นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. เปิดเผยว่างานสัมมนา "ด้วยเครือข่าย...SME เติบโตได้อย่างยั่งยืน" เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่ายSME ใน 18 กลุ่มจังหวัด เพื่อคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จให้เป็นต้นแบบในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากการรวมกลุ่มดำเนินธุรกิจ การจัดสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในพื้นที่ภาคกลาง โดยคัดเลือกคลัสเตอร์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแบบ พร้อมเชิญผู้แทนคลัสเตอร์ต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการใน 3 ภูมิภาค คือ สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น และเชียงรายร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ในมุมมองต่าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ไปสู่เป้าหมาย แห่งความสำเร็จ
"สสว. ดำเนินโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ใน 18 กลุ่มจังหวัด เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจ เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ในลักษณะเครือข่าย สามารถสร้างโอกาสในการทำความรู้จัก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนากิจกรรมระหว่าง SME ในอุตสาหกรรมและผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่ ต่อยอดเป็นสังคมหรือเครือข่ายที่มีพลังอำนาจ ในการต่อรอง และผลักดันให้ภาคธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยการคัดเลือกกลุ่มเครือข่าย SME ทั่วประเทศรวม 54 เครือข่าย ทั้งในภาคเกษตรแปรรูปอุตสาหกรรม การค้า และบริการ ให้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาโดยมีหน่วยงานร่วมดำเนินการอีก 9 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมการข้าว กรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมหม่อนไหม โดยช่วยทำหน้าที่เสมือนพี่เลี้ยงสนับสนุนเครือข่ายเข้าสู่กระบวนการพัฒนาต่อไป" นางสาลินีกล่าว
สำหรับการดำเนินงานโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ใน 18 กลุ่มจังหวัดในปี 2558 สสว. ได้มุ่งเน้นการส่งเสริม ให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์เพื่อประชุมหารือการจัดทำแผนพัฒนาเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันกลุ่มคลัสเตอร์ที่ดำเนินการจัดทำแผนแล้วเสร็จประมาณ 30 แผน มีผู้ประกอบการที่เข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพเชิงธุรกิจผ่านกิจกรรมพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย อาทิ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาดเชิงรุก การลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาตราสินค้า การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตฯลฯ ประมาณ 3,000 ราย โดยในปี 2559 จะดำเนินการต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมาย คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 10,000 ราย สร้างโอกาสทางการตลาดรวมถึงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 1,000 ราย และสามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท
นางศิวาพร วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้จัดการโครงการ สถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กระบวนการขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายหรือคลัสเตอร์ผู้ประกอบการ SME ของสถาบัน SMI นั้นได้ยึดหลักจากปัจจัยสำคัญของการ ทำให้คลัสเตอร์มีความเข้มแข็ง คือ ผู้นำที่เข้มแข็ง มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการบริหารคลัสเตอร์และผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent : CDA) จะต้องทำหน้าที่ อาทิ การวินิจฉัย / วิเคราะห์ปัญหาของคลัสเตอร์ การจัดการ และแก้ไขความขัดแย้งภายในคลัสเตอร์ การสร้างความไว้วางใจระหว่างสมาชิกในคลัสเตอร์ การกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินกลยุทธ์ที่กำหนด การประเมินผลการดำเนินงานกลยุทธ์ สถาบัน SMI จึงได้บูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงกับผู้ประกอบการคลัสเตอร์ โดยใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น การสรรหากิจกรรมทางด้านการตลาดใหม่ ๆ ยกตัวอย่าง โครงการ SME Pro-active ซึ่งเป็นตลาดต่างประเทศ ก็จะคัดเลือกผู้ประกอบการ ที่มีความพร้อมเข้าร่วมงาน
ด้านนายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานคลัสเตอร์พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส.อ.ท. กล่าวว่า คลัสเตอร์พลังงานก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสถานประกอบการด้านพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ จำนวน 184 ราย และมีจำนวนสมาชิกคลัสเตอร์พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของ ส.อ.ท. ประมาณ 120 กิจการ และจำนวนสมาชิกคลัสเตอร์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ของ ส.อ.ท. ร่วมกับ สสว. ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ในกลุ่ม 18 จังหวัด ดำเนินการขึ้นทะเบียน จำนวน 100 กิจการ และอยู่ระหว่างรอขึ้นทะเบียนกว่า 100 กิจการ ในพื้นที่ ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด,กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยให้การสนับสนุน ทั้งในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ อาทิ การฝึกอบรมและให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี สนับสนุนในด้านการทำตลาด ฯลฯ เพื่อนำไปต่อยอดในการทำธุรกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในคลัสเตอร์เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งในด้านองค์ความรู้และในด้านวัตถุดิบ การพัฒนากิจกรรมระหว่างผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมจะสามารถต่อยอดเป็นเครือข่ายที่มีพลังอำนาจในการต่อรอง สามารถผลักดันให้ภาคธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเนื้องานของโครงการจะเป็นการ นำร่องเพื่อรวบรวมผู้ประกอบการSME ในอุตสาหกรรมพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี 3 ประเภทประกอบด้วย 1. พลังงานไฟฟ้า มีวัตถุดิบ คือ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ 2. พลังงานความร้อนมีวัตถุดิบ คือ แสงอาทิตย์ ชีวมวล ขยะ ก๊าซชีวภาพ และ 3. พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพมีวัตถุดิบ คือ เอทานอล ไบโอดีเซล ซึ่งผู้ประกอบการ SMEทั้ง 3 ประเภท ได้ร่วมประชุมหารือโครงสร้างของแต่ละประเภทที่แตกต่างกันและเหมือนกันในบางส่วน ซึ่งจำเป็นต้องลงรายละเอียดในแต่ละประเภทให้ชัดเจน เพื่อให้มีการพัฒนาที่ตรงตามวัตถุประสงค์และดำเนินกิจกรรมพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายให้เข้มแข็ง
ทั้งนี้ มีการกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงานทดแทนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งกระบวนการดำเนินกิจกรรมนั้น จะมุ่งเน้นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน ซึ่งได้นำเสนอโครงการพลังงานทดแทนอาเซียน ( ASEAN Renewable Energy Center) เพื่อใช้พื้นที่ 3 จังหวัด และ 4 อำเภอภาคใต้ เป็นพื้นที่ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานประกาศเป็นพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษไปแล้ว โดยภาคเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนเอง แต่ภาครัฐควรเข้ามาช่วยเหลือในประเด็นการให้ความสะดวกขั้นตอนการอนุญาต
"ไทยเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนในอาเซียน โดยเฉพาะไทยถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มCLMV ที่มีทรัพยากรด้านชีวมวลเป็นจำนวนมาก รวมถึงนโยบายภาครัฐในปัจจุบันต้องการผลักดันให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการดังกล่าวนอกจากจะเสริมความมั่นคงทางพลังงานให้พื้นที่ภาคใต้ระยะยาวแล้ว ยังสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจการเมืองและโครงสร้างพื้นฐานด้วย" นายพิชัยกล่าว
ด้านนายสมศักดิ์ อภิญญาชน ผู้บริหารจาก บริษัท กรีนวู้ด 1993 จำกัด ตัวแทนเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEsกล่าวว่า การเข้าร่วมเป็นกลุ่มเครือข่าย ทำให้ได้รับทราบทิศทางของอุตสาหกรรมนี้ และได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนในเครือข่าย โดยเฉพาะในเรื่องของทิศทางธุรกิจจะไปทางไหน มีการประสานข้อมูลที่มีประโยชน์ร่วมกัน ทั้งด้านวัตถุดิบ นวัตกรรมใหม่ ๆ และเรื่องของการหาตลาดทั้งในส่วนในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันในเครือข่าย ซึ่งหลังการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเครือข่ายพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมกับสถาบัน SMI ที่สนับสนุนโดย สสว. ครั้งนี้ ทำให้มีแผนที่จะจัดตั้งเป็นสมาคมชีวมวลและสมาคม BIO GAS อย่างจริงจังต่อไป ซึ่งก็ถือว่าโครงการนี้เป็นจุดเริ่มของการรวมตัวของเครือข่ายของผู้ประกอบการอย่างแท้จริงนอกจากนี้ ในส่วนของต้นแบบเครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจใน 3 ภูมิภาค ซึ่งได้รับการส่งเสริมภายใต้โครงการฯ และเป็นผู้แทนเข้าร่วมการสัมมนา "ต้นแบบแห่งเครือข่าย…SME เติบโตได้อย่างยั่งยืน" ได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการ เข้าร่วมโครงการฯ ดังนี้นายสมเกียรติ จำปาดง หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางในบ้านสวน อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ในอดีตการผลิตถุงมือจากน้ำยางพารายังไม่เป็นที่ต้องการมากนักเนื่องจากไม่สวยงามและคุณภาพไม่คงที่ แต่เมื่อมีการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์และได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ สสว. ในการให้ความรู้และต่อยอดนวัตกรรม ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือเครือข่ายสามารถเพิ่มมูลค่าน้ำยางได้หลายเท่าตัว สามารถขยายช่องทางการจัดจำหน่าย รายได้ต่อครัวเรือนสูงขึ้นจากเดิมที่มีรายได้หลักมาจากการกรีดยาง และยังสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกด้วยด้านนายทวี สุขโข ประธานเครือข่ายคลัสเตอร์อีสานไทยซิลค์ กล่าวว่า เครือข่ายได้รับการสนับสนุนจาก
สสว. ร่วมกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดขอนแก่น โดยมีกรมหม่อนไหมได้เข้ามาช่วยฝึกอบรม และ สนับสนุน พันธุ์ไหมและหม่อนที่ใช้เลี้ยงไหม หลังจากนั้น ยังส่งเสริมให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น ชาใบหม่อน เบเกอรี่ลูกหม่อน เป็นต้น ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนกิจกรรมให้ไปศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสิ่งได้ได้รับจากโครงการส่งเสริมศักยภาพเครือข่าย SME นั้นทำให้ผู้ประกอบการมีแนวทางในการแก้ปัญหาแบบตรงประเด็น ชัดเจนมากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งทำให้มีภูมิคุ้มกัน สามารถเอาตัวรอดและเอาชนะคู่แข่งทางการตลาดได้
ด้านนางสาวพรรณทิพา กิจวิถี ฝ่ายประชาสัมพันธ์คลัสเตอร์ชาอินทรีย์ดอยแม่สลอง กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบการที่ได้เข้ามารวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกใบชา การรวมกลุ่มทำให้เกิดความเข้มแข็ง ทำให้รู้จักสามัคคีกัน พึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และยังทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการเพาะปลูกและการสร้างผลผลิต บางรายได้มีโอกาสไปออกงานแสดงสินค้าในตลาดสากล สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้ และเพิ่มอัตราการแข่งขันในตลาดได้ ก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรทุกคนที่อยู่ในกลุ่ม
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit