ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนในครั้งนี้ มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ โดยเฉพาะเทคโนโลยี 3 มิติ ที่นำเสนอเนื้อหาต่างๆเกี่ยวกับอาเซียน ทั้งประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต การแต่งกาย และอาหาร ซึ่งจากการประชุมตัวแทนจากทุกประเทศยินดีให้การสนับสนุนกระทรวงวัฒนธรรม ในด้านการปรับเนื้อหาสาระให้มีความถูกต้องตามแบบฉบับของประเทศนั้นๆ เช่น การใช้ภาษา การเลือกชุดประจำชาติ รวมถึงศิลปวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงหรือวัฒนธรรมร่วม ที่เป็นการแสดง เพลง อาหาร เป็นต้น ขณะเดียวกัน กระทรวงวัฒนธรรมยังมีแนวทางในการเปิดพื้นที่ ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนให้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมถาวร โดยสามารถให้ทางสถานทูตประเทศต่างๆในอาเซียน เข้ามาจัดกิจกรรมการแสดง การสาธิต หรือการสัมมนาร่วมกันได้ อีกทั้งขอให้ประเทศอาเซียน คัดเลือกชิ้นงานศิลปหัตถกรรม ที่ทรงคุณค่าและเป็นสัญลักษณ์ของประเทศนั้นๆ มาร่วมแสดงเป็นชิ้นงานถาวรภายในศูนย์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียน รวมถึงการดำเนินงานตามภารกิจด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมคาดว่าหลังจากการเปิดศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนแล้ว จะทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความสนใจมากขึ้น รวมถึงสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ ซึ่งกำลังตื่นตัวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเชื่อว่าศูนย์ฯ นี้ จะสามารถสร้างปฏิกิริยาร่วมและดึงดูดความสนใจให้กับผู้ที่เข้ามาชมได้เป็นอย่างดีผ่านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย อาทิ ห้องสมุดอิเล็คทรอนิคส์ (E-Library) และและถนนวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Street) โดยสามารถเลือกหัวข้อต่างๆผ่านระบบสามมิติ อาทิ ชุดแต่งกายประจำชาติต่างๆในอาเซียน ภาษา อาหาร และจะมองเห็นภาพตัวเองในมิติของความเป็นอาเซียนได้อีกด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit