ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 เชื่อมั่นต่อความสำเร็จในการร่างรัฐธรรมนูญโดย 21 อรหันต์กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 ควรนำค่านิยมหลัก 12 ประการใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ ที่ควรมีในรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.5 ระบุการรักษาเอกลักษณ์แบบไทย ความเป็นหนึ่งเดียวกัน จงรักภักดีต่อสถาบันหลัก รองลงมาคือ ร้อยละ 91.2 ระบุ การเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 89.4 ระบุ การเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต ขจัดคนโกงชาติบ้านเมือง และ รองๆ ลงไปคือ ร้อยละ 88.5 ระบุ ยึดหลักความเสมอภาคถ้วนหน้า ขจัดนักการเมืองผันงบประมาณลงจังหวัด ลงภูมิภาคฐานเสียงทางการเมืองของตน ร้อยละ 87.1 ระบุประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงแหล่งทรัพยากร จัดสรรเป็นธรรมทั่วถึง และสิทธิการเมืองการมีส่วนร่วมตรวจสอบรัฐและการเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ตามลำดับ
เมื่อถามถึงประสบการณ์เคยได้รับประโยชน์จากการชุมนุมทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.3 ไม่เคยได้รับประโยชน์จากการชุมนุมทางการเมืองเลย ในขณะที่เพียงร้อยละ 8.7 เคยได้รับประโยชน์ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.6 ระบุ กลุ่มแกนนำผู้ชุมนุม ได้รับประโยชน์มากกว่า มีเพียงร้อยละ 9.4 ที่ระบุประชาชนได้ประโยชน์จากการชุมนุมทางการเมือง
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงประโยชน์ด้านนโยบายที่เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ได้ทำสำเร็จมากกว่า รัฐบาลนักการเมืองในอดีต พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.9 ระบุ คุมราคาหวยได้ รองลงมาคือ ร้อยละ 54.3 ระบุ จัดระเบียบวินมอเตอร์ไซต์ ร้อยละ 47.2 ระบุ ช่วยผู้มีรายได้น้อย ซื้อบ้าน แก้ปากท้อง ร้อยละ 45.5 ระบุ ดำเนินคดีกับนักการเมืองที่ทุจริต ร้อยละ 43.2 ระบุจัดระเบียบชายหาด แผงลอยทางเท้า และรองๆ ลงไปคือ จัดการเจ้าหน้าที่รัฐ ค้ามนุษย์ ยาเสพติด มีกฎหมายใหม่ออกมาเพื่อส่วนรวม และอื่นๆ เช่น แก้ปัญหายาเสพติด การจัดระเบียบจราจร แก้ปัญหาแรงงาน เป็นต้น
ตารางที่ 1
แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อความสำเร็จในการร่างรัฐธรรมนูญโดย 21 อรหันต์ กรรมการร่างฯ
ลำดับที่
ความเชื่อมั่นของประชาชน
ค่าร้อยละ
1
เชื่อมั่น
64.7
2
ไม่เชื่อมั่น
35.3
รวมทั้งสิ้น
100.0
ตารางที่ 2
แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่ระบุ ความเห็นต่อ การนำค่านิยมหลัก 12 ประการบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่
ความเห็นของประชาชน
ค่าร้อยละ
1
ควรนำค่านิยมหลัก 12 ประการใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ
78.7
2
ไม่ควร
21.3
รวมทั้งสิ้น
100.0
ตารางที่ 3
แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่ระบุ ความต้องการต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในมิติต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่
ความต้องการของประชาชน
ค่าร้อยละ
1
รักษาเอกลักษณ์แบบไทย ความเป็นหนึ่งเดียวกัน จงรักภักดีต่อสถาบันหลัก
94.5
2
เสริมสร้างกระบวนการยุติธรรม
91.2
3
เสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต ขจัดคนโกงชาติบ้านเมือง
89.4
4
ยึดหลักความเสมอภาคถ้วนหน้า ขจัดนักการเมืองผันงบลงจังหวัด ลงภูมิภาคฐานเสียง (ทางการเมือง)
88.5
5
ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงแหล่งทรัพยากร จัดสรรเป็นธรรมทั่วถึง
87.1
6
สิทธิการเมือง การมีส่วนร่วมตรวจสอบรัฐ และเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม
85.6
7
อื่นๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ ความปลอดภัย สาธารณูปโภคสำหรับคนสูงวัย พิการ
15.2
ตารางที่ 4
แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่ระบุ ประสบการณ์ที่เคยได้รับประโยชน์จาก การชุมนุมทางการเมือง
ลำดับที่
ความเห็นของประชาชน
ค่าร้อยละ
1
เคยได้รับประโยชน์ จากการชุมนุมทางการเมือง
8.7
2
ไม่เคยได้รับประโยชน์
91.3
รวมทั้งสิ้น
100.0
ตารางที่ 5
แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่ระบุ ใครได้รับประโยชน์จากการชุมนุมทางการเมือง ประชาชนทั่วไป หรือแกนนำผู้ชุมนุม
ลำดับที่
ความเห็นของประชาชน
ค่าร้อยละ
1
แกนนำผู้ชุมนุม
90.6
2
ประชาชนทั่วไปได้ประโยชน์
9.4
รวมทั้งสิ้น
100.0
ตารางที่ 6
แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่ระบุ ประโยชน์ด้านนโยบายที่เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ได้ทำสำเร็จ มากกว่า
รัฐบาลนักการเมืองในอดีต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่
ประโยชน์ด้านนโยบายที่รัฐบาลนี้ทำสำเร็จมากกว่า รัฐบาลนักการเมืองในอดีต
ค่าร้อยละ
1
คุมราคา หวย
58.9
2
จัดระเบียบวินมอเตอร์ไซต์
54.3
3
ช่วยผู้มีรายได้น้อย ซื้อบ้าน แก้ปากท้อง
47.2
4
ดำเนินคดีกับนักการเมืองที่ทุจริต
45.5
5
จัดระเบียบ ชายหาด แผงลอย ทางเท้า
43.2
6
จัดการเจ้าหน้าที่รัฐ ค้ามนุษย์ ยาเสพติด
39.8
7
มีกฎหมายใหม่ออกมาเพื่อส่วนรวม
36.2
8
อื่นๆ เช่น แก้ปัญหา การจัดระเบียบจราจร แก้ปัญหาแรงงาน เป็นต้น
11.9
ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน ความสุขประเทศไทย โทร. 086 – 971-7890
ติดตามผลสำรวจของมาสเตอร์โพล ได้ที่ www.masterpoll.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit