ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับการทับซ้อนของผลประโยชน์

11 Jan 2016
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับการทับซ้อนของผลประโยชน์" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4 – 6 มกราคม 2559 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ การดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับการทับซ้อนของผลประโยชน์ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับการทับซ้อนของผลประโยชน์

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีข้อห้ามไม่ให้คู่สมรส บุพการี หรือบุตรของผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. ในคราวเดียวกัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.88 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อห้าม รองลงมา ร้อยละ 37.36 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อห้าม ร้อยละ 0.08 ระบุอื่น ๆ เช่น ควรพิจารณาเป็นรายกรณีหากอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ไม่สมควร แต่หากอยู่คนละพื้นที่เห็นสมควรให้ลงรับสมัครได้ และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีข้อห้ามไม่ให้คู่สมรส บุพการี หรือบุตรของผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในคราวเดียวกัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.88 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อห้าม รองลงมา ร้อยละ 38.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อห้าม ร้อยละ 0.08 ระบุอื่น ๆ เช่น ควรพิจารณาเป็นรายกรณีหากอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ไม่สมควร แต่หากอยู่คนละพื้นที่เห็นสมควรให้ลงรับสมัครได้ และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีข้อห้ามไม่ให้คู่สมรส บุพการี หรือบุตรของผู้สมัครเป็น ส.ส. ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. ในคราวเดียวกัน และมีข้อห้ามไม่ให้คู่สมรส บุพการี หรือบุตรของผู้สมัครเป็น ส.ว. ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในคราวเดียวกัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.20 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อห้าม รองลงมา ร้อยละ 39.52 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อห้าม ร้อยละ 0.08 ระบุอื่น ๆ เช่น ควรห้ามทุกคนที่กล่าวมาแต่ควรยกเว้นพี่น้องที่สามารถลงสมัครในคราวเดียวกันได้ และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่พ้นจากตำแหน่ง ไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หรือดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.40 ระบุว่า ควรมีการห้ามภายในเวลา 5 ปีหลังพ้นจากตำแหน่ง รองลงมา ร้อยละ 31.28 ระบุว่า ไม่ควรมีการห้ามใด ๆ ร้อยละ 24.32 ระบุว่า ควรมีการห้ามภายในเวลา 2 ปีหลังพ้นจากตำแหน่ง ร้อยละ 6.08 ระบุอื่น ๆ เช่น ควรห้ามเป็นระยะเวลา 1 ปี, 3 ปี, 4 ปี, 8 ปี บางส่วนระบุว่า ควรห้ามสมัครเป็นสมัย เช่น 2-3 สมัย หรือพิจารณาที่ประวัติ พฤติกรรม และผลงานในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ควรห้ามตลอดชีวิต และร้อยละ 5.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการห้ามสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่พ้นจากตำแหน่ง ไม่ให้ลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.40 ระบุว่า ไม่ควรมีการห้ามใด ๆ รองลงมา ร้อยละ 31.68 ระบุว่า ควรมีการห้ามภายในเวลา 5 ปีหลังพ้นจากตำแหน่ง ร้อยละ 24.40 ระบุว่า ควรมีการห้ามภายในเวลา 2 ปีหลังพ้นจากตำแหน่ง ร้อยละ 5.44 ระบุอื่น ๆ เช่น ควรห้ามเป็นระยะเวลา 1 – 4 ปี, บางส่วนระบุว่าควรห้าม 10 ปี, ควรพิจารณาที่พฤติกรรมในขณะดำรงตำแหน่ง, ขณะที่บางท่านระบุว่าควรห้ามตลอดชีวิต และร้อยละ 6.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.52 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 54.16 เป็นเพศชาย และร้อยละ 45.84 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 6.88 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 18.16 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.40 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.12 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 15.92 มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและร้อยละ 1.52 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 93.52 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.76 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.28 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.40 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 76.40 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 1.60 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และ ร้อยละ 1.60 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 25.36 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.36 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.64 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.16 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.80 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 13.68 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.32 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 25.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.76 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.20 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.64 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 15.84 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 32.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.16 ไม่ระบุรายได้