รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)กล่าวว่าในปี 2559 ประเทศไทยมีแนวโน้มในการเข้าสูภาวะวิกฤติการณ์น้ำแล้ง ซึ่งจากข้อมูลของกรมชลประทาน พบว่า น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนต่างๆ ลดระดับลง โดยปัจจุบันน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่ 33 แห่งทั่วประเทศ เหลือน้ำเพียง 43,384 ลูกบาศก์เมตร จากความจุ 70,370 ลูกบาศก์เมตร ในจำนวนนี้มีน้ำที่สามารถใช้ได้จริง 19,881 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลต่อทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน รวมถึงภาคการเกษตร โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศมีโอกาสได้รับผลกระทบสูง ดังนั้น ประเทศไทยต้องหาแนวทางในการรับมือปัญหาดังกล่าว
เพื่อป้องกันวิกฤติการณ์น้ำแล้ง ดังนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศจึงมีแนวคิดในการพัฒนาองค์ความรู้ การวิจัย ฯลฯ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ค้นพบแนวทางนวัตกรรมการดำนำรูปแบบใหม่ที่ใช้ปริมาณน้ำในการปลูกเข้าที่น้อยกว่าวิธีปัจจุบันที่ใช้กันมายาวนาน โดยร่วมกับ ดร.เกริก มีมุ่งกิจ ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรปลูกข้าว พัฒนา "นวัตกรรมการดำนาน้ำน้อย" การดำนาแบบใหม่ให้สามารถรองรับและต่อสู้กับสภาวะภัยแล้งให้กับชาวนาได้อย่างยั่งยืน
ด้าน ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวว่า รายละเอียดเกี่ยวกับ "นวัตกรรมการดำนาน้ำน้อย" ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
ผศ.ดร.จิตติ กล่าวต่อว่าการปลูกข้าวด้วย "นวัตกรรมการดำนาน้ำน้อย" จะใช้น้ำเพียง 500 ลบ.ม.ต่อไร่ต่อฤดูกาล ซึ่งจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงถึง 6 ตัน ขณะที่การปลูกข้าวโดยปกติที่จะปล่อยน้ำขังในนาข้าว จะใช้น้ำประมาณ 1,500 ลบ.ม.ต่อไร่ต่อฤดูกาล แต่จะได้ผลผลิตเพียง 1 ตัน ซึ่งหากเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่า การปลูกข้าวน้ำน้อยจะใช้น้ำน้อยกว่าปกติถึง 3 เท่า แต่ได้ผลผลิตมากกว่าถึง 6 เท่า อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้น้ำและผลผลิตที่ได้ด้วยวิธีการดังกล่าว จะแปรผันตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ "นวัตกรรมการดำนาน้ำน้อย" ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก ที่ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและสร้างรายได้เพิ่ม ขณะเดียวกันก็เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้ ปัจจุบัน วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้สร้างศูนย์เรียนรู้ด้านอาหาร พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนที่สนใจ เข้ามาร่วมอบรมและเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการเกษตรในรูปแบบต่างๆ อาทิ การทำไบโอแก๊ส (Biogas) การปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ โดยในอนาคตคาดว่าจะเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมในโครงการทำบ้านดิน การปลูกป่า ฯลฯ อันสอดรับกับปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาชนบทที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ ผศ.ดร.จิตติ กล่าวทิ้งท้าย
"มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งมั่นสู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมไทยผ่านการปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ต่อบุคลากรและนักศึกษาด้วยการยึดมั่นในความเป็นธรรมการมีจิตสาธารณะและการมีความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21 สอดรับตามแนวคิด"มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์..มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง"
สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 02-613-3030 เว็บไซต์ www.tu.ac.th
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit