ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ ซึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 และมหาอุทกภัยที่ประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายนในปีเดียวกัน ได้สร้างความเสียหายอย่างมากแก่ระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)ของอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม(The Ministry of Economy, Tradeand Industry)หรือ METI ประเทศญี่ปุ่น และกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยดำเนินโครงการการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องแบบโอตาไก (Otagai Business Continuity : Otagai BC) ตั้งแต่ปี 2555โดยมีวัตถุประสงค์ในระยะแรกเพื่อความร่วมมือในการป้องกันการหยุดชะงักของระบบโซ่อุปทานและให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจแบบพี่น้อง (Sister Clusters) เพื่อการช่วยเหลือการผลิตให้แก่กันในช่วงที่เกิดและหลังเกิดภัยพิบัติต่างๆ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวต่างประเทศเกิดการรวมกลุ่มกันเป็นพันธมิตรในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนเตรียมรับกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตระยะต่อมาได้เน้นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม ในด้านความร่วมมือเพื่อการยกระดับความสามารถการแข่งขันให้แก่กันและกัน ในลักษณะwin – winเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ SMEsญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า "OnlyOne Technology" โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและตลาดของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองฝ่ายและในอนาคตระยะที่ 3 จะยกระดับไปสู่การสนับสนุนทางการเงิน (Financial Support Phase) ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งสนับสนุนเงินทุนต่างๆ ของภาครัฐทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานโครงการโอตาไกดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้มีการลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น ทั้งสิ้น 15 ราย ทั้งระดับรัฐบาลและระดับท้องถิ่นเพื่อร่วมกันส่งเสริมผลักดันการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ฝ่าย และร่วมมือกันก้าวเดินหน้าเพื่อโอกาสในการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนที่จะเกิดขึ้นปลายปี 2015
นอกจากนี้ ในวันที่ 23 กันยายน 2558 กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กำหนดให้มีการสัมมนาภายใต้ชื่อ โอตาไก คอนเคลฟ (Otagai Conclave) ครั้งที่ 12 ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างไทยและญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้บริหารจากบริษัทญี่ปุ่นและไทยหลายร้อยบริษัท รวมถึงหน่วยงานส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นกว่า 600 ราย เข้าร่วมสัมมนาโดยมีเป้าหมายทำให้นวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้จริงภายใต้การนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นจำนวน 16 บริษัทแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ1.นวัตกรรมเกี่ยวกับน้ำและสภาพแวดล้อม(Aquanovation) 2.นวัตกรรมเกี่ยวกับเกษตรกรรมและการแปรรูป (Agronovation)3.นวัตกรรมเกี่ยวกับการทำให้อุตสาหกรรมเติบโตและการทำให้ห่วงโซ่อุปทานแข็งแกร่งขึ้น(Supplinovation) โดยการจัดสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น ณ ห้อง แซฟไฟร์204 – 205ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายในงาน"Thailand Industry Expo 2015" ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรมเช่นกัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit