เรือเอกนาวี เนื่องจำนงค์ ผู้จัดการเรือราชนาวี 1 ผู้นำในรุ่นโมเดิร์นคลาสสิคของวันนี้ เปิดเผยว่า "ลมเบาวันนี้ถือเป็นโชคดีของเรา เนื่องจากทีมเราใช้เรือเล็กลงแข่ง ทำให้แซงคู่แข่งได้ไม่ยากในสภาพลมแบบนี้ แต่ก่อนเริ่มแข่งรอบที่สองเกิดเหตุอุปกรณ์เชือกสำหรับดึงใบเรือใหญ่ขาด เราต้องแก้ปัญหาโดยใช้เทคนิคโบราณคือการโน้มเรือลงด้านข้างจนสามารถซ่อมแซมได้ทันเวลา และแข่งรอบสองได้อย่างราบรื่น ถ้าสภาพอากาศยังเอื้ออำนวยแบบนี้ในวันต่อๆไป คือลมแรงไม่เกิน 15 นอต เราค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถคว้าตำแหน่งผู้ชนะเลิศได้ในปีนี้" ส่วนเรือวินด์สตาร์ ในรุ่นโมเดิร์นคลาสสิคเช่นเดียวกัน ของกัปตันกิ่ง-ปฏิญญากร บุราณรมย์ แชมป์เก่า ยังคงทำผลงานได้ไม่ดีนักโดยอยู่ที่อันดับห้าของตารางวันนี้
ฝ่ายกัปตันอิทธินัย ยิ่งศิริ แห่งเรือไพน์ แปซิฟิค รุ่นพรีเมียร์ กล่าวว่า "วันนี้รุ่นเรือของเราแข่งขันเพียงหนึ่งรอบ แต่เป็นคอร์สที่แตกต่างจากเมื่อวันแรกมาก ประกอบกับลักษณะลมอ่อนที่มีการเปลี่ยนทิศทางตลอดเวลา ทำให้ทีมของเราต้องเล่นละเอียดขึ้น มีการปรับเปลี่ยนใบเรือและอุปกรณ์ตลอดเวลาตามสภาพลม จนได้ใช้ใบเรือทุกแบบในวันนี้ วันนี้ทีมงานมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่ก็ไม่ร้ายแรงมาก ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะเราจะได้เรียนรู้จากปัญหาและยกระดับทักษะเราให้เก่งขึ้น"
สำหรับผลการแข่งขันเรือใบประเภทคีลโบ๊ทและมัลติฮัลล์ในรุ่นอื่นๆ ที่น่าสนใจ (อย่างไม่เป็นทางการ ณ เวลา 16.30 น.) ได้แก่ เรือวินด์ซีเกอร์ II จากออสเตรเลีย ยังรั้งผู้นำในรุ่นไออาร์ซี 0 ส่วนเรือคาราซู ของกัปตันยาซูโอะ นานาโมริ แซงขึ้นเป็นอันดับหนึ่งได้วันนี้ของรุ่นไออาร์ซี 2 ในขณะที่เรือทวินชาร์ค ของกัปตันจอห์น นิวแฮม สามารถเบียดเรือวูดูขึ้นมาเป็นที่หนึ่งในตารางของวันนี้
สภาพลมที่เปลี่ยนแปลงยังส่งผลถึงการแข่งขันเรือใบเล็กรายการ "อินเตอร์เนชั่นแนล ดิงกี้ คลาส" ที่ทำให้มีการสลับตำแหน่งผู้นำของวันนี้ในเกือบทุกรุ่น ซึ่ง นาวาโท พีระ สกุลเต็ม ผู้จัดการแข่งขันและผู้ฝึกสอนในรายการอินเตอร์เนชั่นแนลดิงกี้คลาส เปิดเผยว่า "สภาพลมวันนี้แตกต่างกับเมื่อวานอย่างมาก การแข่งขันเมื่อวานจะให้ความรู้สึกน่าตื่นเต้นมากสำหรับเยาวชนที่ไม่คุ้นกับสนามที่มีลมแรง แต่ในวันนี้ ถึงแม้ลมจะเบาแต่ก็มีการเปลี่ยนทิศตลอดเวลา ประกอบกับกระแสน้ำแรงกว่ากระแสลม ทำให้เด็กๆ ต้องพิจารณาสนามเพื่อเลือกเส้นทางแข่งขันอย่างรอบคอบและต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการแล่นให้สอดคล้องกับสภาพลมในพื้นที่แต่ละโซนให้ทันท่วงที ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเยาวชนจะได้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันทุกครั้งที่ลงสนาม ซึ่งจะทำให้พวกเขามีทักษะที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น"
สำหรับผู้นำในการแข่งขันเรือใบเล็ก "อินเตอร์เนชั่นแนล ดิงกี้ คลาส" วันแรก รุ่นเลเซอร์สแตนดาร์ด ได้แก่ กีรติ บัวลง, รุ่นท้อปเปอร์ ได้แก่ นาวี ธรรมสุนทร, รุ่น เลเซอร์ 4.7 ได้แก่ ชัยชนาวุฒิ ดีนาค, รุ่นออพติมิสต์ เยาวชนชาย ได้แก่ ศรัณวงศ์ พูนพัฒน์, รุ่นออพติมิสต์ เยาวชนหญิง ได้แก่ ชนกชนม์ หวังสุข
งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ดำเนินงานโดยคณะกรรมการจัดงานการแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ภายใต้สโมสรเรือใบราชวรุณ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมด้วยสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทัพเรือ และจังหวัดภูเก็ต เริ่มต้นจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา
การแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ครั้งที่ 29 มีผู้ให้การสนับสนุนได้แก่ กะตะกรุ๊ป รีสอร์ท ประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนหลักการจัดงาน ร่วมด้วยองค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน), และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้ร่วมสนับสนุน ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) , บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน), ไวน์มองต์แคลร์โดยสยามไวเนอรี่, และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วยบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ส่วนพันธมิตรสื่อมวลชนของงาน ได้แก่ Phuket Gazette, PGTV, Prestige, SailWorld.com, Yachtstyle, Sea Yachting, Phuket Magazine, Image Asia, The Guide Phuket, RL Magazine, Phuket Marine Guide และ Art & Culture
ผู้สนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดงานได้ที่เว็บไซต์ www.kingscup.com โทรศัพท์/แฟกซ์ +66 (0) 7627 3380 หากต้องการรายละเอียดการจัดงานทั่วไป อีเมล์ [email protected] ส่วนรายละเอียดการแข่งขันอีเมล์ [email protected]ผลการแข่งขันวันที่สองของมหกรรมการแข่งขันภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 29 โดยรายชื่อ 3 อันดับแรกของทั้ง 13 ประเภทรุ่นไออาร์ซี 0
1. เรือวินด์ซีเกอร์ II โดยกัปตันเซราบ จีท สิงห์ จากสิงคโปร์
2. เรือมิลเลเนียม เรซิ่ง โดยกัปตันเรย์มอนด์ โรเบิร์ตส์ จากประเทศออสเตรเลีย
3. เรือทีม พรีเมียร์ ออย โดยกัปตันฮานส์ ไวเมอร์ จากประเทศออสเตรเลีย
รุ่นไออาร์ซี 1
1. เรือบลูโน้ต โดยกัปตันแมตตี้ เซพ จากประเทศเอสโตเนีย
2. เรือรีรีไฟน์ โดยกัปตันเคนน์ อีเยียร์ส จากประเทศสิงคโปร์
3. เรือวันมาแรง โดยกัปตันเควิน วิทคราฟท์ จากประเทศไทย
รุ่นไออาร์ซี 2
1. เรือคาราซู โดยกัปตันยาซูโอะ นานาโมริ จากประเทศญี่ปุ่น
2. เรือเจสซานดร้า II โดยกัปตันโรแลนด์ เดน จากประเทศออสเตรเลีย
3. เรือฟูหยิน โดยกัปตันมิค ทิลเด็น จากประเทศออสเตรเลีย
รุ่นพรีเมียร์
1. เรือไพน์ แปซิฟิค โดยกัปตันอิทธินัย ยิ่งศิริ จากประเทศไทย
2. เรือออเดียมุส โดยกัปตันคิม ราเม็น และ เอเดรียน ฟีนี จากประเทศออสเตรเลีย
3. เรือเบบี้ ตองก้า โดยกัปตันอังเดรย์ เอลิซีฟ จากประเทศรัสซีย
รุ่นแบร์โบ๊ตชาร์เตอร์
1. เรืออเล็กซา โดยกัปตันอังเดรย์ โนวิคอฟ จากประเทศรัสเซีย
2. เรือมาลี โดยกัปตันเลโอนิด ฟาคีฟ จากประเทศยูเครน
3. เรืออิซาเบลลา โดยกัปตันวาสิลี มิคาเลฟ จากประเทศรัสเซีย
รุ่นโอเพ่น ชาร์เตอร์
1. เรือป๊อปอาย โดยกัปตันวลาดีเมียร์ โอเลย์นีคอฟ จากประเทศออสเตรเลีย
2. เรือบิ๊กบอย เซลิ่ง ทีม โดยกัปตันเฉิน เช็ง จากประเทศจีน
3. เรือเวนเจอร์ โดยกัปตันบอริส กูเซฟ จากประเทศรัสเซีย
รุ่นโมเดิร์นคลาสสิค
1. เรือราชนาวีไทย 1 โดยพันจ่าเอก วิวัฒน์ พูนพัฒน์ จากประเทศไทย
2. เรือฟาร์โก เอ็กซเพรส โดยกัปตันจอห์น วิคเคอรี่ จากประเทศออสเตรเลีย
3. เรือกระบี่ โบ้ท ลากูน พิคโคโล โดยกัปตันไมค์ ดอว์นาร์ด จากประเทศไทย
รุ่นครูซิ่งคลาส
1. เรือโมฮอว์ค โดยกัปตันโทนี ไบร์เนส จากประเทศออสเตรเลีย
2. สลิปสตรีม โดยกัปตันร็อด มัลคาฮี จากประเทศไทย
3. เรือมัสแตงก์ แซลลี่ โดยกัปตันวาร์เร็น แบ็ทท์ จากประเทศนิวซีแลนด์
รุ่นคลาสสิค
1. เรือเซลม่า โดยกัปตันเซดริค รีม็อด จากประเทศฝรั่งเศส
2. เรือยูเมะโบชิ โดยกัปตันคิโยชิ มาซูดะ จากประเทศญี่ปุ่น
รุ่นมัลติฮัลล์เรซิ่ง
1. เรือจาวา โดยกัปตันจอห์น คอฟฟิน จากประเทศจีน
2. เรือเอเชีย คาตามารันส์ เฮอร์ริเคน โดยกัปตันอลัน คาร์วาดีน จากประเทศไทย
3. เรือว้าว โดยกัปตันเดวิด ลิดเดล จากสหราชอาณาจักร
รุ่นมัลติฮัลล์ครูซิ่ง
1. เรืออลาเบลลา เนคเคเด แด็ด โดยกัปตันแกรนท์ ฮอร์สฟีลด์ จากสหราชอาณาจักร
2. เรือสตาร์ ฟรุ้ต โดยกัปตันนิโคลาย พิสเมนสกี้ จากประเทศรัสเซีย
3. เรือมินนี โดยกัปตันโนริคาสุ อาราอิ จากประเทศญี่ปุ่น
รุ่นไฟร์ฟลาย 850 สปอร์ต
1. เรือทวินชาร์คส์ โดยกัปตันจอห์น นิวแฮม จากสหราชอาณาจักร
2. เรือวูดู โดยกัปตันฮันส์ ราห์มานน์ จากประเทศสิงคโปร์
3. เรือแอดวานซ์ เรซิ่ง โดยกัปตันนีล ไอร์ จากสหราชอาณาจักร
รุ่นเพอร์ฟอร์มานซ์ คาตามารัน
1. เรือมัลติฮัลล์ โซลูชั่นส์ เอชทรีโอ โดยกัปตันแอนดริว เดอ บรูน / แซม บีเวน จากประเทศไทย
2. เรือซูดู 3 โดยกัปตันอลิซาเบธ สคอช จากประเทศไทย
3. เรือซูดู 2 โดยกัปตันกลิวน์ โรว์แลนด์ จากประเทศไทย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit