พรานทะเล กรุ๊ป ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือเกษตรกรอย่างยั่งยืน

23 Dec 2015
พรานทะเล กรุ๊ป จับมือ โลตัส ผนึกกำลังในโครงการ "เกษตรแบบยั่งยืน จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ" ยึดแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สานต่อสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร เสริมสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
พรานทะเล กรุ๊ป ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือเกษตรกรอย่างยั่งยืน

"พรานทะเล" แบรนด์อาหารทะเลและอาหารแช่แข็ง แตกไลน์บริษัทลูกจับตลาดผักปลอดสารเคมี ในนาม "พรานเฟรช" โดยได้ทำการเพาะปลูกผักทั้งฟาร์มของตัวเองและรับซื้อจากเกษตรกรรายย่อย ที่ผ่านมาประสบปัญหาการรับซื้อผักจากชาวบ้านซึ่งเป็นต้นน้ำ แต่ผักที่ได้เป็นผักที่ไม่ได้มาตรฐาน มีปัญหาเรื่องการใช้สารตกค้าง หรือผักที่ปลูกไม่ตรงกับความต้องการของตลาดจึงทำให้ได้ราคาไม่ดี พรานเฟรชในเครือพรานทะเลจึงได้จับมือร่วมกับห้างเทสโก้โลตัส พันธมิตรซึ่งเป็นแหล่งจัดจำหน่ายผักให้แก่ประชาชนผู้เป็นปลายน้ำ จัดทำโครงการ "เกษตรแบบยั่งยืน จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ" ขึ้น

นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรานทะเล กรุ๊ปเปิดเผยว่า โครงการนี้มีแนวคิดมาจากแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ต้นน้ำคือเกษตรกรรู้จักทำเกษตรกรรมอย่างมีองค์ความรู้ เพื่อสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยให้ชาวบ้านปลูกผักอย่างพอประมาณในพื้นที่ทำกินของพวกเขา ทั้งปลูกเพื่อกินและขาย ดังนั้นผักที่ได้จึงเสมือนปลูกไว้กินเอง คือไม่มีสารเคมี ไม่มีสารตกค้าง มีความปลอดภัยซึ่งผู้บริโภคที่ซื้อไปรับประทานวางใจได้ สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตในทุกๆประเภทของผักด้วยระบบ QR Code จึงทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นผักที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ ไม่ทำร้ายสุขภาพแน่นอน นอกจากนี้ยังยึดหลักมีเหตุผล คือมีองค์ความรู้ในด้านการปลูกอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องชนิดของพันธุพืชที่จะปลูก โดยเลือกจากผักที่ผู้บริโภคนิยมทาน เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้ง ซึ่งตลาดมีความต้องการที่สูงมาก การพัฒนาและปรับปรุงดินให้มีความเหมาะสม ตลอดจนการดูแลรักษาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สด สะอาด และขนาดเหมาะสม นอกจากนี้ยังฝึกให้ชาวบ้านมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งหมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่นเรื่องภัยแล้ง หรือฝนขาดช่วง มีการวางแผนด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 100 ราย ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคาดว่าในปีหน้าจะขยายไปสู่ภาคอื่นๆได้

สิ่งสำคัญที่สุดเราปลูกฝังให้เกษตรกรต้นน้ำรักปลายน้ำอันหมายถึงผู้บริโภคของพวกเขาเอง เมื่อรักจึงใส่ใจและทำอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

HTML::image(