นอกจากนี้สำนักงานเสนอวาระการกำหนดแนวปฏิบัติในการผ่อนผันการดำเนินการเผยแพร่บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปสำหรับผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์สำหรับเคเบิ้ลแอนะล็อก ส่วนวาระอื่นๆน่าติดตาม ได้แก่ การปรับแก้ไขขอบเขตการดำเนินงาน (Term of Reference : TOR) โครงการจัดจ้างผู้ผลิตและจัดการดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่สื่อและกิจกรรมรณรงค์เสริมสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลทีวี วาระการขอใช้ความถี่วิทยุจำนวน 2 ความถี่ และตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม 2 สถานี ในพื้นที่จังหวัดยะลาและปัตตานี สำหรับออกอากาศเพื่อความมั่นคงของรัฐของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วาระร่างประกาศสำนักงาน เรื่อง คำนิยามประเภทรายการตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 (ภาคผนวก ค) แนบท้ายประกาศฯ และวาระความคืบหน้าแผนการยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกของสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
"สำนักงานเสนอวาระให้ กสท. ถกแผนยุติแอนะล็อกที่ยังค้างคาและไม่มีความชัดเจน ส่วนตัวเห็นว่าถ้าโครงข่ายทีวีดิจิตอลพร้อมแล้วตามแผนก็ควรยุติแอนะล็อกพร้อมกันทั้ง 6 รายในปี 2561 จะได้เริ่มต้นการแข่งขันที่เสมอภาคกันจริงๆในระบบใหม่ และนำคลื่นแอนะล็อกที่จะยุติมาจัดสรรใหม่เช่นนำคลื่น 700 MHz ไปประมูลทำ LTE เป็นต้น" สุภิญญา กล่าว
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม นี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องไต่สวน 1 ชั้น 2 ศาลปกครองกลางนัดไปให้ถ้อยคำต่อศาลเพื่อประกอบคดี กรณี บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (ช่องNow) และ บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่นส์ จำกัด (ช่องNation) ฟ้อง กสทช. ลสทช. และสำนักงาน กสทช. ละเลย ล่าช้าในการดำเนินการให้มีการเปลี่ยนผ่านระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งในการประชุม กสท. จะมีการพิจารณาแนวทางสู้คดีต่อไป ซึ่งสามารถติดตามผลการประชุมในวันจันทร์นี้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit