โรงพยาบาลธนบุรี 2 “บริการด้วยน้ำใจ เอาใจใส่ดุจญาติมิตร”
เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนี่งที่มีชื่อว่า “วาริเซลลาซอส(วี-แซด)ไวรัส” ผู้ที่ติดเชื้อนี้ครั้งแรกจะแสดงอาการของไข้สุกใส(ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในวัยเด็ก)ส่วนน้อยอาจจะไม่แสดงอาการ ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักมีประวัติเคยเป็นไข้สุกใสมาก่อน หลังจากหายไข้สุกใสแล้วเชื้อจะหลบซ่อนแล้วแฝงตัวอยู่ใต้ปมประสาทใต้ผิวหนัง เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น เด็กเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ช่วงที่มีความเครียดทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ โรคเอดส์ หรือโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นหระสารทอักเสบ (เกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาท) เชื้อจะกระจายไปตามเส้นประสาทที่อักเสบ และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาสู่ผิวหนังเกิดเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาทคล้ายกับรูปร่างของงูจึงเรียกว่าโรคงูสวัด
ก่อนมีผื่นขึ้น 1-3 วันผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปล๊บคล้ายถูกไฟช็อต ในบริเวณที่ผื่นขึ้นซึ่งเป็นบริเวณปมประสาทที่มีเชื้อไวรัสแฝงตัวอยู่อาจมีอาการคันและปวดแสบปวดร้อนด้วย เป็นพัก หรือตลอดเวลาบางรายอาจมีอาการไข้ หนาวสั่นร่วมด้วย เป็นพักๆ หรือ ตลอดเวลา ลักษณะเป็นผื่นแดงหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆต่อมาคล้ายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงตามแนวผิวหนังซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ตามแนวที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทที่อักเสบ ตุ่มน้ำมักทยอยขึ้นใน 4 วันแรก แล้วค่อยๆแห้งตกสะเก็ดใน 7-10 วัน เมื่อสะเก็ดตกและหลุดออกไปอาการปวดจะทุเลาลง รวมแล้วผื่นจะมีอยู่นาน 10-15 วัน ผู้ที่มีอายุมากจะมีอาการปวดจากเส้นประสาทอักเสบขึ้นอยู่กับระยะเวลาก่อนได้รับการรักษาว่าเร็วหรือช้าการปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าเป็นงูสวัด
1. รักษาแผลให้สะอาด ในระยะเป็นตุ่มน้ำใสที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆหรือยาฆ่าเชื้อที่ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองปิดประคบไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วทายาฆ่าเชื้อเฉพาะที่แล้วชุบเปลี่ยนใหม่ 3-4 ครั้ง ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลออกมาต้องระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าสู่แผลควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผล แล้วปิดด้วยผ้ากอซสะอาด
2. ถ้าปวดแผลมากสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่นพาราเซตามอล ได้
3. ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัดเพราะอาจทำให้ มีการติดเชื้อแบคทีเรียแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนองแผลหายช้าและกลายเป็นแผลเป็น
4. การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อห้าม
5. ไม่ควรเป่าหรือพ่นยาลงบนแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แผลหายช้าและการเป็นแผลเป็น
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นงูสวัดแล้วต้องมาพบแพทย์ทันที
1. ผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
2. ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ จากการได้ยากดภูมิต้านทาน ได้แก่ยาฆ่าเซลล์มะเร็งหรือจากการได้รับการฉายรังสี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดของต่อมน้ำเหลืองหรือผู้ป่วยของโรคเอดส์ เป็นต้น
3. มีผื่นงูสวัดที่จมูก หรือใกล้ตา เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะลามเข้าตาได้ทำให้เกิดต้อกระจก ม่านตาอักเสบ ต้อหิน ประสาท หรือตาบอดในที่สุด
4. มีผื่นงูสวัดที่ใบหน้า บริเวณหูด้านนอก หรือแก้วหู เพราะอาจทำให้เกิดอัมพาต ใบหน้าครึ่งซีก บ้านหมุน สูญเสียการได้ยิน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อาเจียน
5. มีผื่นงูสวัดที่เข้าได้กับผื่นแบบแพร่กระจาย
6. มีอาการปวดรุนแรงซึ่งกระทบต่อชีวิตประจำวัน
งูสวัดพันตัวแล้วตายหรือไม่
