อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ของนักธุรกิจต่อแผนการเพิ่มแรงงาน จำนวนความพร้อมของแรงงานที่มีทักษะ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และโครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งคมนาคม กลับลดลง
ขณะที่ภายในภูมิภาคอาเซียน ประเทศมาเลเซียได้มีรายงานถึงทัศนคติความเชื่อมั่นต่อธุรกิจที่แม้จะปรับตัวดีขึ้นจากในไตรมาสที่ 3 ปีก่อนจากร้อยละ -28 เป็นร้อยละ -14 แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ลดลงจากร้อยละ -14 มาอยู่ที่ร้อยละ -16 สะท้อนให้เห็นถึงความกดดันอย่างต่อเนื่องในเศรษฐกิจของเกาะ รวมถึงความเสี่ยงไปยังประเทศมาเลเซียและการค้าโลก ส่วนทางด้านประเทศฟิลิปปินส์มีการปรับลดลงเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 86 เป็นร้อยละ 84 และประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากร้อยละ 36 เป็นร้อยละ 56 อย่างไรก็ตามสิ่งนี้อาจยังไม่มั่นคงยาวนานพอ และอาจทำให้อินโดนีเซียพลาดเป้าหมายการเติบโตของ GDP ในปี 2558 ที่ผ่านมา ขณะที่ทัศนคติความเชื่อมั่นต่อธุรกิจทั่วโลกมีการปรับลดลงเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบยุโรปที่ยังคงทรงตัวอยู่นายแอนดรูว์ แม็คบีน หุ้นส่วนและผู้เชี่ยวชาญด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนของแกรนท์ ธอนตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า "ทัศนคติด้านบวกของนักธุรกิจในไทยที่ปรับตัวดีขึ้นนั้น ส่วนนึงอาจเป็นเพราะการคาดหวังว่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในปี 2559 นี้น่าจะดีขึ้น ตลอดจนการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์หลายท่านว่าในปีนี้น่าจะดีกว่าปีก่อน ซึ่งอาจทำให้เราไม่รู้สึกคาดหวังในแง่ดีหรือมองในแง่ร้ายมากเกินไปนัก"
ผลสำรวจฯ ของแกรนท์ ธอนตัน ยังเผยว่า แม้การคาดการณ์ของนักธุรกิจในจีนถึงรายได้ช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะลดลงอย่างมาก จากร้อยละ 33 เป็นร้อยละ 21 แต่กลับไม่ส่งผลต่อภาพรวมการคาดการณ์รายได้ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่าไหร่นัก โดยลดลงจากร้อยละ 38 มาอยู่ที่ร้อยละ 36 เท่านั้น เช่นเดียวกันกับการคาดการณ์การส่งออกของจีนที่ลดลงจากร้อยละ 14 เหลือเพียงร้อยละ 6 แต่ทั่วทั้งภูมิภาคยังอยู่ที่ร้อยละ 11 ลดลงเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 12 ในไตรมาสก่อนหน้า
ภาพรวมทัศนคติความเชื่อมั่นต่อธุรกิจทั่วโลกในไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ผ่านมานั้น อยู่ที่ร้อยละ 36 ลดลงจากไตรมาส 3 ปีเดียวกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสูงกว่าผลสำรวจของปี 2557 ในไตรมาสเดียวกันซึ่งได้ร้อยละ 35 ขณะนักธุรกิจในสหภาพยุโรปมีทัศนคติความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้าเช่นเดียวกับในไตรมาสที่ 3 ก่อนหน้านั้นที่ร้อยละ 38 ส่วนทางด้านประเทศในแถบละตินอเมริกามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 18
แอนดรูว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "หากเรามองในระดับภูมิภาคอย่างอาเซียน เราสามารถคาดการณ์ได้ถึงความผันผวนที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยต่างในปี 2559 นี้ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิตในประเทศจีนที่ชะลอตัวลง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เป็นไปอย่างช้าๆ และยังคงผันผวนตลอด รวมถึงปัญหาทางการเมืองและสงครามของประเทศในแถบตะวันออกกลาง ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ปัญหาพรหมแดนแถบทะเลจีนใต้ ตลอดจนแม้แต่ภายในประเทศไทยเองอีกด้วย"
"ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอด รวมถึงอาจเกิดแหล่งหรือประเทศเศรษฐกิจที่น่าสนใจแห่งใหม่ขึ้นมาด้วย สิ่งนี้ถือเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโตหรือมองหาช่องทางในการเชื่อมโยงการค้าใหม่ๆ เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จท่ามกลางความผันผวนในปี 2559 นี้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit