ปฏิบัติการนี้ได้รับการประสานงานโดยทีมงานประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordination Teams : ICT) ที่ตั้งปฏิบัติการในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย สัตว์ป่า ศุลกากร ตำรวจป่าไม้และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ รวมทั้งหน่วยงานระหว่างรัฐบาล ปฏิบัติการนี้ดำเนินการครอบคลุมทั้งประเทศต้นทาง ปลายทางและประเทศทางผ่าน โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย เส้นทางการลักลอบขนส่งข้ามแดน ตลอดจนวิธีการสืบสวน สอบสวนระหว่างหน่วยงาน เพื่อแสวงหาแนวทางยกระดับทักษะการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่าของแต่ละประเทศ โดยมีผู้ประสานงานองค์กรระดับชาติเป็นผู้นำ
ผลจากปฏิบัติการคอบบร้า ครั้งที่ 3 ทำให้สามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยมากกว่า 300 คน รวมไปถึงการจับตัวการสำคัญและจับกุมการซื้อขายสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมายมากกว่า 600 ครั้ง ซึ่งสามารถโยงไปถึงเครือข่ายการก่ออาชญากรรมและกิจกรรมต่างๆ โดยสิ่งของผิดกฎหมายที่จับกุมได้ อาทิ งาช้างมากกว่า 12 เมตริกตัน นอแรด 119 ชิ้น ไม้เนื้อแดง 10 เมตริกตัน และเต่าดำ จำนวน 344 ตัว นอกจากนี้ยังยึดอาวุธปืนและกระสุนได้อีกจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นคือการจับกุมงาช้าง 4.3 ตัน (หนึ่งในการขนส่งงาช้างที่ใหญ่ที่สุด) ในประเทศไทย โดยจับกุมได้ระหว่างการขนส่งจากสาธารณรัฐคองโกไปยังสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว และอีกหนึ่งอาทิตย์ถัดมา มีการจับกุมงาช้างผิดกฎหมายจำนวน 3.1 ตันจากเคนย่า ทั้งนี้ ยังมีการจับกุมงาการค้าขายงาช้างผิดกฎหมายอีกหลายครั้ง ทั้งในสิงคโปร์ จำนวน 3.7 ตัน, โมซัมบิค จำนวน 1.3 ตัน และอูกานดาจำนวน 0.6 ตัน นอกจากนี้ ยังมีการจับกุมครั้งสำคัญอื่นๆ ได้แก่ นอแรด จับกุมได้จำนวน 77 ชิ้นในโมซัมบิค เวียดนามจำนวน 31 ชิ้น นามิเบีย จำนวน 14 ชิ้นและเคนยาจำนวน 4 ชิ้น การจับกุมเกล็ดของตัวนิ่ม ในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ยังมีการจับกุมหอยเป๋าฮื้อ จำนวน 8,300 หน่วยและหนึ่งตันในแอฟริกาใต้ ในขณะที่พบวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นกระดูกเสือในอินเดีย
ทั้งนี้ ในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เรือความเร็วสูงได้ทำการยึดสัตว์ผิดกฎหมาย ได้แก่ เต่าที่ยังมีชีวิต สัตว์เลื้อยคลาน แมงมุม เกล็ดของตัวนิ่มจำนวน 240 กิโลกรัมและจะงอยปากของนกเงือกจำนวน 10 กิโลกรัม ในสหราชอาณาจักร มีการจับกุมสินค้าต้องห้ามซึ่งได้ระบุไว้ในอนุสัญญาไซเตส จำนวน 243 ชิ้น ได้แก่ ยาเสพติดหลายชนิด อาวุธ ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ในเยอรมนี มีการจับกุมสิ่งของผิดกฎหมายมากกว่า 110 ครั้ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับยาแผนโบราณ และในออสเตรีย มีการจับกุมการขนส่งยาที่ผิดกฎหมายที่มีส่วนประกบของ Aloe ferox ซึ่งเป็นพืชที่ระบุไว้ในอนุสัญญาไซเตส ภาคผนวกที่ 2
ในการจับกุม พบผู้ต้องสงสัยที่เป็นตัวการใหญ่ 8 คน โดยหนึ่งในผู้ต้องสงสัยมีเชื้อสายจีนซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับคดีลักลอบนำเข้านอแรดที่ใหญ่ที่สุดในนามิเบีย การลอบฆ่าช้างในอินเดีย, อีก 2 คนมีเชื้อสายจีน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจับกุมนอแรดจำนวน 1.3 ตันและ 65 ชิ้น, ชาวเวียดนามอีก 4 คน ยึด 12 แตรแรดในประเทศโมซัมบิก และอีก 6 ผู้ต้องสงสัยที่สำคัญถูกจับกุมในประเทศเคนยา เกี่ยวพันกับการยึดงาช้าง 3.1 ตันในประเทศไทยและ 3.7 ตันในประเทศสิงคโปร์ ขณะที่มีตัวการใหญ่ 2 คนที่มีส่วนร่วมในกรณีเหล่านี้เป็นผู้ลี้ภัย และในประเทศอินเดีย มี 3 ผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมในการเชื่อมต่อกับความครอบครองของกระดูกเสือ
นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้กล่าวชื่นชมผลความสำเร็จของปฏิบัติการคอบบร้า ครั้งที่ 3 และกล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ให้ความสำคัญกับเรื่องคดีสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จึงได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของความร่วมมือกับ ASEAN-WEN LEEO ในการเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านการสืบสวน สอบสวน การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฏหมาย
จากจำนวนคดีมากมายที่สามารถจับกุมได้ ยิ่งทำให้ทาง DSI ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่ามากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะหลายคดีที่พบในระหว่างปฏิบัติการครั้งนี้ มีความซับซ้อนและต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ ตลอดจนต้องอาศัยความร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ และจากการที่ได้เรียนรู้ในปฏิบัติการครั้งนี้ DSI มั่นใจและพร้อมที่จะร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสัตว์ป่าและการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนร่วมกับทาง ASEAN-WEN LEEO
พันตำรวจเอก ธีรุตน์เทวัญ มังคละวัชร์ ผู้กำกับฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ทาง บก.ปทส.มีบทบาทหน้าที่โดยตรงด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วราชอาณาจักร ดูแลเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่อง และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในปฏิบัติการครั้งนี้ บก.ปทส. ได้ทำงานประสานกับ ASEAN-WEN LEEO ทำให้สามารถจับกุมคดีลักลอบค้าไม้พะยูงและงาช้างได้ ซึ่งปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงเป็นประเด็นสำคัญในประเทศไทย ที่ทางคณะกรรมการมรดกโลกแสดงความเป็นห่วง เพราะถือเป็นภัยคุกคามสำคัญที่อาจกระทบต่อการพิจารณาบัญชีเสี่ยงภาวะอันตราย รวมทั้งปัญหาการลักลอบค้างาช้าง ที่ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหา
ร้อยตำรวจเอกวัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ ประธานเครือข่ายปฏิบัติการคอบบร้า ครั้งที่ 3 และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (ASEAN-WEN LEEO) กล่าวเพิ่มเติมว่า "ความสำเร็จของปฏิบัติการครั้งนี้เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นของหน่วยงานพันธมิตรทั้งหมดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองและร่วมกันแก้ไขปัญหาการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย ทั้งจากประเทศที่เป็นแหล่งผลิต ประเทศทางผ่านและประเทศผู้บริโภค พร้อมกล่าวย้ำว่า "เราขอประกาศจุดยืนในการมุ่งปราบปรามอาชญากรรมสัตว์ป่าอย่างจริงจัง โดย ณ วันนี้เรามีเครือข่ายที่เข้มแข็ง และระบบในการติดตาม ตรวจสอบที่ดีเยี่ยม”ท้ายสุด นาย Bonaventure Ebayi ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจตามข้อตกลงลูซาก้า (LATF) ได้แสดงความยินดีกับผลของปฏิบัติการคอบบร้า ครั้งที่ 3 และกล่าวว่า เป็นรูปแบบที่ควรจะพัฒนาและได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นจากรัฐบาลและประชาคมระหว่างประเทศ และย้ำว่า ทาง LATF มีความมั่นใจกับปฏิบัติการคอบบร้าว่าด้วยเงินทุนที่ได้จากประชาคมโลกจะสร้างรูปแบบที่แข็งแกร่งสำหรับการดำเนินการบังคับใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงความร่วมมือแอฟริกาและเอเชียจะชนะในสงครามต่อต้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit