นายมาร์ติน ฮันเซ่น รองผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า กิจกรรมสร้างนวัตกรรมสนับสนุนการเสริมศักยภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณาการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในการวางแผนพัฒนาในประเทศไทย (โครงการ Mainstreaming Climate Change Adaptation and Disaster Risk Reduction in Development Planning in Thailandหรือ"MADRID") โดยกิจกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายให้ประชาชนและภาคประชาสังคมมีส่วนรวมในการนำเสนอนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และลักษณะภัยที่ชุมชนประสบเพื่อช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติ โดยลักษณะกิจกรรมจะเน้นสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชนในการสนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Propotype) และพัฒนาให้สามารถนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวันได้
"กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนและภาคประชาสังคมได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นและนำเสนอนวัตกรรมที่จะช่วยให้เราทุกคนได้เตรียมพร้อม (preparedness) มีการปรับตัว (adaptation) หรือ ช่วยฟื้นตัวหลังเกิดภัยพิบัติได้รวดเร็วและดียิ่งขึ้น (resilience) โดยทางโครงการจะสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่นำเสนอให้สามารถนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวันได้ ที่ผ่านมา บริษัทเอกชนมีบทบาทสูงมากในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติเมื่อขณะเกิดภัยพิบัติหรือหลังเกิดภัยพิบัติ และแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมสนับสนุนการเสริมศักยภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ ก็เพื่อให้ภาคเอกชนให้ความสำคัญในการลดความเสี่ยงก่อนที่ภัยพิบัติจะเกิด และได้เข้ามามีบทบาทในการให้การสนับสนุนนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม"
นายขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ จาก UNDP กล่าวเสริมว่า ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับเหตุการณ์ภัยพิบัติบ่อยครั้งขึ้น สร้างความเสียหายทางเศษฐกิจหลายหมื่นล้านบาท ที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติอีกในอนาคต การวางแนวทางในการลดผลกระทบจากภัยพิบัติจึงถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก จากประสบการณ์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่ทำงานเรื่องนี้ในหลายๆประเทศทั่วโลก พบว่าความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงและการให้ประชาชนสามารถหาวิธีการที่จะป้องกันตัวเองจากผลกระทบของภัยพิบัตินับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้ความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติลดลง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้ลงทุนในโครงการและกิจกรรมป้องกันและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติรวมทั้งส่งเสริมการรู้รับปรับตัวในประเทศต่างๆ คิดเป็นมูลค่ากว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปัจจุบันเราได้เริ่มดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ที่เราเรียกว่าแผน '5-10-50' กล่าวคือใน 10 ปีข้างหน้า เราตั้งเป้าหมายที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลและภาคส่วนอื่นๆ ใน 50 ประเทศทั่วโลก โดยเน้นเรื่องสำคัญ 5 เรื่องได้แก่
1. การรับรู้ความเสี่ยง (risk awareness)
2. ธรรมาภิบาลในจัดการความเสี่ยง (risk governance)
3. การเตรียมความพร้อม (preparedness)
4. การฟื้นฟู และรู้รับปรับตัวอย่างยั่งยืน (resilient recovery)
5. การลดความเสี่ยงในชุมชนเมือง (urban risk reduction)
โดยกิจกรรมนี้ก็เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ '5-10-50' เช่นกัน
ด้านนายไกลก้อง ไวทยาการ ผู้จัดการโครงการประกวดนวัตกรรมรอดปลอดภัย(พิบัติ) กล่าวว่าสำหรับกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมได้รับการสนับสนุนจากภาคีทุกภาคส่วน อาทิ กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย,สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สภากาชาดไทย, บริษัท CDG Group ,บริษัท True คอร์ปอเรชั่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์,บริษัท Rohmเซมิคอนดักเตอร์ จำกัด ,บริษัท Microsoft , Thaiflood, Save the Children,มูลนิธิกระจกเงา, DesignforDisaster, Japan foundation ที่จะมาสนับสนุนทั้งผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำปรึกษา , เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงเงินรางวัลเพื่อสนับสนุนการทำงาน
ดังนั้นหลักเกณฑ์ของคำว่านวัตกรรมรอดปลอดภัย(พิบัติ) นี้จะเป็นวัตกรรมชนิดไหนก็ได้ที่จะช่วยให้ประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติได้ดีขึ้น (preparedness) มีการปรับตัวอยู่กับภัยพิบัติได้ (adaptation) และ/หรือช่วยให้สามารถฟื้นตัวหลังเกิดภัยพิบัติได้เร็วขึ้นและดียิ่งขึ้น (resilience) โดยสามารถส่งได้ตั้งแต่วันนี้ -วันที่ 18 ตุลาคม 58 เพื่อเข้าสู่รอบสัมภาษณ์จากนั้น10 ทีมสุดท้ายจะไปร่วมกิจกรรมกับผู้เชี่ยวชาญและจ้าของปัญหา เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมและนำเสนอต่อคณะกรรมการ ในระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2558 รวม 48 ชั่วโมง และภายในงานจะประกาศผู้ชนะนวน 5 ทีม ซึ่งจะได้รับเงินสนับสนุนในการดำเนินโครงการมูลค่ากว่า250,000 บาท ต่อไป ท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sicampbkk.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit