สำหรับกรณีในส่วนที่มีข่าวว่า บึงสีไฟ จ.พิจิตร น้ำน้อย เพราะชลประทานไม่ปล่อยน้ำ ปีนี้ลอยกระทงไม่ได้นั้น จึงขอชี้แจงว่า บึงสีไฟเป็นบึงธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ย 1 - 2 ม.อยู่ห่างจากแม่น้ำน่าน ประมาณ 10 กม. ไม่อยู่ในเขตชลประทานคลองรับน้ำโดยรอบบึงสีไฟ ถูกปิดกั้นโดยสิ่งก่อสร้างน้ำส่วนใหญ่ในบึงเกิดจากน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่บึงโดยตรง และ ในปี 2557 - 2558 มีฝนตกในพื้นที่น้อยจึงทำให้มีน้ำในบึงในปีนี้น้อยไม่ได้เกิดจากการไม่ปล่อยน้ำของกรมชลประทาน
ด้านความก้าวหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2558/59 ซึ่งเมื่อวานนี้(24 พ.ย. 58) ครม. ได้เห็นชอบงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2559 งบกลาง มาตรการที่1สนับสนุนปัจจัยการผลิต (เพื่อลดรายจ่าย) แบ่งเป็น การปลูกพืชทดแทนวงเงิน 971.98 ล้านบาท และงบประมาณในมาตรการที่ 2 ชดเชยดอกเบี้ยสหกรณ์ (เพื่อลดภาระหนี้สิน) วงเงิน 206.23 ล้านบาท ชดเชยดอกเบี้ย ระยะเวลา 6 เดือน ร้อยละ 3.0 สมาชิก 134,479 ราย
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการในแต่ละมาตรการ พบว่า มาตรการที่ 1 ร้านธงฟ้า 52 ครั้ง 16จังหวัด 14,349 ราย จำหน่ายสินค้า 4.30 ล้านบาท ลดค่าครองชีพได้ 2.87 ล้านบาทมาตรการที่ 2 ลดค่าเช่าที่ดิน ส.ป.ก. เฉพาะที่ดินในส่วนที่ ส.ป.ก. จัดหาจากภาคเอกชนเพื่อให้เกษตรกรเช่า/เช่าซื้อ ซึ่งมีประมาณ 500,000 ไร่ผู้เช่าที่ดิน จำนวน 14,687 ราย ยกเว้นค่าเช่าที่ดิน ระยะเวลา 1 ปี รวมเป็นเงินช่วยเหลือ 28.18 ล้านบาท (จะเสนอ คปก. เห็นชอบต่อไป) ผู้เช่าซื้อที่ดิน จำนวน 7,314 ราย ลดดอกเบี้ยจาก 4 % เหลือ 1 % ระยะเวลา 1 ปี รวมเป็นเงินช่วยเหลือ 19.78 ล้านบาท (จะเสนอ คปก. เห็นชอบต่อไป)
มาตรการที่ 3 (เพื่อเพิ่มรายได้) ในส่วนการจ้างงาน ชป. (จ้างแรงงานเกษตรกร จำนวน 34,109คน)
ณ วันที่ 23 พ.ย. 58 จ้างแรงงานแล้ว 880,846 คน-วัน เป็นเงิน 264.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 6 พ.ย.58 จำนวน 355,205 คน-วัน เงินเพิ่มขึ้น 106.72 ล้านบาท เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยคนละ 7,700บาท (ตั้งแต่ 1 ต.ค. 58)
มาตรการที่ 4 ทีมประเทศไทย ลงพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. 58 เพื่อสำรวจความต้องการของชุมชน- การเสนอแผน จะดำเนินการ เป็น 2 ห้วง 1. โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย/ใช้ความชื้นในดิน จะเสนอโครงการเข้า ครม. โดยเร็ว เพื่อให้สามารถโอนเงินให้เกษตรกรดำเนินการได้ทันใน ธ.ค. 58 2.โครงการเกษตรอื่นๆ /นอกภาคการเกษตร จะเสนอโครงการเข้า ครม. ในปี ธ.ค. 58 ซึ่งจะสามารถโอนเงินให้เกษตรกรดำเนินการได้ในช่วง ก.พ. - มี.ค. 59 มีโครงการที่ผ่านการพิจารณาของจังหวัด จำนวน 514โครงการ วงเงิน 365.08 ล้านบาท คาดว่า คณะกรรมการฯ จะเสนอโครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย/ใช้ความชื้นในดินบางส่วนเข้า ครม. ในวันที่ 1 ธ.ค. 58
มาตรการที่ 5 (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ) โดยการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ เกี่ยวกับการรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภัยแล้ง การส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย สถานการณ์น้ำ เป็นต้น โดยมีการรายงานจากศก.กจ.ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ กว่า 695 ครั้ง ในรอบ 2 สัปดาห์
มาตรการที่ 6 (เพื่อเพิ่มน้ำต้นทุน) เจาะบ่อบาดาลเพิ่มการเกษตร ได้ 251 บ่อ เพิ่มขึ้นจากวันที่ 6พ.ย. 58 จำนวน 241 บ่อดำเนินการโดย ทส./กห. มีเป้าหมาย 6,576 แห่ง จะดำเนินการให้ทันฤดูแล้งปีนี้การพัฒนาแหล่งน้ำการเกษตร โดย กห. จำนวน 136 แห่ง เสร็จเรียบร้อยแล้วการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 47 แห่ง ทั้งนี้ ได้สั่งการให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติม เพราะประชาชนมีความต้องการมาก รวมทั้งเพิ่มเติม ฝายกระสอบทรายกั้นลำน้ำสาขาก่อนลงสู่แม่น้ำใหญ่ จำนวน 526 แห่งทั่วประเทศ งบประมาณ 117 ล้านบาท เพิ่มความจุน้ำ 51 ล้าน ลบ.ม. ได้มอบให้ อปท. ดำเนินการ
มาตรการที่ 7 (เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต) จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 211 โรงพยาบาลจัด จนท.ตำรวจสายตรวจ ลงพื้นที่ 4,676 ครั้งรับแจ้งเหตุ 8 ครั้ง (ขโมยเครื่องสูบน้ำ 6 เครื่อง ขโมยอุปกรณ์การเกษตร 2 เครื่อง)มาตรการที่ 8 (เพื่อสนับสนุน/อื่นๆ) อนุมัติสินเชื่อวิสาหกิจชุมชน จำนวน 7 แห่ง วงเงิน4.50 ล้านบาท
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit