จังหวะชีวิตของเราต้องใช้งานข้อเข่าอยู่ไม่น้อย โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ชูศักยภาพศูนย์ผ่าตัดข้อเทียมกรุงเทพไชน่าทาวน์ใส่ใจดูแลทุกข้อ พร้อมเปิดโครงการซีเอสอาร์ ร่วมกับมูลนิธิเวชดุสิตฯ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มอบข้อเข่าเทียม 20 ข้อ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย
นายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม 1 กล่าวว่า โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์เปิดให้บริการทางการแพทย์สมัยใหม่ในย่านเยาวราช และบริเวณใกล้เคียงให้ผู้ป่วยชาวไทย รวมถึงผู้ป่วยชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนและนักท่องเที่ยวโดยทีมงานบริหาร แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ พร้อมเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ครบครันทันสมัย ด้วยบริการและการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐานการแพทย์สากล เพื่อสร้างความไว้วางใจให้ผู้มารับบริการ และเนื่องในโอกาสการเปิดให้บริการศูนย์ผ่าตัดข้อเทียมกรุงเทพไชน่าทาวน์ ทาง รพ.กรุงเทพไชน่าทาวน์ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิเวชดุสิตฯ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มอบข้อเข่าเทียมจำนวน 20 ข้อ (เฉพาะข้อเข่าเทียมไม่รวมค่าผ่าตัด)เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วยในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และลดคิวในโรงพยาบาลภาครัฐ สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าตามข้อบ่งชี้ของแพทย์
นายแพทย์กีรติ เจริญชลวานิช ที่ปรึกษาและศัลยแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ กล่าวถึงสถานการณ์โรคข้อเข่าในปัจจุบันว่า พฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบัน บวกกับสังคมอุดมคนชราที่คนสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากสถิติของมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพบว่า คนไทย 1 ใน 3 มักจะป่วยด้วยโรคข้อ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม โดยคนที่อายุน้อยกว่า 30 ปี พบว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 1% อายุน้อยกว่า 40 ปี พบ 10% และอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พบมากถึง 50% ของประชากร โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนที่บริเวณผิวข้อ ขาดความราบเรียบ มีความขรุขระ ทำให้เกิดอาการเจ็บ ผิดรูปร่างเดิมไป หน้าที่ของข้อต่อที่เคยขยับได้ดีก็ขยับได้ลดลง มีการติดขัด เจ็บ ไม่สามารถรองรับน้ำหนัก หรือว่าใช้งานในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
"น้ำหนักตัว การแบกหามของที่มีน้ำหนักมากเป็นประจำ หรืออยู่ในท่าที่ต้องนั่งกับพื้น หรือในท่าที่ต้องงอพับเข่ามากๆ ท่าเหล่านี้ล้วนทำให้ข้อเสื่อมได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพที่ต้องแบก หาม เช่น ผู้ใช้แรงงาน หรืออาชีพที่ต้องนั่งกับพื้นหรือต้องนั่งยองๆ เป็นเวลานาน ตลอดจนโรคบางโรคทำให้ข้อสึกได้ง่าย เช่น โรคเก๊าท์ โรคไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ อีกทั้งการประสบอุบัติเหตุ นักกีฬาเมื่อได้รับการบาดเจ็บแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ข้อสึกเร็วได้เช่นกัน"
นายแพทย์กีรติ ชี้สัญญาณเตือนและกลุ่มเสี่ยงของอาการข้อเสื่อมว่า เป็นผู้ที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดของข้อสะโพกหรือข้อเข่า,ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะเริ่มพบปัญหาการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ, ผู้ที่มีโรคข้ออักเสบจากโรคข้อรูมาตอยด์ โรคข้อติดแข็ง โรคติดเชื้อ, ออกกำลังกายที่มีการกระแทกข้อซ้ำๆ ต่อเนื่องยาวนาน, เคยประสบอุบัติเหตุต่อข้อ เช่นข้อหลุดเคลื่อน กระดูกหักเข้าข้อ เป็นต้น, น้ำหนักตัวมาก, พันธุกรรม, ใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก
นายแพทย์ ณพล สินธุวนิช ผู้อำนวยการศูนย์ผ่าตัดข้อเทียมกรุงเทพไชน่าทาวน์ รพ.กรุงเทพไชน่าทาวน์ กล่าวว่า เมื่อพบความผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคข้อเสื่อม ควรรีบปรึกษาแพทย์ ซึ่งศูนย์ผ่าตัดข้อเทียมกรุงเทพไชน่าทาวน์มีหัวใจในการดูแลรักษาแบบ Bangkok SMART Joint Center คือ
S Safety การดูแลรักษาที่มีความปลอดภัย
M Multidisciplinary การดูแลรักษาที่สอดประสานกันของผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน
A Advance เทคโนโลยีการรักษาขั้นสูง ดูแลทุกความซับซ้อนของปัญหา
R Rehabitation ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี
T Total Joint Care การดูแลโรคข้อแบบรอบด้าน ทั้งการให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต การผสมผสานการรักษาแบบต่างๆเข้าด้วยกันทั้งการใช้ยา และไม่ใช้ยา
สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม™ มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากต่างประเทศมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นเทคโนโลยีช่วยผ่าตัด Zimmer® iASSIST™ Knee - The Personalized Guidance System อุปกรณ์นี้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กซึ่งติดตั้งกับเครื่องมือผ่าตัดปกติ เทคโนโลยีนี้ช่วยศัลยแพทย์ในการกำหนดมุมการตัดกระดูกให้ได้ระดับก่อนทำการใส่ข้อเทียม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดของศัลยแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีที่คนไข้มีข้อเข่าหรือกระดูกขาผิดรูปมากๆ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ทั้งศัลยแพทย์ และคนไข้มั่นใจได้ว่าข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดใส่ข้อเทียมจะอยู่ในมุมที่ตรง ได้ระดับ ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อการใช้งาน และอายุการใช้งานของข้อเทียมในอนาคต โดยผู้ป่วยที่มีอาการของโรคข้อเสื่อมระยะรุนแรง ได้แก่ มีอาการปวดข้อมาก ข้อโก่งผิดรูป ข้อติดขัด เคลื่อนไหวได้ลดลง หรือผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ด้อยลงอันเนื่องมาจากโรคข้อเสื่อม โดยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีทั้งเปลี่ยนบางส่วนและเปลี่ยนทั้งหมด ซึ่งขึ้นอยู่กับความสึกกร่อนของตัวข้อ ความแข็งแรงของเอ็น กล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของข้อต่อที่ยังอยู่ ถ้าเสียบางส่วนการผ่าตัดข้อเทียมบางส่วนก็จะเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยที่ข้อเข่าสึกกร่อนมากจนเสียไปมากกว่า 70-80% ของผิวข้อ ก็จะต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด สิ่งสำคัญในการผ่านตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ ความปลอดภัย โดยขึ้นอยู่กับสมรรถภาพ ความแข็งแรงของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรงของร่างกายในส่วนของการทำงานของระบบหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด ระบบปอด หรือระบบการขับถ่ายของเสียในส่วนของไต ทุกๆ หน้าที่ของอวัยวะในร่างกายจะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด หากมีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงอื่นใดมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยรักษา หรือดูแลในเรื่องนั้นให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม อีกทั้ง ให้ความรู้ ความเข้าใจกับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับทราบขั้นตอนในการบริหารกล้ามเนื้อก่อนที่จะผ่าตัด กระบวนการรักษาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยลดลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัด รวมทั้ง ลดอัตราภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ได้
"Bangkok SMART Joint Center โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ ประกอบไปด้วยศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม มีเทคนิคและอุปกรณ์การผ่าตัดขั้นสูงสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมของข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อไหล่ และข้อศอก และมีศักยภาพในการดูแลแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดภายหลังการผ่าตัดข้อเทียมในทุกๆระดับของปัญหา ที่นี่เรามุ่งหวังที่จะมอบประสบการณ์การรักษาโรคข้อเสื่อมที่ดีให้แก่คนไข้ของเรา"โดย บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 02-732-6069-70
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit