จากคุณหมอสาว ร่างใหญ่ น้ำหนักตัว กว่า 84 กก. สู่นักปั่นเอวบาง ร่างน้อย สวยเพรียว คงไม่บ่อยนักที่จะเจอผู้หญิงซึ่งหลงไหลในการปั่นจักรยานไปตามเส้นทางต่างๆ บนท้องถนน นานถึง 1-2 ชั่วโมง/วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เธอคนนั้นเป็นคุณหมอ!!! เพราะอาชีพหมอ ถือเป็นอาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบสูง ต้องเสียสละเวลาว่างส่วนตัวให้กับผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา จึงหาเวลาส่วนตัวที่แน่นอนได้ไม่ง่ายนักแต่สำหรับ หมอจุ๊ก - พญ. อัญรินทร์ วงษ์จารุวัจน์ คุณหมอสาวนักปั่นคนนี้ ซึ่งเลือกตัดสินใจ กลับไปใช้ชีวิตเป็นคุณหมอประจำ อยู่ในโรงพยาบาลบ้านเกิดของเธอ ทำให้การใช้ชีวิตคุณหมอของเธอไม่จำเป็นต้องเร่งรีบเหมือนกับคุณหมอในเมืองใหญ่ๆ แต่ก็ยังคงหนีไม่พ้นกิจวัตรประจำวันในการนั่งตรวจคนไข้ เช้าจรดเย็นจนเหนื่อยล้า ประกอบกับการทานอาหารมื้อใหญ่ในช่วงเย็น และการละเลยการออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักตัวปกติในสมัยที่ยังเป็นนิสิตสาวผอม เพรียว คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ เพิ่มสูงขึ้นมาเป็น 84 กิโลกรัม ตามมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง ที่วัดได้ถึง 140/90 มิลลิลิตรปรอท
ตอนนั้นจุ๊กอ้วนมาก แต่ไม่เคยมีความคิดที่จะลดความอ้วนเลย จนกระทั่งมีเพื่อนรุ่นน้องมาขอคำปรึกษาในฐานะที่เราเป็นคุณหมอ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องการมีลูกยาก ต้องทำอย่างไร? ผลการตรวจร่างกายก็เป็นปกติทุกอย่าง จากการวินิจฉัย พบว่า การมีลูกยากอาจจะมีสาเหตุมาจาก ความอ้วน ที่ทำให้ไข่ไม่ตก เพราะเพื่อนรุ่นน้องคนนี้มีน้ำหนักตัวมากถึง 97 กิโลกรัม จุ๊กจึงแนะนำไปว่า "ต้องออกกำลังกาย"จากนั้น เพื่อนรุ่นน้องคนนี้ก็เริ่มหันมาออกกำลังกายและเรียนโยคะ แต่ทำอย่างไรน้ำหนักตัวก็ไม่ลง พอลงได้นิดหน่อยก็กลับมาเพิ่มขึ้นอีก ช่วงนั้นสามีน้องเขาซึ่งปั่นจักรยานอยู่ จุ๊กเลยชวนเขาไปปั่นจักรยาน เพราะเป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ ตอนนั้นคิดว่าวันไหนว่างจุ๊กก็ออกไปปั่นเป็นเพื่อนกัน สามีเขาว่างก็จะไปปั่นด้วยกัน เขาจะได้ออกกำลังกายได้ต่อเนื่องทุกวัน และผลพวงที่ได้คือ เราเริ่มรู้สึกสนุก และติดใจในการปั่นจักรยานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผลลัพธ์อันวิเศษสุด...ของคุณหมอสาว นักปั่น
อย่างที่บอกตอนแรก ไม่ได้คิดว่าจะลดความอ้วน แค่ปั่นเป็นเพื่อนกันไป บังเอิญปั่นไปได้สักระยะ มีคนมาทัก ว่าหมอดูผอมลงนะ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้คุมอาหาร แค่ออกปั่นจักรยานทุกเย็น และปั่นค่อนข้างหนัก ปั่นต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน เริ่มมีคนทักกันมากขึ้นว่าหมอผอมลงมากนะ กลับไปชั่งน้ำหนัก ปรากฎว่า หายไป 10 กิโล..โฮ้ย.. หลังจากนั้นเลยมีแรงฮึดขึ้นมาเลย "...จากที่ปั่นจักรยานและทานอาหารปกติ ก็เริ่มตั้งโปรแกรมควบคุมอาหารให้กับตัวเองและเพื่อน ซึ่งผลลัพธ์ออกมายิ่งทำให้เรายิ้มได้มากขึ้นไปอีกเพื่อนอาจจะลดได้ช้ากว่าเรานิดหน่อย เพราะเขาอ้วนกว่า แต่เขาไม่ละความพยายาม ต่างคนต่างให้กำลังใจกันและกัน สู้ไปด้วยกัน กติกาง่ายๆ ของเธอ คือ การลดแป้ง เธอเน้นว่าเธอยังคงมีความสุขกับการทานอาหารจานโปรดได้เหมือนเดิม เพียงแต่ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต และเลือกทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันเท่านั้น ทำให้น้ำหนักตัวของเธอและเพื่อนเริ่มลดลงเรื่อยๆ
คุณหมอจุ๊กเล่าว่า สำหรับคนที่น้ำหนักตัวเยอะๆ พอลดน้ำหนักลงมาได้ระดับหนึ่งจะประสบปัญหาเหมือนๆ กัน คือ น้ำหนักจะไม่ลดลงไปมากกว่านั้นอีกแล้ว เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายเราเริ่มปรับตัวได้ จึงต้องค่อยๆ เพิ่มระดับการออกกำลังกายให้มากขึ้น เช่น เพิ่มจากการปั่นจักรยานเฉพาะช่วงเย็น เป็นการปั่นทั้งเช้า-เย็น เป็นต้น น้ำหนักตัวจึงจะค่อยๆ ลดลงมาได้อีก "หวานเย็นเพชรบุรี" มิตรภาพ ความประทับใจ อีกหนึ่งแรงบันดาลใจของคุณหมอสาวนักปั่น
จากความคิดที่ว่า การทำกิจกรรมเป็นกลุ่มจะทำให้เกิดความสนุก และรู้สึกอยากทำต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่เบื่อ ดังนั้น หลังจากเริ่มปั่นจักรยานได้สักพัก หมอจุ๊ก กับเพื่อนจึงเริ่มเข้าสู่ชุมชนจักรยาน ด้วยการเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มนักปั่น "หวานเย็นเพชรบุรี" ซึ่งมีกิจกรรมการปั่นทุกเย็นประมาณ วันละ 40 กิโลเมตร
"ปั่นช่วงแรกก็ไม่ไหวค่ะ เพราะกลุ่มเขาปั่นกันค่อนข้างเร็ว สมัยก่อนความเร็ว 30 ถือว่าเราเร็วมาก จุ๊กตามเขาไม่ทัน ก็จะมีคนที่ปั่นเก่งกว่าช่วยดันหลังจุ๊กให้ เป็นความประทับใจสำหรับนักปั่นจักรยานมือใหม่อย่างจุ๊ก อดีตกลุ่ม "หวานเย็นเพชรบุรี" มีสมาชิกเพียง 20-30 คัน ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 150 คันแล้ว เส้นทางที่ใช้ปั่นกันในกลุ่ม คือเส้นทางวัดบางลำพู และหาดเจ้าสำราญ-บางแก้ว ซึ่งคุณหมอจุ๊กจะออกปั่นจักรยานทุกวัน เพื่อพบเจอเพื่อนและสังคมนักปั่นใหม่ๆ ทำให้เธอได้เห็นถึงมิตรภาพ จากคนหลากหลายอาชีพ ซึ่งพอมารวมตัวกันแล้ว ทุกคนน่ารัก และให้ความเป็นกันเองกับมือใหม่อย่างเธอ เป็นความสุขที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในสังคมปัจจุบัน
วันนี้ ชีวิตมีความสุขมาก นอกจากหุ่นดี ไม่อ้วนแล้ว สุขภาพยังแข็งแรง จากจากน้ำหนักตัวที่เคยมากถึง 84 กิโลกรัม ปัจจุบันเธอมีน้ำหนักตัวเพียงแค่ 52 กิโลกรัม เท่านั้น ความดันที่เคยขึ้นถึง 140/90 มิลลิลิตรปรอท ปัจจุบันกลับมาเป็นปกติทุกอย่าง คุณหมอในภาพของสาวสวยอารมณ์ดี ย้ำให้ฟังถึงผลลัพธ์อันน่ามหัศจรรย์จากการปั่นจักรยานเคล็ดลับ ส่งท้าย
การออกกำลังกายด้วยจักรยาน สามารถลดอัตราการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นต่อข้อเท้าของคนอ้วนได้ นอกจากนี้ ผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า การปั่นจักรยานหรือออกกำลังกายอย่างน้อย 120 นาทีต่อสัปดาห์ จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานได้ถึง 20 % การปั่นจักรยานจึงเหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัย
สุดท้าย สำหรับผู้ที่สนใจเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยจักรยาน คุณหมอสาว นักปั่น แนะนำว่า ควรเริ่มต้นจากการเลือกจักรยานที่เหมาะสมกับประเภทการใช้ จากนั้นก็เริ่ม... เริ่มปั่นออกไปสัมผัสกับประสบการณ์และโลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน และมิตรภาพอันอบอุ่นจากผองเพื่อนนักปั่นด้วยกัน
สำหรับมิตรรักนักปั่น ทั้งที่ต้องการสลายแคลอรี ลดความอ้วน จะปั่นออกกำลังกายแบบธรรมดา หรือปั่นไปหาเพื่อนเพื่อการท่องเที่ยวไม่ควรพลาด กับงาน International Bangkok Bike ครั้งที่ 6 มหกรรมจักรยานที่ใหญ่ที่สุด โดยครั้งนี้ ผู้จัดงานได้รวบรวมจักรยานโมเดลใหม่ ปี 2016 มาเปิดตัวเป็นครั้งแรกในเอเชีย พร้อมไฮไลท์ แฟชั่นเสื้อผ้า แถมด้วย Gadget สุดล้ำ ที่เกี่ยวข้องกับจักรยานต่างๆ ไว้อย่างคับคั่ง ครบครัน โดยงานจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2558 ณ ฮอลล์ 3-4 อิมแพค เมืองทองธานี ติดตามรายละเอียดของงานได้จากwebsite:bangkokbikeexpo.com นอกจากนี้ ยังสามารถติดตามข่าวสาร และข้อมูลการจัดงานผ่านทาง Facebook ได้ที่ www.facebook.com/bkbexpo.
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit