โดย คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นประธานในการบวงสรวงการจัดสร้างละครที่พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 ณ พระราชวังพญาไทก่อนการแถลงข่าว และได้กล่าวถึง ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง "ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล" ละครสร้างชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระมหาธีรราชเจ้า ว่า
"เมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช 2456" ทั้งยังพระราชทานเงิน 1 แสนบาทเพื่อเป็นทุนประเดิม โดยทรงมุ่งหมายให้คลังออมสินเป็นรากฐานในการฝึกให้ราษฎรได้รู้จัก การออม เพื่อให้มีทรัพย์ใช้สอยในยามจำเป็นและได้รับดอกผลตามสมควร จากนั้นมาคลังออมสิน พัฒนาและเติบโตอย่างแข็งแกร่งเป็นธนาคารออมสิน สถาบันการเงินของรัฐที่มั่นคงและอยู่คู่คนไทย ยาวนาน นับถึงปัจจุบัน 103 ปี พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงให้กำเนิดธนาคารนั้น คือสิ่งที่คนไทยทุกคนต่าง ตระหนักสำนึก และภูมิใจที่ได้สนองพระราชปณิธานของพระองค์
ในวาระคล้ายวันสถาปนาธนาคารออมสินครบ 103 ปีในปีนี้ ธนาคารออมสินจึงได้จัดกิจกรรม พิเศษ เพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระผู้สถาปนาธนาคารโดย อัญเชิญพระราชสมัญญานาม "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" ซึ่งมีความหมายว่า "มหาราชผู้ทรงเป็น จอมปราชญ์" มาเป็นมงคลนามในการจัดสร้างละครเพลง "ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล" โดยน้อมนำ พระวิสัยทัศน์ในการปกครอง และพระอัจฉริยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งทรงได้รับการถวายพระเกียรติ ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้นำศิลปะมาพัฒนาประเทศ มาเป็นแรงบันดาลใจในการจัดทำบทละคร"
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างละครเพลง "ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล" นอกจากเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าแล้ว ยังเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของพระองค์ และเพื่อกระตุ้นจิตสำนึก "ความรักชาติ" ที่ทรงวางเป็นอุดมการณ์แห่งชาติไว้ให้เป็นที่ประจักษ์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
"ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล" จะนำผู้ชมย้อนกลับไปสัมผัสบรรยากาศในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เห็นความเป็นไปของบ้านเมืองในเวลานั้นผ่านตัวละครต่างๆ และได้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย และเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกในเวลานั้น พระราโชบายในการวาง รากฐาน สยามประเทศในทุกๆด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ อีกทั้ง ยังทรงให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกราษฎรในเรื่อง "อุดมการณ์ความเป็นชาติ" ผ่านพระราชดำรัสและบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ ทั้งบทละคร บทความในหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่นาฏกรรม จนรัชสมัย ของพระองค์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นยุค "ละครสร้างชาติ" และละครเพลงเฉลิมพระเกียรติ "ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล" ก็จะได้นำขนบ "ละครสร้างชาติ" กลับมาให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำประทับใจอีกครั้ง โดยน้อมนำ ส่วนหนึ่งของบทพระราชนิพนธ์ อาทิ "ความรัก" จากบทพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง "เวนิสวาณิช" และ โคลงภาษิตนักรบโบราณ ที่มีผู้นำมาใส่ทำนองจนกลายเป็นเพลงที่คุ้นหู ก็ได้นำมาใส่ไว้ในละครด้วย" ดร.ธัชพลกล่าว
นอกจากนี้ละครเพลง "ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล" ละครสร้างชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหา ธีรราชเจ้า ยังมีความพิเศษอีกหลายประการ ทั้งทีมนักแสดงก็เป็นชั้นแนวหน้าด้านละครเพลงของเมืองไทย ได้แก่ หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ อาร์ม- กรกันต์ สุทธิโกเศศ รอน- ภัทรภณ โตอุ่น จิ๊บ-วสุ แสงสิงแก้ว ปาน-ธนพร แวกประยูร แอ๊ด-ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย พร้อมด้วยนักแสดงละครเวทีมืออาชีพและนักแสดงสมทบอีกมากมาย และยังมีทีมงานสร้างสรรค์ที่เป็นมืออาชีพด้านต่างๆ และมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ พลเรือตรี วีระพันธ์ วอกลาง ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีสากล)พ.ศ.2551 เป็นผู้อำนวยเพลง และวาทยากร อาจารย์ โกมล พานิชพันธ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลอง จังหวัดแพร่และเจ้าของพิพิธภัณฑ์ โกมลผ้าโบราณเป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย มนตรี วัดละเอียด เมคอัพอาร์ทติสชั้นครูที่ได้รับรางวัลมาแล้ว หลายสถาบันเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการแต่งหน้าทรงผม รศ.จารุณี หงส์จารุ เป็นผู้กำกับและประพันธ์เพลง ปริญญา ต้องโพนทอง ออกแบบและกำกับลีลา ปริดา มโนมัยพิบูลย์ เขียนบท พันพัสสา ธูปเทียน เป็นผู้กำกับการแสดง และธิษณา เดือนดาว เป็นผู้อำนวยการแสดง
"ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล" ละครสร้างชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จัดสร้างโดย ธนาคารออมสิน สนับสนุนการจัดสร้างโดย บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนับสนุนด้านสถานที่ และบุคลากรอำนวยความสะดวกในการซ้อมการแสดง
"ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล" เปิดการแสดง 5 วัน 5 รอบ ตั้งแต่วันที่ 18-22 พฤษภาคม 2559 ณ เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร์ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.gsb.or.th หรือ facebook : GSB society หรือ ADD Application line ของธนาคารออมสิน
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit