ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมกรมชลประทานได้รายงานว่า เกิดน้ำไหลหลากและมีน้ำล้นอ่างเก็บน้ำในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง ทั้งนี้ ในเขตชลประทานไม่เกิดผลกระทบใดๆ เนื่องจากก่อนพายุเข้าปริมาณน้ำในอ่างฯมีไม่มาก สามารถใช้เก็บกักน้ำที่เกิดจากฝนตกหนักได้ทั้งหมด ไม่มีการระบายน้ำให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ด้านท้ายอ่างฯ โดยปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอยู่ 2 บริเวณใกล้ทะเล ในจังหวัดระยอง ยังคงมีน้ำท่วมถนนบริเวณคลองทับมา ซึ่งกรมชลประทานได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 6 เครื่อง เร่งสูบน้ำจากพื้นที่ลุ่มต่ำลงสู่คลองทับมาและแม่น้ำระยอง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะ ปกติภายใน 2-3 วัน ส่วนในจังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่เข้าสู่ภาวะปกติหมดแล้ว คงเหลือเฉพาะน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-5 วัน
นอกจากนี้มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ที่มีน้ำล้น Spillway 2 แห่ง คือ อ่างฯคลองบ้านอำเภอ ต.ห้วยใหญ่อ.บางละมุง จ.ชลบุรีอยู่ในความดูแลของ อปท. ความจุ 0.43 ล้าน ลบ.ม. น้ำล้น Spillway ประมาณ 0.10 ม. จะเข้าสู่ภาวะปกติในวันนี้และอ่างฯคลองบางไผ่อ.สัตหีบ เป็นอ่างเก็บน้ำ อยู่ในความดูแลของหน่วยทหารเรือ ความจุ 12 ล้าน ลบ.ม. น้ำล้น Spillway ประมาณ 0.20-0.30 ม. จะเข้าสู่ภาวะปกติในวันนี้สภาพอ่างฯทั้ง 2 แห่ง ยังมีความมั่นคงแข็งแรง กรณีข่าวอ่างเก็บน้ำหนองผักกูด จ.ชลบุรีแตกนั้น จากการตรวจสอบพบว่า เป็นเพียงฝายน้ำล้นอยู่ใน ความดูแลของ อปท. ตั้งอยู่ในคลองขนาดเล็ก สภาพน้ำล้นตลิ่ง ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเข้าสู่ ภาวะปกติในวันนี้ สำหรับพื้นที่อื่นๆที่ยังมีสภาวะน้ำท่วม ได้แก่ จังหวัดนครนายก จังหวัดตราด และจังหวัดจันทบุรี สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้และในพื้นที่ภาคใต้เกิดน้ำไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตจังหวัดพังงา จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ใน 1-2 วันนี้
แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณฝนที่ตกลงมาส่งผลทำให้เกิดผลดีต่อภาคการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ภาคกลางมีปริมาณฝนตกกระจายในพื้นที่ ทำให้พื้นที่เพาะปลูกมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น มีผลดีทำให้สามารถลดการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้าเจ้าพระยา จากอัตราการระบายน้ำวันละ 13 ล้าน ลบ.ม. เหลือวันละ 9 ล้าน ลบ.ม.
สำหรับปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯในช่วงที่พายุหว่ามก๋อมีอิทธิพลกับประเทศไทยในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. 2558 รวม 901 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น ภาคเหนือ 179 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 135 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง 29 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก 220 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก 142 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ 196 ล้าน ลบ.ม. ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออก อ่างฯต่างๆมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมากพอสมควร โดยเฉพาะในจังหวัด ระยองมีน้ำไหลลง 4 เขื่อนหลัก(หนองปลาไหล ดอกกราย คลองใหญ่ ประแสร์) รวม 94 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมี ปริมาณน้ำ 360 ล้าน ลบ.ม. หรือ 69% ทำให้มีปริมาณน้ำเก็บไว้ใช้ได้ตลอดฤดูแล้งถึงต้นฤดูฝนหน้าโดยไม่ขาด แคลน ขณะที่จังหวัดชลบุรีมีปริมาณน้ำไหลลง 9 เขื่อนหลัก (บางพระ หนองค้อ มาบประชัน หนองกลางดง ซาก นอก ห้วยขุนจิต ห้วยสะพาน คลองหลวง และบ้านบึง) รวม 41 ล้าน ลบ.ม.