โรคงูสวัดไม่ได้ทำให้ตาย และไม่สามารถหายได้เองในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานปกติ โดยผื่นในโรคงูสวัดนั้นจะไม่สามารถพันตัวเราจนครบรอบเอวได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเราจะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่งกลางละตัวเท่านั้น ดังนั้นในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติงูสวัดจะไม่ลุกลามเกินแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของร่างกาย ในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง หรือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้จากยากดภูมิต้านทานอาจะเกิดผื่นงูสวัดได้หลายกรณี ผื่นอาจะปรากฏขึ้น 2 ข้างพร้อมกัน ทำให้ดูเหมือนงูสวัดพันรอบตัวได้ ในบางครั้งรายที่เป็นงูสวัดขั้นรุนแรงอาจเกิดงูสวัดแบบแพร่กระจายผื่นอาจจะลุกลามเข้าสู่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ เช่นปอดหรือตับ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
งูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่
คนที่มีภูมิคุ้มกันปกติ กานสัมผัสหรือใกล้ชิดอาจไม่ทำให้ติดโรคงูสวัดเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยงูสวัดนั้นยากที่จะเกิดเพราะงูสวัดจะแพร่เชื้อในระยะที่เป็นตุ่มน้ำแตก หรือ สัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยตุ่มน้ำโดยตรงจึงสามารถที่จะสัมผัสใกล้ชิดหรือกินข้าวร่วมกับผู้ป่วยได้ตามปกติ เว้นคนที่ยังไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อนหากสัมผัสคนที่เป็นงูสวัดก็จะได้รับ เชื้อและเป็นไข้สุกใสได้ แต่ควรระวังไม่อยู่ใกล้คลุกคลีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ในระหว่างป่วย
แต่ในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดแบบแพร่กระจายอาจสามารถแพร่เชื้อได้ทางลมหายใจได้ด้วย
การรักษา
การรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ เนื่องจากโรคงูสวัด สามารถหายเองได้เมื่อผู้ป่วยมีภูมิต้านทานดี โดยพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในบางครั้งผื่นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเป็นหนอง การใช้ยาปฎิชีวนะแบบทาหรือรับประทาน จะมีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุหรืออายุมากกว่า 50 ปี ผู้ทีที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมากหรือมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่แรกที่มีผื่นจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสแบบปรับประทานร่วมด้วยคือยา อะไซโคลเวีย ครั้งละ 800มก. วันละ 5 ครั้งทุก 4 ชั่วโมง (เว้นมื้อดึก 1 มื้อ) การให้ยาภายใน 48-72 ชั่วโมง หลังเกิดอาการจะมีประโยชน์ในการลดความรุนแรงของโรค และช่วยให้หายเร็วขึ้น รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังได้
ในรายที่รุนแรงแบบแพร่กระจายหรือบริเวณตาแพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสในรูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำแทน ซึ่งผลการรักษาจะได้ประสิทธิภาพกว่ามาก และลดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา
ภาวะแทรกซ้อน
ที่พบบ่อยคือ อาการปวดตามแนวประสาทหลังเป็นงูสวัดโดยเฉลี่ยพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยงูสวัดพบได้ประมาณ ร้อยละ 50 ปีขึ้นไป และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุ 70 ปีขึ้นไป โดยยิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรงและนานผู้ป่วยจะมีอาการปวดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่แรก หรือเกิดขึ้นภายหลัง ผื่นหายหมดแล้วก็ได้มีลักษณะปวด ลึกๆ แบบปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา หรือปวดแปลบๆ เสียวๆ (เหมือนถูกมีดแทง) เป็นพักๆก็ได้ มักปวดเวลาถูกสัมผัสเพียงเบาๆ ปวดมากตอนกลางคืน หรือเวลาอากาศเปลี่ยนแปลงบางครั้งอาจรุนแรงมาก จึงต้องมาโรงพยาบาลเพื่อได้รับยาฉีดลดอาการปวดอาการปวดมักหายได้เอง (ร้อยละ50 หายเองภายใน 3 เดือน ร้อยละ 75 จะหาย เองภายใน 1 ปี) บางรายอาจปวดนานหลายปี โยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขึ้นบริเวณใบหน้า
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit