ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจากผู้ป่วยเกือบ 17,200 รายที่ได้ลงทะเบียนในการวิจัย Global Anticoagulant Registry in the Field - Atrial Fibrillation (GARFIELD-AF) ยืนยันว่า ความล้มเหลวในการควบคุมการแข็งตัวของเลือดด้วยสารต้านวิตามินเค (VKA) และระดับความเสี่ยงที่สูงนั้น มีความเกี่ยวเนื่องกับแนวโน้มการเสียชีวิตและการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ AF ชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (non-valvular) ผลการค้นพบเหล่านี้ได้รับการเปิดเผยในการกล่าวนำเสนอสองรอบที่การประชุม 2015 Congress of the International Society on Thrombosis and Haemostasis (ISTH) ในวันนี้
“ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในการวิจัย GARFIELD-AF Registry ต่างต้องรับมือกับภาระอันหนักหน่วงของโรค ในช่วงหนึ่งปีแรกหลังจากที่ได้รับวินิจฉัย” ศาสตราจารย์อาเจย์ คัคคาร์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์แห่ง University College London และผู้อำนวยการสถาบัน Thrombosis Research Institute กล่าว “ข้อมูลที่เพิ่งได้รับการนำเสนอจากการวิจัย GARFIELD-AF นั้น ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงประโยชน์ของการควบคุมการแข็งตัวของเลือดอย่างมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีคุณสมบัติเหมาะสม”
การกล่าวนำเสนอในการประชุม ISTH ประกอบไปด้วย:
การประเมินความเสี่ยง (Risk Profile) และผลการศึกษาระยะเวลาหนึ่งปี ของผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ: ผลลัพธ์จาก GARFIELD-AF
อัตราการเกิดภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดสมอง/กระแสเลือด การเสียชีวิต และอาการเลือดออกรุนแรง หนึ่งปีภายหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ AF แบบ non-valvular ถูกนำไปวิเคราะห์ตามคุณลักษณะแนวฐานของผู้ป่วย และการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า:
ศักยภาพของการควบคุมสารต้านวิตามินเคและผลการศึกษาระยะเวลาหนึ่งปี: ภาพรวมทั่วโลกจาก GARFIELD-AF
การศึกษานี้ได้ดำเนินการวิเคราะห์ระยะเวลาที่อยู่ในช่วงการรักษา (TTR) ของค่า International Normalized Ratio (โดยใช้ช่วงเป้าหมายที่ 2.0-3.0) ในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ AF แบบ non-valvular ในแง่ของประชากรศาสตร์ สภาพแวดล้อมในการดูแลรักษา และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหนึ่งปี TTR เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของการควบคุม VKA และอาจนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์ โดยรายงานชี้นำจาก European Society of Cardiology เสนอค่า TTR ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 70%[1] ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า:
รายงานวิเคราะห์ GARFIELD-AF ใหม่เหล่านี้ อ้างอิงกับข้อมูลจาก Cohorts 1 และ 2 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ป่วยทั้งสิ้น 17,168 รายที่ลงชื่อสมัครระหว่างปี 2553 และ 2556
GARFIELD-AF เป็นโครงการวิจัยเชิงวิชาการอิสระที่ริเริ่มโดยคณะกรรมการกำกับดูแลระหว่างประเทศชุดหนึ่งซึ่งอยู่ในการอุปถัมภ์ของ Thrombosis Research Institute (TRI) ในลอนดอน สหราชอาณาจักร ปัจจุบัน GARFIELD-AF รับผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF จำนวนกว่า 40,000 รายใน 35 ประเทศ ส่งผลให้โครงการนี้เป็นหนึ่งในการศึกษาเชิงสังเกตที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการรักษาโรคนี้ และด้วยเหตุที่การรับสมัครผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ Cohort 5 กำลังจะเริ่มต้นขึ้น ในที่สุดการศึกษานี้จะมีจำนวนผู้ป่วยรวมถึง 57,000 คน
เกี่ยวกับ GARFIELD-AF Registry
GARFIELD-AF เป็นการศึกษาป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ในรูปแบบการวิจัยร่วมระหว่างสถาบันระดับนานาชาติและเป็นการวิเคราะห์เชิงสังเกตแบบไปข้างหน้า (prospective) ด้วยการติดตามผู้ป่วยจำนวน 57,000 ราย จากสถาบันอย่างน้อย 1,000 แห่งใน 35 ประเทศในทวีปอเมริกา ยุโรปตะวันออกและตะวันตก เอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย การเริ่มต้นการศึกษานี้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับจุดเริ่มต้นของยุคการใช้ Non-vitamin K antagonist anticoagulant (NOAC) ในการรักษาภาวะ AF
ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับภาวะ AF นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่รวบรวมได้จากการทดลองทางคลินิกที่มีกลุ่มควบคุม ทั้งนี้ แม้การประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแนวทางการรักษาใหม่ๆจะมีความจำเป็น แต่การทดลองเหล่านี้ไม่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติการวิจัยประจำวัน และดังนั้น จึงยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการจัดการโรคและภาระของโรคในชีวิตจริง GARFIELD-AF จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดต่อการเกิดเลือดออกและลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดที่พบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมทั้งช่วยให้ตัวแทนและกลุ่มผู้ป่วยที่มีความหลากหลายและประชากรที่แตกต่างกันสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นถึงโอกาสที่เป็นไปได้ในการพัฒนาการรักษาและผลลัพธ์ทางคลินิก การศึกษาวิจัยนี้จะช่วยให้แพทย์และระบบบริการสุขภาพนำเอานวัตกรรมมาใช้อย่างเหมาะสมเพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยและประชากร
โครงการ GARFIELD-AF เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2552 โดยประกอบด้วยสี่โครงสร้างหลักที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคำอธิบายภาวะ AF จากตัวแทนที่เข้าร่วมโครงการนั้นจะมีความครอบคลุม สำหรับโครงสร้างหลักดังกล่าวประกอบไปด้วย:
ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการต้องได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (non-valvular) ภายในหกสัปดาห์ก่อนที่จะเข้าร่วม และต้องมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย เช่น ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มที่มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนอันเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง โดยการระบุปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ที่คะแนนความเสี่ยงที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ผู้ป่วยอาจจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นกลยุทธ์และความล้มเหลวในการรักษาในปัจจุบันและอนาคตจึงสามารถเข้าใจได้อย่างเหมาะสมตามการประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย
โครงการ GARFIELD-AF Registry ได้รับการสนับสนุนโดยเงินทุนวิจัยจาก Bayer Pharma AG ซึ่งไม่มีข้อจำกัดหรือผูกมัด
ภาระของโรค AF
ทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF สูงถึง 2%[2] เป็นผู้ป่วยในยุโรปประมาณ 6 ล้านคน[3] ในสหรัฐ 3-5 ล้านคน [4][5] และในจีนถึง 8 ล้านคน[6][7] มีการประมาณการกันว่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่าภายในปี 2593 ตามอายุที่เพิ่มขึ้นของประชากร ภาวะ AF ทำให้ความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นห้าเท่า และหนึ่งในห้าของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมดมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภทนี้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะ AF จะถึงแก่ชีวิต และในกรณีที่ไม่เสียชีวิต ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะพิการสูงกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากสาเหตุอื่นๆ และมีโอกาสพิการในระดับที่รุนแรงกว่า นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มกลับมาเป็นโรคสูงกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆด้วย ดังนั้น ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะ AF จึงมากกว่าถึงสองเท่า ขณะที่ค่ารักษาเพิ่มขึ้น 50%[8]
โรค AF เกิดขึ้นเมื่อหัวใจห้องบนปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่ไม่เข้ากัน ทำให้หัวใจห้องบนเต้นเร็วเกินไปและไม่เป็นจังหวะ ทำให้เลือดสูบฉีดไม่สมบูรณ์[9] ดังนั้น เลือดจึงสะสม จับตัวเป็นลิ่ม และทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุโรคหัวใจที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในโลก[10] หากลิ่มเลือดหลุดออกจากหัวใจห้องบน ลิ่มเลือดอาจไปอุดกั้นหลอดเลือดแดงตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งรวมถึงสมอง ลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงในสมองอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดย 92% ของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองมีสาเหตุมาจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด[10] ผู้ที่มีภาวะ AF ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อ่อนเพลียเรื้อรัง และปัญหาการเต้นของหัวใจแบบอื่นๆ[11] โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตและทุพพลภาพระยะยาวในทั่วโลก โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ 6.7 ล้านคน[12] และพิการตลอดชีวิต 5 ล้านคน[13]
เกี่ยวกับ TRI
TRI เป็นมูลนิธิการกุศลและสถาบันวิจัยสหวิชา ซึ่งอุทิศเพื่อการศึกษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดและโรคที่เกี่ยวข้อง ภารกิจของ TRI คือการนำเสนองานวิจัยและการศึกษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่มึความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆในการป้องกันและรักษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการรักษา ยกระดับผลการรักษา และลดค่ารักษาพยาบาล TRI เป็นสมาชิกของ University College London Partners Academic Health Science System
สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tri-london.ac.uk/garfield
1. Camm AJ, Lip GY, De Caterina R, et al. 2012 focused update of the ESC Guidelines for the management of atrial fibrillation: an update of the 2010 ESC Guidelines for the management of atrial fibrillation. Developed with the special contribution of the European Heart Rhythm Association. Eur Heart J. 2012;33(21):2719-47.
2. Davis RC, Hobbs FD, Kenkre JE, et al. Prevalence of atrial fibrillation in the general population and in high-risk groups: the ECHOES study. Europace 2012; 14(11):1553-9. 6/16/15. Available at: http://europace.oxfordjournals.org/content/14/11/1553.long
3. The Lancet Neurology. Stroke prevention: getting to the heart of the matter. Lancet Neurol 2010; 9(2):129. 6/16/15. Available at:http://www.atrialfibrillation.org.uk/files/file/Articles_Medical/Lancet%20Neurology-%20getting%20to%20the%20heart%20of%20the%20matter.pdf
4. Naccarelli GV, Varker H, Lin J, et al. Increasing prevalence of atrial fibrillation and flutter in the United States. Am J Cardiol 2009; 104(11):1534-9.
5. Colilla S, Crow A, Petkun W, et al. Estimates of current and future incidence and prevalence of atrial fibrillation in the U.S. adult population. Am J Cardiol 2013; 112(8):1142-7. 6/16/15. Available at: http://www.ajconline.org/article/S0002-9149(13)01288-5/fulltext
6. Zhou Z, Hu D. An epidemiological study on the prevalence of atrial fibrillation in the Chinese population of mainland China. J Epidemiol 2008; 18(5):209-16. 6/16/15. Available at: https://www.jstage.jst.go.jp/article/jea/18/5/18_JE2008021/_pdf
7. Hu D, Sun Y. Epidemiology, risk factors for stroke, and management of atrial fibrillation in China. JACC 2008; 52(10):865-8. 6/16/15. Available at: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0735109708021141
8. European Heart Rhythm Association; European Association for Cardio-Thoracic Surgery, Camm AJ, Kirchhof P, Lip GY, et al. Guidelines for the management of atrial fibrillation: the Task Force for the Management of Atrial Fibrillation of the European Society of Cardiology (ESC). 8/22/14. Eur Heart J 2010; 31(19):2369-429. 6/16/15. Available at: http://eurheartj.oxfordjournals.org/content/early/2010/09/25/eurheartj.ehq278.full
9. National Heart, Lung, and Blood Institute. What is Atrial Fibrillation? 6/16/15. Available at: http://www.nhlbi.nih.gov/health/dci/Diseases/af/af_what.html
10. International Society on Thrombosis and Haemostasis. About World Thrombosis Day. Available at: http://www.worldthrombosisday.org/about/
11. American Heart Association. Why Atrial Fibrillation (AF or AFib) Matters. 8/22/14. Available at: http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Arrhythmia/AboutArrhythmia/Why-Atrial-Fibrillation-AF-or-AFib-Matters_UCM_423776_Article.jsp
12. World Health Organization. The top 10 causes of death. Fact sheet N°310. Updated May 2014. 6/16/15. Available at: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs310/en/
13. World Heart Federation. The global burden of stroke. 6/16/15. Available at: http://www.world-heart-federation.org/cardiovascular-health/stroke/
แหล่งข่าว: Thrombosis Research Institute (TRI)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit