อีเบย์เผยข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย หวังกระตุ้นให้เจาะตลาดส่งออกระดับโลกผ่านการค้าปลีกออนไลน์

22 Dec 2015
อีเบย์ เปิดเผยข้อมูลผู้บริโภคเชิงลึกในวันนี้ ระบุว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีโอกาสสูงในการเพิ่มยอดขายชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ตกแต่ง ผ่านการส่งออกสินค้าปลีกภายในพื้นที่ตลาดระดับนานาชาติ
อีเบย์เผยข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย หวังกระตุ้นให้เจาะตลาดส่งออกระดับโลกผ่านการค้าปลีกออนไลน์

อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจไทย ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่งถูกจัดอันดับ 3 ในหมวดสินค้าที่ไทยส่งออกบนอีเบย์ โดยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุด

'อีเบย์ ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ร้านค้าปลีก และโรงงานผลิต ในการเข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลกและเพิ่มยอดขายผ่านตลาดสินค้าออนไลน์' คุณศิลัดดา ทับปิ่นทอง ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (อุตสาหกรรมยานยนต์) ของอีเบย์ ประเทศไทย กล่าว 'เราได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยใช้โอกาสทางธุรกิจนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด'

ทั้งนี้ ข้อมูลเชิงลึกชี้ให้เห็นว่าเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47) ของผู้ใช้รถยนต์ในสหรัฐฯ ซื้อชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ตกแต่งทางช่องทางออนไลน์ ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง (ร้อยละ 23) มีแนวโน้มที่จะซื้อชิ้นส่วนและอุปกรณ์ผ่านช่องทางนี้ในอนาคต ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่จะหันมาผลักดันการส่งออกสินค้าปลีกผ่านช่องทางออนไลน์ และเพิ่มรายได้จากช่องทางใหม่ๆ โดยใช้อีเบย์เป็นแพลตฟอร์มต่อยอดธุรกิจ นอกจากนี้ ไทยยังมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านคุณภาพของชิ้นส่วนยานยนต์ ตามที่สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นเคยกล่าวถึง โดยได้ระบุว่า ชิ้นส่วนยานยนต์จากไทยมีคุณภาพสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังชี้ด้วยว่า 2 ใน 5 ของลูกค้าผู้หญิงเลือกที่จะซื้อชิ้นส่วนยานยนต์ออนไลน์ และกว่าครึ่งหนึ่งได้ติดตั้งชิ้นส่วนเหล่านั้นด้วยตัวเอง เท่ากับว่าด้วยการสนับสนุนของอีเบย์ ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้โอกาสนี้ออกแบบหน้าร้านออนไลน์พร้อมรายละเอียดวิธีประกอบชิ้นส่วนเพิ่มเติม ให้ดึงดูดลูกค้าไม่เพียงแค่ผู้ชาย แต่ยังรวมถึงกลุ่มผู้หญิง ได้อีกด้วย

ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจจากบริษัทคอมสกอร์ เกี่ยวกับอี-คอมเมิร์ซ/เอ็ม-คอมเมิร์ซ ตลอดจนจากกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ระบุว่า การค้าขายผ่านคอมพิเตอร์ หรือ ดิจิทัล คอมเมิร์ซ คิดเป็น 1 ในทุกๆ 7 ดอลลาร์ ที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ใช้จ่ายไปตลอดช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ขณะที่ มูลค่าการค้าปลีกผ่านดิจิทัล คอมเมิร์ซ ในช่วงเวลาดังกล่าวเท่ากับ 69,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 15 และในช่วงที่ค่าเงินสหรัฐฯ กำลังแข็งตัวอยู่เช่นนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่จะเร่งส่งออกอย่างเต็มที่

คุณศิลัดดากล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า 'ในขณะที่การค้าขายออนไลน์ในสหรัฐฯ กำลังตื่นตัว และผู้บริโภคอเมริกันจำนวนมากพร้อมจะซื้อ หรือมีแนวโน้มจะซื้ออะไหล่ยนต์บนช่องทางออนไลน์เช่นนี้ ธุรกิจของไทยควรต้องใช้โอกาสต่อยอดให้คุ้มค่าที่สุด โดยต้องไม่หยุดอยู่แค่เพียงตลาดสหรัฐฯ เท่านั้น'

'ประเทศไทยมีผู้ค้าปลีกส่งออกผ่านอีเบย์ไปสู่ตลาดโลกเฉลี่ยถึง 46 ประเทศ ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มผู้ส่งออกบนอีเบย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เท่ากับว่านี่เป็นโอกาสที่จะเจาะเข้าตลาดโลกอย่างแท้จริง'

ข้อมูลจากคุณศิลัดดาแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตขนาดใหญ่หรือผู้ประกอบการรายย่อยยังมีโอกาสอีกมากที่จะเติบโต

'หนึ่งในโอกาสการขยายธุรกิจที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ การส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ในลักษณะของการขายสินค้าปลีกเข้าไปยังตลาดของอีเบย์ผ่านผู้ขายสินค้าบนอีเบย์ที่อยู่ในประเทศไทย" คุณ ศิลัดดา กล่าว

ทั้งนี้ อีเบย์มุ่งมั่นที่จะช่วยปฏิวัติการพาณิชย์ในประเทศไทยอย่างเต็มกำลัง ควบคู่ไปกับการสนับสนุนธุรกิจระดับท้องถิ่น โดยเน้นการเพิ่มโอกาสการทำธุรกิจผ่านการซื้อขายบนอินเทอร์เน็ตผลสำรวจข้อมูลผู้บริโภคที่สำคัญ:

เกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภค (ร้อยละ 47) ของผู้ใช้รถยนต์ในสหรัฐฯ ซื้อชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ตกแต่งออนไลน์ ขณะที่ ผู้บริโภคที่ไม่เคยซื้อออนไลน์ก็มีแนวโน้มที่จะซื้อ หรือพิจารณาว่าจะซื้อ มากถึงเกือบ 1 ใน 4 (ร้อยละ 23)2 ใน 5 ของลูกค้าผู้หญิงเลือกที่จะซื้อชิ้นส่วนยานยนต์ออนไลน์ และกว่าครึ่งหนึ่งในจำนวนดังกล่าวได้ติดตั้งชิ้นส่วนเหล่านั้นด้วยตัวเองร้อยละ 64 ของผู้บริโภคเป็นกลุ่ม DIY (Do-It-Yourself) ซึ่งจะประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ที่ซื้อมาจากออนไลน์ด้วยตัวเองร้อยละ 22 ของผู้บริโภคเป็นกลุ่ม DIFM (Do-It-For-Me) ซึ่งจะนำชิ้นส่วนที่ซื้อไปยังอู่และ/หรือตัวแทนจำหน่าย เพื่อให้ประกอบให้ร้อยละ 14 ของผู้บริโภคเป็นทั้ง DIY และ DIFM ผลสำรวจนี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 โดยเก็บตัวอย่างจากเจ้าของรถยนต์ในสหรัฐฯ กว่า 1,000 คน ซึ่งร้อยละ 50 เป็นผู้ชายและอีกร้อยละ 50 เป็นผู้หญิง เพื่อกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค และนำไปสู่การวางแผนการค้าปลีกของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต