1. รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 เมษายน 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,775,710.53 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.46 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 45,191.30 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 43,306.28 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินมียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 6,828.53 ล้านบาท เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและการเบิกจ่ายเงินกู้มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ ซึ่งในเดือนเมษายน 2558 มีการกู้เงินที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการออกหุ้นกู้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและไถ่ถอนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในเดือนพฤษภาคม 2558
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 3,777.27 ล้านบาทเนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หนี้หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างลดลง 1,166.24 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย และสำนักงานธนานุเคราะห์
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558 เท่ากับ 5,775,710.53 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ5,430,695.42 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 94.03 และหนี้ต่างประเทศ 345,015.11 ล้านบาท (ประมาณ 10,421.92 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 5.97 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหากเปรียบเทียบกับ เงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 161,103.29 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 30 เมษายน 2558) หนี้ต่างประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.46 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ
โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,610,347.45 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.14 และมีหนี้ระยะสั้นเพียง 165,363.08 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.86
2. รายงานผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประจำเดือนเมษายน 2558สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 78,044.78 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาล จำนวน 63,280.84 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 14,763.94 ล้านบาทv การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 63,280.84 ล้านบาท ประกอบด้วย
ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล จำนวน 43,373.66 ล้านบาท
การเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐบาล จำนวน 193.60 ล้านบาท ประกอบด้วยการเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 122.32 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง และการเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 71.28 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนน
นนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 40.21 ล้านบาท และโครงการรถไฟสายสีแดงของการรถไฟ แห่งประเทศไทย จำนวน 31.07 ล้านบาท
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 14,440 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) โดยการกู้เงินระยะสั้นการชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 5,273.58 ล้านบาท แบ่งเป็น
การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 619 ล้านบาท โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพกู้เงินในประเทศ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและดำเนินกิจการอื่นๆ
การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 8.94 ล้านบาท โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เบิกจ่ายเงินกู้เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีม่วง
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 14,136 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 5,181 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 8,955 ล้านบาท
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit