"เหตุผลหลักเพราะว่าทุกวันนี้ รายเดิมในระบบแอนะล็อกได้รับความคุ้มครองจากการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ต้องจ่ายธรรมเนียมร้อยละ 2 ให้สำนักงานกสทช. เพราะฉะนั้นถ้าแบ่งรายได้มาอยู่ที่แอนะล็อกก็จะจ่ายค่าธรรมเนียมน้อยกว่าความเป็นจริง ในขณะที่รายใหม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเต็มเพราะเป็นใบอนุญาตในระบบดิจิตอล ตรงนี้เป็นช่องว่างกันอยู่ของต้นทุนทั้งรายเดิมและรายใหม่ที่จะต้องจ่ายกลับคืนมาให้รัฐ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับรายเดิมในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลทีวีให้กับรายเดิมเร็วยิ่งขึ้น ก็อาจจะต้องกลับมาพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียม ซึ่งเรื่องนี้กรรมการต้องพิจารณาข้อเสนอจากอนุค่าธรรมเนียมฯอย่างละเอียดรอบคอบตัดสินใจบนฐานผลประโยชน์สูงสุดของอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขันเสรีเป็นธรรมอย่างแท้จริง" สุภิญญา กล่าว
นอกจากนี้มีวาระคณะอนุกรรมประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ฯ มีข้อเสนอวิธีการคำนวณสัดส่วนการเข้าถึงโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล(รวมถึงผ่านแพลตฟอร์ม เคเบิ้ล และดาวเทียม(Must Carry)) และการแจกแจงรายได้ระหว่างบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อกและระบบดิจิตอลเพื่อให้ผู้ที่มีการออกอากาศเนื้อหาเดียวกันในระบบดิจิตอลและแอนะล็อกถือปฏิบัติ รวมทั้งได้เสนอวิธีการแจกแจงรายได้ระหว่างบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลและแอนะล็อก ดังนี้
รายได้โทรทัศน์ภาคพื้นดิน =รายได้จากการประกอบกิจการระบบดิจิตอลแอนะล็อกที่มีเนื้อเดียวกันรวมทั้งปี X สัดส่วนระดับการเข้าถึงโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลตามที่กำหนด
โดยสำหรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 ให้ใช้สัดส่วนระดับการเข้าถึงโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลและวีการแจกแจงรายได้ระหว่างบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลและแอนะล็อกตามที่ผู้รับใบอนุญาตเสนอ
วาระการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคน่าสนใจจับตาได้แก่ สถานีวิทยุกองทัพบก ช่อง 5 ซึ่งมีสิทธิประกอบกิจการโทรทัศน์ ตามเฉพาะกาล มาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้มีการโฆษณาที่อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรมการอาหารและยา(อย.) และอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันอาจเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ตามประกาศ กสทช. ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจริงจะต้องยุติการออกอาอากาศโดยทันที หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจะได้รับโทรปรับทางปกครอง ไม่เกิน 1,000,000 บาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 100,000 บาทตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและกฎหมายที่กำหนด
วาระอื่นๆ คณะอนุกรรมการคุ้มครองบริโภคฯได้เสนอให้ กสท.เพิ่มเงื่อนไขการจัดทำแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์การจัดให้มีการกลไกการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยผู้รับใบอนุญาตในกิจการ เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขใบอนุญาตของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายประกอบกิจการโทรทัศน์ ไม่ใช้คลื่นความถี่ รวมทั้งจะมีการพิจารณาร่างประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามข้อ 5 (12) ...ติดตามผลการประชุมทั้งหมดในวันจันทร์นี้...
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit