คำสั่งของศาลสูงฟิลิปปินส์เป็นไปตามคำฟ้องของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักรณรงค์ชาวฟิลิปปินส์ นักวิชาการ และ นักการเมือง ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ให้กับเกษตรกรชาวฟิลิปปินส์ และนักรณรงค์ทั่วโลก
"การตัดสินครั้งนี้มีขึ้นภายใต้กระแสการเคลื่อนไหวของในยุโรปที่ปฏิเสธพืชจีเอ็มโอ และเป็นการเสื่อมถอยครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมจีเอ็มโอ" เวอร์จิเนีย เบโนซา-ลอริน ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซฟิลิปปินส์ กล่าว "นโยบายตรวจสอบและควบคุมจีเอ็มโอของฟิลิปปินส์ได้ เป็นตัวอย่างให้กับทั่วโลก และในที่สุดเรามีความคืบหน้าในการรับรองสิทธิผู้บริโภคที่จะเลือกกินอาหาร และส่งเสริมวิธีการทำเกษตรกรรมที่ต้องการ"
ส่วนคำสั่งห้ามชั่วคราวนั้นมีขึ้นจนกว่า "คำสั่งทางปกครอง" ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งรวมถึงกรณีข้าว "สีทอง" ที่เป็นประเด็นถกเถียงเพราะเป็นโครงการทดลองโดยสถาบันวิจัยข้าว หรือ IRRI ซึ่งต้องพับโครงการกลับเข้าไปสู่การทดลองในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากผลลัพธ์ที่แย่ (1)
มติของศาลสูงแห่งฟิลิปปินส์เป็นแนวทางคำตัดสินของศาลในระดับโลก ในฐานะเป็นคำตัดสินทางกฏหมายว่าด้วยจีเอ็มโอครั้งแรกในฟิลิปปินส์ ที่ใช้ Writ of Kalikasan ซึ่งเป็นกลไกทางกฎหมายในการเยียวยาความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีเฉพาะในฟิลิปปินส์ ศาลสูงแห่งฟิลิปปินส์ยังเป็นศาลแห่งแรกในโลกที่รับรอง หลักการป้องกันไว้ก่อน กล่าวคือ เป็นการดีที่สุดที่จะระมัดระวังถึงแม้ว่าจะยังไม่มีความเห็นพ้องต้องกันในทางวิทยาศาสตร์ ในคำตัดสินกรณีผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ
"คดีนี้ชี้ให้เห็นอีกหลายคดีเรื่องการปนเปื้อนทางพันธุกรรมที่กรีนพีซและกลุ่มอื่นๆ หยิบยกขึ้นมา รวมถึงความจริงพื้นฐานที่ว่ายังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์เรื่องความปลอดภัยของพืชจีเอ็มโอ " เบโนซา-ลอริน กล่าว "นี่คือชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของชาวฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต่อสู้กับการปนเปื้อนจีเอ็มโอในสิ่งแวดล้อม" (2)
"พืชจีเอ็มโอนำไปสู่แบบจำลองการทำการเกษตรที่ไร้ประสิทธิภาพ บนฐานของระบบอุตสาหกรรมเกษตร อันเป็นระบบที่ไม่ทนทานต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และล้มเหลวที่จะสร้างความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชาวฟิลิปปินส์ นั่นคือ อาหาร และ ความมั่นคงทางโภชนาการ ในห้วงแห่งวิกฤตภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงที่สุดขั้วของมัน" เบโนซา-ลอริน กล่าว
การตัดสินของศาลสูงยังมีผลให้ระเบียบลำดับที่ 08-2002 (DAO8) ของกระทรวงเกษตร เป็นโมฆะ และเท่ากับห้ามกระทรวงเกษตรและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกใบอนุญาตใดๆเกี่ยวกับจีเอ็มโอ ในระหว่างที่มีการยกร่างและอนุมัติคำสั่งทางปกครองใหม่การตัดสินของศาลยังมีผลรวมไปถึงการค้าพืชและผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอด้วย เมื่อปี 2557 สหรัฐฯส่งออกพืชและผลิตผลจีเอ็มโอไปยังฟิลิปปินส์มีมูลค่าถึง 784 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3)
ศาลสูงฟิลิปปินส์ยืนยันตามการตัดสินของศาลอุทธรณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ว่าให้รัฐบาลต้องเตรียมแผนการฟื้นฟพื้นที่ที่ทำการทดลองภาคสนามและ ป้องกัน รักษา รวมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสนอให้มีมาตรการปฏิรูปกฎเกณฑ์และข้อบังคับที่มีอยู่
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกร้องให้รัฐบาลฟิลิปปินส์สนับสนุนนโยบาย การลงทุน และให้การเงินทุนต่อระบบเกษตรกรรมเชิงนิเวศ
หมายเหตุ:
[1] ความคืบหน้าของข้าวจีเอ็มโอ "ข้าวสีทอง": http://irri.org/golden-rice/faqs/what-is-the-status-of-the-golden-rice-project-coordinated-by-irri
[2] ระบบบันทึกเหตุการณ์การปนเปื้อนจีเอ็มโอทั่วโลก: http://www.gmcontaminationregister.org/
[3] สถิติการส่งออกพืชและผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอของสหรัฐฯมาฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2557:http://gain.fas.usda.gov/Recent GAIN Publications/Agricultural Biotechnology Annual_Manila_Philippines_7-10-2015.pdf
[4] ผู้ยื่นฟ้องศาลกรณีจีเอ็มโอ ได้แก่: Greenpeace Southeast Asia (Philippines), Magsasaka Siyentipiko sa Pagpapaunlad ng Agrikultura (MASIPAG), Rep. Teodoro Casino, Dr. Ben Malayang III, Dr. Angelina Galang, Mr. Leonardo Avila III,Ms. Catherine Untalan, Atty. Maria Paz Luna, Mr. Juanito Modina, Mr. Dagohoy Magaway, Dr. Romeo Quijano, Dr. Wency Kiat, Atty. H.Harry Roque, Jr, Former Sen. Orlando Mercado, Mr. Noel Cabangon, Mayor Edward Hagedorn, Mr. Edwin Marthine Lopez
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit