวชักชวนให้พี่น้องประชาชนปลูกป่า แล้วก็งดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า พระราชกระแสประโยคนี้เป็นประโยคสำคัญที่ทุกหมู่ ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการทำงาน ในการรักษาป่า เช่น กรมป่าไม้ซึ่งเป็นกรมที่เก่าแก่มีบุคลากรมากมายหลายหมื่นคน ที่ได้ร่วมกันรักษาป่ามาจนกระทั่งบางส่วนก็แบ่งมอบให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รับไปดำเนินการในส่วนที่เป็นอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

อย่างไรก็ตามทั้งสองกรมนี้ก็มีบทบาทสำคัญร่วมกับฝ่ายปกครอง ฝ่ายทหาร ฝ่ายองค์กรปกครองท้องถิ่นในการที่จะดูแลป่า และดูแลแหล่งน้ำที่ได้มีการพัฒนาไว้แล้ว อ่างเก็บน้ำเหล่านี้โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำคำจวง นับเป็นอ่างที่มีความเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ที่ให้ประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างมาก

"วันนี้เราก็มีการพูดคุยกันว่า จะพัฒนาแหล่งน้ำนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนมากขึ้น แล้วอนุรักษ์ไว้ให้เป็นอ่างเก็บน้ำประวัติศาสตร์ที่พระอริยสงฆ์ในอดีตท่าน ได้ขอพระราชทานจัดสร้างขึ้นในชุมชนที่นี่ นอกจากนั้นตรงที่เรายืนอยู่ตรงนี้เป็นพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษ ที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบมราชินีนาถ ได้ทรงปลูกต้นไม้ไว้เป็นอนุสรณ์ และเป็นตัวอย่างให้กับพี่น้องราษฎรบริเวณนี้ ช่วยกันขยายพื้นที่ออกไปก็น่าเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะฟื้นฟูโครงการนี้ขึ้นมาภายใต้ความร่วมมือของส่วนราชการทุกฝ่าย และพี่น้องประชาชนองค์กรปกครองท้องถิ่น ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม เพื่อที่จะอนุรักษ์ให้โครงการป่ารักษ์น้ำแห่งนี้ซึ่งเป็นโครงการแห่งแรกของประเทศไทยได้มีความยั่งยืนถาวร และบรรลุถึงเป้าหมายตามที่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์ทรงพระราชทานไว้เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา"นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี กล่าว

องคมนตรีกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า จากการมาเยี่ยมชมผลการดำเนินงานของโครงการฯ ครั้งนี้ พบว่าทุกคนต่างตระหนักและดูแลงานในโครงการฯ อย่างดี จะเห็นได้ว่าจากพื้นที่ดำเนินการ 1 ไร่ตอนเริ่มต้นในวันนั้น วันนี้ก็สามารถขยายไปเป็นหลายพันไร่ เป็นการได้มาซึ่งป่าที่ทั้งส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันปลูกและดูแลรักษา

ในอนาคตคิดว่าเมื่อได้มีการเสริมความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งต้นน้ำลำธารด้วยการสร้างฝายทั้งฝายถาวร ฝายกึ่งถาวร ฝายลักษณะผสมผสาน หรือฝายต้นน้ำ ให้ครบสมบูรณ์แล้วก็เชื่อว่าแหล่งน้ำบนภูเขาแห่งนี้จะเอื้อต่อการทำให้พื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ของอ่างเก็บน้ำมีความสมบูรณ์และป้อนน้ำเข้าอ่างได้ตลอดทั้งปี เพื่อการใช้ประโยชน์ของราษฎรอย่างยั่งยืนต่อไป

HTML::image(