โครงการ Breakthrough Listen มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ เดินหน้าแบ่งปันข้อมูลการค้นหาสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญาในจักรวาลเป็นครั้งแรก

18 Apr 2016
เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ "แสงอรุณ (First Light)" ที่ส่องดูทุกซอกมุมของสวรรค์ พร้อมประกาศการค้นหาในวงกว้างในเร็วๆนี้ และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลแบบเปิดได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ Breakthrough Initiatives

โครงการ Breakthrough Initiatives เปิดเผยว่า โครงการ Breakthrough Listen ซึ่งเป็นโครงการมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อค้นหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตในจักรวาล ซึ่งแบ่งปันข้อมูลการสังเกตการณ์เบื้องต้นกับทั่วโลก

เมื่อเดือนมกราคม 2559 เครือข่าย "แสงอรุณ" ของโครงการ Breakthrough Listen ได้เริ่มต้นการสังเกตการณ์เป็นระยะเวลา 10 ปีตามที่ได้ประกาศไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ที่รอยัล โซไซตี้ ในลอนดอนโดยยูริ มิลเนอร์, สตีเฟน ฮอว์กิ้ง, ลอร์ด มาร์ติน รีส, แอนน์ ดรูยัน และ แฟรงค์ เดรก โดยได้มีการสังเกตการณ์เป็นระยะเวลาหลายร้อยชั่วโมงที่สถานีกล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์เรดิโอ (Green Bank Radio Telescope) ในเวสต์เวอร์จิเนีย และระบบค้นหาดาวเคราะห์อัตโนมัติของหอสังเกตการณ์ลิค (Lick) ที่เขาแฮมิลตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย

ในวันนี้ โครงการ Breakthrough Listen ได้เปิดเผยข้อมูลชุดแรกให้สาธารณะเข้าถึงได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ Breakthrough Initiatives (www.breakthroughinitiatives.org) นอกจากนี้ ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ SETI@home ของ UC Berkeley ก็จะได้รับข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์เช่นเดียวกัน

ข้อมูลการสังเกตการณ์จนถึงปัจจุบันของ Breakthrough Listen รวมไปถึงดวงดาวเกือบทั้งหมดในรัศมี 16 ปีแสงจากโลก (รวมไปถึงหมู่ดาวฤกษ์ต่างๆ เช่น ดาว 51 ม้าบิน ซึ่งเป็นทราบโดยทั่วไปว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร) และตัวอย่างดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไปในระยะ 16-160 ปีแสง ข้อมูลดังกล่าวรวมไปถึงดาวฤกษ์ยักษ์ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์และระบบดาวคู่อีกมากมาย การค้นหายังตั้งเป้าไปที่แกแล็กซี่รูปก้นหอยประมาณ 40 แกแล็กซี่ ซึ่งรวมถึงสมาชิกของกลุ่ม Maffei Group ซึ่งอยู่ในทิศทางเดียวกับกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย หรือ กลุ่มดาวค้างคาว ดาวฤกษ์ภายในรัศมี 16 ปีแสงที่สามารถเห็นได้เฉพาะจากซีกโลกใต้เท่านั้น เช่น ดาวอัลฟาเซนทอรี (Alpha Centauri) จะถูกสังเกตการณ์ในช่วงปลายปีจากกล้องโทรทรรศน์แบบ Parkes

แผนการสังเกตการณ์ในปีนี้สำหรับกล้องโทรทรรศน์ทั้ง 3 จุดได้ถูกเผยแพร่ออกไปแล้วและสามารถดูได้ที่www.breakthroughinitiatives.org ซึ่งประกอบไปด้วย

1. กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์เรดิโอ

การค้นหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตที่ไกลที่สุดในโลกใน 5 กลุ่มตัวอย่างที่สำคัญ (ซีกโลกเหนือ)

  • ดาวฤกษ์ทั้ง 43 ดวงภายใน 5 พาร์เซก ที่ 1-15 GHz ซึ่งเป็นการสำรวจ SETI ภายใน 5 พาร์เซกที่เสร็จสิ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งอ่อนไหวต่อระดับการหลุดออกจากโลกของการส่งสัญญาณวิทยุ
  • ดาวฤกษ์ 1,000 ดวงในทุกๆสเปกตรัม (OBAFGKM) ภายใน 50 พาร์เซก 1-15 GHz
  • ดาวฤกษ์นับล้านดวงที่อยู่ใกล้ๆ เริ่มต้นที่ 5,000 ดวงในปี 2559 ระยะเวลา 1 นาที (1-15 GHz)
  • ศูนย์กลางของ 100 แกแล็กซี่ที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งแบบก้นหอย วงรี แกแล็กซี่แคระ และแกแล็กซี่ไร้รูปทรง (1-15 GHz)
  • ดาวฤกษ์ต่างถิ่น ได้แก่ ดาวแคระสีขาว 20 ดวง ดาวนิวตรอน 20 ดวง หลุมดำ 20 หลุม

2. กล้องโทรทรรศน์แบบ Parkes Radio

การค้นหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตที่ไกลที่สุดในโลกใน 6 กลุ่มตัวอย่างที่สำคัญ (ซีกโลกใต้)

  • ดาวฤกษ์ทั้ง 43 ดวง (ในซีกโลกใต้) ภายใน 5 พาร์เซก ที่ 1-15 GHz ซึ่งเป็นการสำรวจ SETI ภายใน 5 พาร์เซกที่สำเร็จเป็นครั้งแรก และยังอ่อนไหวต่อการหลุดออกจากโลกของระดับการส่งสัญญาณวิทยุ
  • ดาวฤกษ์ 1,000 ดวง (ใต้) ในทุกๆสเปกตรัม (OBAFGKM) ภายใน 50 พาร์เซก (1-4 GHz)
  • ดาวฤกษ์นับล้านดวงที่อยู่ใกล้ๆ (ทางใต้) เริ่มต้นที่ 5,000 ดวง ในปี 2559-2560 ระยะเวลา 1 นาที (1-4 GHz)
  • เส้นกึ่งกลางแนวนอนและศูนย์กลางของแกแล็กซี่ (1-4 GHz)
  • ศูนย์กลางของ 100 แกแล็กซี่ที่ใกล้ที่สุด (ทางซีกโลกใต้) ทั้งแบบก้นหอย วงรี แกแล็กซี่แคระ และแกแล็กซี่ไร้รูปทรง (1-4 GHz)
  • ดาวฤกษ์ต่างถิ่น ได้แก่ ดาวแคระสีขาว 20 ดวง ดาวนิวตรอน 20 ดวง หลุมดำ 20 หลุม

3. ระบบค้นหาดาวเคราะห์อัตโนมัติ (APF) ด้วยกล้องสเปคโตรสโคป ออปติคัล SETI

เป้าหมายคือการจับคู่กับการค้นหาของกล้องโทรทัศน์กรีนแบงก์เรดิโออย่างใกล้ชิด โดยมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเนื่องจากระบบค้นหาดาวเคราะห์อัตโนมัติมีช่วงการค้นหาที่แคบกว่า โดยมีเป้าหมายดังนี้

  • ดาวฤกษ์ทั้ง 43 ดวงที่ APF สามารถเข้าถึง (มุมเบี่ยงเบนตั้งแต่ -20 องศาขึ้นไป)
  • ดาวฤกษ์เกือบ 1,000 ดวงในทุกสเปกตรัม ส่วนใหญ่จะเป็น OBAFGKM และดาวฤกษ์ยักษ์
  • แกแล็กซี่ที่ใกล้ที่สุด 100 แห่ง (ศูนย์กลาง และมุมเบี่ยงเบนตั้งแต่ -20 องศาขึ้นไป)

