“รพ.เปาโล” ห่วงมนุษย์เงินเดือน...เสี่ยงโรคหัวใจมากขึ้น แนะตรวจคัดกรองก่อนสาย

25 Sep 2015
สมาพันธ์หัวใจโลก กำหนดให้วันที่ 29 กันยายน เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) เพื่อให้ทุกประเทศรณรงค์ให้ความรู้ประชาชน ตระหนักและเร่งป้องกันปัญหาโรคหัวใจ เนื่องจากเป็นสาเหตุการป่วยและการเสียชีวิตของประชากรก่อนวัยอันควรมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

โดยสถานการณ์โรคหัวใจในประเทศไทย จากสถิติโรคฉุกเฉินระหว่างวันที่ 1 พ.ค.2557-30 เม.ย.2558 สำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ช่วงวัยทำงาน อายุ 18-60 ปี มีอัตราการแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินเกี่ยวกับ อาการเจ็บแน่นหน้าอกที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคหัวใจ รองจากอุบัติเหตุ

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน เป็นสถานพยาบาลที่แวดล้อมด้วยองค์กร Office Building ตลอดเส้นถนนพหลโยธิน โดยเฉพาะการคมนาคมที่อำนวยความสะดวกด้วยรถไฟฟ้าซึ่งมีโอกาสได้พบเจอหนุ่มสาววัยทำงานที่เข้ามารับบริการค่อนข้างมากด้วยวิถีชีวิตของหนุ่มสาววัยทำงาน ที่ต้องรีบเร่ง รับประทานอาหารมื้อกลางวันง่ายๆ เพื่อให้ทันเวลาเข้างาน ขณะเดียวกันระหว่างพักเบรคก็ยังไม่หยุดคิด หยุดเครียด พูดคุยถึงเรื่องงาน

นพ.นิพนธ์ ศรีสุวนันท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ ด้านปฏิบัติการทางหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน กล่าวว่า "คนวัยทำงาน เป็นวัยที่น่าห่วง เพราะไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน การรับประทานอาหารเป็นไปอย่างเร่งรีบ มีโภชนาการแย่ลง ประกอบกับไม่ค่อยการออกกำลังกาย มีความเครียดสะสม และใช้เวลาอยู่กับการทำงานค่อนข้างมาก ซึ่งความเครียดก็มีส่วนกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักบีบตัวและเต้นเร็วขึ้น ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ มีไขมันในเลือดสูงและหลอดเลือดเกิดการอุดตันได้ง่าย อีกทั้งอาจจะทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หรือที่เรียกว่าหัวใจวายได้ โรคหัวใจที่มักตรวจพบในวัยทำงาน คือ โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ "โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่พบในหนุ่มสาววัยทำงานนั้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษา ด้วยการสวนหัวใจขยายหลอดเลือด โดยการพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการการขยายหัวใจได้มากขึ้น ประกอบกับโรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ได้นำเครื่องฉายรังสีแบบ Bi-plane ที่แพทย์สามารถมองเห็นเส้นเลือดหัวใจได้พร้อมกัน 2 มุม มาใช้ซึ่งสามารถวัดระยะได้แม่นยำขึ้น ช่วยให้แพทย์ทำหัตถการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

"ณ วันนี้ ในเรื่องของขั้นตอนในการทำขยายเส้นเลือดสามารถทำได้ออกมาดี ความเสี่ยงน้อย ดังนั้น เมื่อคนไข้มาถึงมือหมอเร็วอยากให้มั่นใจว่า ในทุกขั้นตอนการรักษาเราก็จะหาวิธีการ และเลือกวิธีรักษาที่ดีที่สุด โดยส่วนตัวหมอเชื่อว่า องค์ความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองที่ดีต่อคนไข้ ช่วยให้เราเลือกการรักษาที่ดี เหมาะกับผู้ป่วยในแต่ละรายได้"อย่างไรก็ตาม วิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกัน โดยคุณต้องรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงต่อโรค "หัวใจ" มากแค่ไหน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ ได้แก่

อายุขึ้นเลข 4หรืออายุ 40 ปีขึ้นไป (ปัจจุบันพบในช่วงอายุที่น้อยลงมากขึ้น)

พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติครอบครัว ซึ่งพ่อหรือแม่เป็นโรคหัวใจ

เพศ ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง

ผู้ที่สูบบุหรี่ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมาก

ไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

ความดันโลหิตสูงเสี่ยงหลอดเลือดหดเกร็งตัว ทำให้หัวใจขาดเลือดได้

เบาหวาน จากน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้นเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ

อ้วน เมื่อร่างกายสะสมไขมัน ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

เครียด สาเหตุสำคัญนำมาซึ่งโรคหัวใจ

ขาดการออกกำลังกาย กินๆ นอนๆ

หากมีอาการเหล่านี้เกิน 3 ข้อ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจ ก่อนที่ จะสายเกินแก้

ศูนย์หัวใจ เครือโรงพยาบาลเปาโล พร้อมให้บริการดูแลเรื่องหัวใจอย่างครบวงจรตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ในกรณีฉุกเฉินที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด้วยการตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว พร้อมการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 90 นาทีตามมาตรฐานสากล รวมถึงได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภายใน 10 นาที หากพบว่าผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านหัวใจ พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย โทร :02 271-7000

มาทดสอบเช็คความเสี่ยงโรคหัวใจด้วยตัวคุณ ได้ที่ www.paolohospital.com พร้อมนำแบบทดสอบมาแสดงสิทธิรับคูปองตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EST) ในราคา 999 บาท จากราคา 3,620 บาท ติดต่อนัดหมายสำรองสิทธิเพื่อเข้ารับบริการล่วงหน้าได้ตั้งแต่ วันที่ 1-31 ตุลาคม 58 ที่สายด่วนศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน 09-2952-2129