"วันนี้ต้องมากวดขันการทำงานไม่ให้ล่าช้า เร่งช่วยเหลือให้หาพื้นที่ทำกินเกษตรกรได้ และประเด็นปัญหาในพื้นที่ต้องแก้ไขให้รวดเร็วได้ก็จะทำเต็มที่" พลเอกฉัตรชัย กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าจะมีปัญหาน้ำขาดแคลนในลุ่มเจ้าพระยา และลุ่มน้ำแม่กลอง มีน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอทำการเกษตร และต้องบริหารจัดการจัดการเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ ไปถึงอย่างน้อยสิ้นเดือนเม.ย. 59 จนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนปกติ ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (22 ก.ย.) กระทรวงเกษตรฯ จะเสนอคณะรัฐมนตรีประกาศงดการสนับสนุนน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง รวมถึงกรอบมาตรการบรรเทาผลกระทบแล้งและสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ซึ่งกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้เสนอกรอบมาตรการมาเรียบร้อยแล้ว รวมเบื้องต้นประมาณ 12 มาตรการ ซึ่งในส่วนนี้เป็นของกระทรวงเกษตรฯ 6 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เช่น ส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ทำเกษตรกรรมไม่ได้ สนับสนุนปศุสัตว์ ควบคุมการใช้น้ำชัดเจน มาตรการจ้างแรงงาน หนี้สินเกษตรกร มีกับธนาคารของรัฐ ขยายเวลาการชำระหนี้ เป็นต้น โดยมีพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง พื้นที่10.7 ล้านไร่ เกษตรกรประมาณ 4 แสนครัวเรือน.