"Breakthrough Listen ได้ออกอากาศและตรวจหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญาบนท้องฟ้าอย่างเป็นทางการแล้ว" มิลเนอร์กล่าว "นับเป็นความพยายามที่ครอบคลุม และช่วยให้เกิดความเป็นไปได้อย่างมหาศาลในทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เราจะได้เห็นนับตั้งแต่ได้เริ่มมีการใช้ความพยายามดังกล่าวเป็นต้นมา ในวันนี้ เราได้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้บุกเบิกและขอให้ผู้คนทั่วโลกช่วยตรวจสอบข้อมูลที่เรารวบรวมและสำรวจจักรวาลไปพร้อมกันกับเรา"

"Breakthrough Listen ได้เริ่มดำเนินการแล้ว" พีท วอร์เดน ผู้อำนวยการบริหารของโครงการ Breakthrough Initiatives กล่าว "นับเป็นครั้งแรกที่เราจะได้รับข้อมูลการค้นหาในแกแล็กซี่เพื่อนบ้านของเราจาก SETI อย่างครอบคลุม และที่สำคัญเท่าๆกันก็คือ ประชาชนและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกก็จะได้รับข้อมูลและช่วยตัดสินใจได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตนอกโลกหรือไม่"

"Breakthrough Listen เป็นการก้าวกระโดดไปข้างหน้าในเรื่องความสามารถของเราในการสำรวจท้องฟ้าอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับหลักฐานของสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่มีความก้าวหน้า" แอนดรูว์ ไซเมียน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Berkeley SETI กล่าว "เนื่องจากเรามีความสามารถในการประเมินผลเพิ่มขึ้นในอีกหลายเดือนข้างหน้าและจะมีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม โอกาสในการค้นพบก็จะเพิ่มขึ้นอีกมากมายมหาศาล"

ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ที่อัปโหลดขึ้นไปยังเว็บไซต์ของโครงการ Breakthrough Initiatives (www.breakthroughinitiatives.org) ได้จัดทำดัชนีตามวันที่บันทึก ชื่อวัตถุ และมาตรวัดอื่นๆ นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่มีทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลดิบจากกล้องโทรทรรศน์และสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันของตนเองเพื่อทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่และสมบูรณ์นี้ได้ ส่วนใครที่มีคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนก็สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของ Breakthrough Listen ได้ผ่านทาง SETI@home ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์การคำนวณโดยอาสาสมัคร (http://seti.berkeley.edu/participate) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ยังได้พัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับกล้องโทรทรรศน์ เครื่องมือ และข้อมูลของ Breakthrough Listen (http://seti.berkeley.edu/listen) อีกด้วย

Breakthrough Listen จะได้รับข้อมูลการติดตามสัญญาณจากทั่วทั้งท้องฟ้าเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีจากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ออปติคัลและกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ทรงพลังมากที่สุดในโลก และจะเก็บรวบรวมข้อมูลในหนึ่งวันมากกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงก่อนหน้านี้ การสืบค้นข้อมูลจะมีความไวเพิ่มขึ้น 50 เท่า ครอบคลุมท้องฟ้าเป็น 10 เท่า ครอบคลุมสเปคตรัมวิทยุเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า และเร็วขึ้น 100 เท่า

กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ดิจิทัลช่วงความถี่คลื่นวิทยุ 1.5 GHz ให้กับกล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์ การอัพเกรดดังกล่าวคาดว่า จะสามารถเพิ่มช่วงความถี่ของระบบของกรีนแบงก์ได้เป็น 2 เท่า นอกจากนี้ การยกระดับระบบนี้ยังจะเพิ่มพื้นที่ในการเก็บข้อมูลของหอสังเกตการณ์กรีนแบงก์ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอีกด้วย

หอสังเกตการณ์ลิค

ระบบการค้นหาดาวเคราะห์แบบอัตโนมัติของหอสังเกตการณ์ลิคได้เริ่มนำระบบหุ่นยนต์มาใช้ในการสังเกตการณ์การปลดปล่อยเลเซอร์จากสัญญาณทางเทคโนโลยีจากนอกโลกที่เป็นไปได้จากดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียง กล้องโทรทัศน์ดังกล่าวได้สังเกตการณ์ดาวฤกษ์ทั้งหมด 130 ดวง และได้เปิดเผยข้อมูลดิบในรูปแบบแฟ้มเอกสารผ่านทางออนไลน์

กล้องโทรทรรศน์ Parkes Radio

กล้องโทรทรรศน์ Parkes Radio ในเมืองพาร์เคส ประเทศออสเตรเลีย ที่มีชื่อเสียงในเรื่องบทบาทการถ่ายทอดสดโทรทัศน์ดาวน์ลิงค์ในระหว่างการลงจอดบนดวงจันทร์ของยานอะพอลโล 11 จะเข้าร่วมกับศูนย์กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์และระบบการค้นหาดาวเคราะห์แบบอัตโนมัติของลิคในเดือนตุลาคม 2559 ในขณะที่กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์มีเป้าหมายที่การสังเกตการณ์ดาวเคราะห์ที่เป็นไปได้ในเชิงลึก กล้องโทรทรรศน์ Parkes Radio จะเน้นไปที่การค้นหาบนท้องฟ้าในวงกว้าง จะมีการนำเฮาร์ดแวร์การประมวลผลสัญญาณสำหรับการทดสอบความถูกต้องทางวิศวกรรมมาใช้งานที่พาร์เคสในเดือนกุมภาพันธ์ และจะมีการบันทึกข้อมูลอย่างจำกัดสำหรับการทดลองเท่านั้น

SETI@Home

SETI@Home ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 และสามารถดึงดูดผู้มีส่วนร่วมได้หลายล้านรายในช่วงเวลาดังกล่าว อาสาสมัครสามารถลงทะเบียนเพื่อมีส่วนร่วมได้ที่ http://seti.berkeley.edu/participate ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรีนี้จะใช้พลังการประมวลของคอมพิวเตอร์ของตนมาช่วยวิเคราะห์ชุดข้อมูลจำนวนมากที่เก็บรวมรวมจากการค้นหาสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญาทางดาราศาสตร์

นอกไปจากข้อมูลจากกรีนแบงก์แล้ว อาสาสมัครของ SETI@home จะได้รับข้อมูลพื้นที่ท้องฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปัจจุบัน การเริ่มสังเกตการณ์จากหอสังเกตการณ์ Parkes ในเดือนตุลาคมจะช่วยให้อาสาสมัครสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเต็มท้องฟ้า ในขณะที่ Breakthrough Listen ได้ขยายขอบเขตการค้นหาเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประชาชนทั่วไป และแม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมทางเทคนิคก็สามารถมีส่วนร่วมในความตื่นเต้นนี้ได้ เนื่องจากเราพยายามจะตอบคำถาม "มีส่งมีชีวิตนอกโลกหรือไม่" ให้ได้

ผู้บริหารของโครงการ

  • มาร์ติน รีส นักดาราศาสตร์ในพระราชินูปถัมภ์ สมาชิกแห่งมหาวิทยาลัยทรินิตี ศาสตราจารย์กิตติคุณภาควิชาจักรวาลวิทยาและดาราฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
  • พีท วอร์เดร ประธานมูลนิธิ Breakthrough Prize Foundation
  • แฟรงค์ เดรก ประธานกิตติคุณของสถาบัน SETI, ศาสตราจารย์กิตติคุณภาควิชาจักรวาลวิทยาและดาราฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา ครูซ, ผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติ, อดีตตำแหน่งศาสตราจารย์โกลด์วิน สมิธ ภาควิชาดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
  • แดน เวอร์ธิเมอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการ SETI@home, ผู้อำนวยการของ SERENDIP, หัวหน้าผู้ตรวจสอบของ CASPER
  • แอนดรูว์ ไซเมียน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Berkeley SETI