"อีกทั้ง อสมท. และ กองทัพบก ในฐานะผู้ได้สิทธิ์รับใบอนุญาตโครงข่ายทีวีดิจิตอลแบบไม่ต้องประมูล ก็มีพันธะสัญญาในการต้องยุติทีวีแอนะล็อก และ คืนคลื่นกลับมาให้ กสทช.จัดสรรใหม่ ดังนั้น การขยายเวลายุติคลื่นแอนะล็อก นอกจากส่งผลต่อการแข่งขันที่เสรีเป็นธรรมในระบบใบอนุญาตแล้ว ยังทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์จากการบริหารทรัพยากรคลื่นความถี่เพื่อสาธารณะ" สุภิญญา กล่าว
นอกจากนี้ ในการประชุมเตรียมออก ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การส่งเสริมชุมชนที่มีความพร้อมและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง บริการชุมชนที่มีคุณภาพ พ.ศ. ... ซึ่งเป็นภารกิจตามแผนแม่บทฯที่ล่าช้ามานาน ถ้าร่างฉบับนี้ผ่าน จะได้เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะต่อไป
วาระอื่นๆ น่าจับตาเพิ่มเติม ได้แก่ วาระพิจารณามาตรการปกครอง เรื่องร้องเรียน ขอให้ตรวจสอบระยะเวลาการโฆษณาออกอากาศของช่อง 3 วาระการพิจารณาโตแย้งคัดค้านหนังสือสำนักงาน กสทช. และการกำหนดมาตรการทางปกครองกับ บ. ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด กรณีนำช่องรายการที่ไม่ได้รับอนุญาตมาออกอากาศ วาระแผนการชดเชยเยียวยาผู้ใช้บริการของ บ. ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด และ บ. พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด และ บ.สตาร์ช(ประเทศไทย)จำกัด กรณี บ.ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด แจ้งยุติการให้บริการช่องรายการทางกล่อง PSI และ กล่อง Sun Box วาระ บ. พีเอสไอ บรอดแคสติ้ง จำกัด ได้กำหนดเมนูแนะนำและตั้งค่าเริ่มต้นช่องรายการของกล่องรับสัญญาณ PSI วาระการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การวัดการแพร่ของแปลกปลอมของสถานีทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง(ฉบับที่2) และวาระอื่นๆ ติดตามผลการประชุมทั้งหมดได้วันพรุ่งนี้...
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit