ผศ.ดร.พลพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ได้แก่ การศึกษาสารตัวเติมในยาง การทำโฟมจากน้ำยาง การทำถุงมือยาง ซึ่งที่ผ่านมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ไปในระดับนานาชาติ คือการวิจัยวัสดุยืดหยุ่นแบบเทอร์มอพลาสติกที่ทำจากยางพารา และการวิจัยอิพ็อกซีเรซิน ผสมยางอิพ็อกไซด์ (ENR) รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยงข้องทางอ้อม คือทำไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา นอกจากนั้น ปัจจุบันมีอาจารย์ในโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ทำวิจัยเกี่ยวกับการทำไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราโดยนำมาผสมกับเทอร์มอพลาสติก
ด้าน ผศ.ดร.กฤษฎา กล่าวว่า ยางพาราเป็นวัสดุที่ได้จากพืช ดังนั้นการทำงานวิจัยด้านยางพารา จึงไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะวัสดุศาสตร์อย่างเดียว การทำงานวิจัยควรครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนาพันธุ์ยางพารา น้ำยางพารา ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ฟองน้ำยางพารา ยางแห้ง เช่น อะไหล่รถยนต์ ล้อรถยนต์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากไม้ยาง เช่น ไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านยางพารา รวมทั้งห่วงโซ่การสร้างมูลค่าเพิ่มจากยางพารา สำหรับในด้านนโยบายการวิจัยด้านยางพารา ขณะนี้หน่วยงานวิจัยและแหล่งทุนวิจัยหลายแห่ง เช่น สกว. วช. สวทช. กำลังพัฒนาการบริหารงานวิจัยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และพยายามสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและอุตสาหกรรมเพื่อดำเนินการวิจัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ในการพัฒนาด้านยางพาราอย่างครบวงจร
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit