กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัว รางวัลไพรม์ มินิสเตอร์ อินดัสทรี อวอร์ด 2558 เฟ้นหาต้นแบบโรงงานฯ สร้างโมเดลอุตสาหกรรมคุณภาพ

08 May 2015
กระทรวงอุตสาหกรรม ชู 7 องค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ผู้นำ AEC หวังยกระดับจีดีพีภาคการผลิตไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัว รางวัลไพรม์ มินิสเตอร์ อินดัสทรี อวอร์ด 2558 เฟ้นหาต้นแบบโรงงานฯ สร้างโมเดลอุตสาหกรรมคุณภาพ

กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวรางวัลไพรม์ มินิสเตอร์ อินดัสทรี อวอร์ด ประจำปี 2558 (The Prime Minister Industry Award 2015) รางวัลสูงสุดของภาคอุตสาหกรรมไทย ซึ่งมอบให้กับองค์กรที่มีระบบบริหารจัดการผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแบ่งรางวัลออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1.รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม 1 รางวัล และ 2.รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 7 ประเภท อันได้แก่ 1.ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2.ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3.ประเภทการบริหารความปลอดภัย 4.ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 5.ประเภทการจัดการพลังงาน 6.ประเภทการจัดการโลจิสติกส์ และ 7.ประเภทการบริหารอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมเข้ารับรางวัลจากนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติประวัติและเป็นต้นแบบในการสร้างแรงกระตุ้น ให้กับสถานประกอบการอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เดินหน้าพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในภาพรวมจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการมุ่งเป้าเจาะตลาดใน 10 ประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ซึ่งมีประชากรรวมกันทั้งสิ้นกว่า 600 ล้านคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) รวมกันสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 62 ล้านล้านบาท โดยจีดีพีของประเทศไทยอยู่ที่ 11 ล้านล้านบาท ซึ่งร้อยละ 60 ของจีดีพี หรือกว่า 7 ล้านล้านบาท มาจากการส่งออก โดยตลาดอาเซียนมีมูลค่าสูงสุดคือ ร้อยละ 25 ดังนั้นหากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยสามารถพัฒนายกระดับขีดความสามารถได้ครบ 7 องค์ประกอบข้างต้น คือ 1.การเพิ่มผลผลิต โดยการเพิ่มจำนวนและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มรายได้เข้าสู่บริษัท 2.การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยการลดผลกระทบสู่สิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน 3.การบริหารความปลอดภัย โดยการสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงานให้ดีขึ้น 4.การบริหารงานคุณภาพ โดยการยกระดับขีดความสามารถในการบริหารงาน การจัดการ และการผลิต 5.การจัดการพลังงาน โดยการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุดเพื่อสนองนโยบายรัฐและลดต้นทุนการผลิต6.การจัดการโลจิสติกส์ โดยการจัดการระบบขนส่งไปถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็วเพื่อความได้เปรียบทางการค้า และ7.การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการพัฒนาผู้ประกอบการในทุกๆ ด้าน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจผันผวน ในภาพรวมจะสามารถช่วยยกระดับจีดีพีภาคการผลิตไทยให้สูงขึ้นได้ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมถือเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยสร้างมูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมถึง ร้อยละ 37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีการจ้างงานมากกว่า 6 ล้านคน ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้ทัดเทียมนานาชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงจัดให้มีการมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2558 โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน แบ่งรางวัลออกเป็น 2 ระดับ คือ 1.รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม 1 รางวัล และ 2.รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 7 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภทการเพิ่มผลผลิต 2.ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3.ประเภทการบริหารความปลอดภัย 4.ประเภทการบริหารงานคุณภาพ 5.ประเภทการจัดการพลังงาน 6.ประเภทการจัดการโลจิสติกส์ และ 7.ประเภทการบริหารอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ให้กับองค์กร ที่ประสบผลสำเร็จสูงสุดระดับประเทศ โดยสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลจะต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อการันตีว่าเป็นสถานประกอบการมีมาตรฐานชั้นนำระดับประเทศ พร้อมเข้ารับมอบรางวัลจากนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติประวัติและนำรางวัลนี้ไปใช้ประโยชน์กับองค์กรในด้านต่างๆ ทั้งด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาธุรกิจ และการพัฒนาสังคม รวมทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สถานประกอบการอุตสาหกรรมอื่นๆ ขณะเดียวกัน ยังสามารถนำไปใช้เป็นใบเบิกทางด้านการตลาด การสร้างลักษณ์ให้กับองค์กร ตลอดจนยกระดับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ยิ่งขึ้นต่อไปดร.อรรชกา กล่าวต่อว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้แม้การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะถือเป็นโอกาสในการเพิ่มสัดส่วนรายได้เข้าสู่ประเทศไทย เพราะอาเซียนถือเป็นหนึ่งในตลาดใหญ่ของโลก มีประชากรรวมกันทั้งสิ้นกว่า 600 ล้านคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) รวมกันสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 62 ล้านล้านบาท โดยจีดีพีของประเทศไทยอยู่ที่ 11 ล้านล้านบาท ซึ่งร้อยละ 60 ของจีดีพี หรือกว่า 7 ล้านล้านบาท มาจากการส่งออก โดยตลาดอาเซียนมีมูลค่าสูงสุดคือ ร้อยละ 25 แต่อย่างไรก็ตามโอกาสและแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ยังต้องอาศัยปัจจัยจากทั้งภายในและภายนอกประเทศมากำหนดทิศทาง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะแม้ว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภายในประเทศ ตั้งแต่เดือน ม.ค. – มี.ค. ปี 2558 จะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การวางมาตรการและกลยุทธ์ระยะสั้นเพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์เฉพาะหน้า ระยะกลางเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่ได้โดยไม่ประสบปัญหาขาดทุน และระยะยาวเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืน ยังถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วประเทศไทยไม่ควรมองข้ามดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะที่มีบทบาทและหน้าที่หลักในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทย ให้มีศักยภาพการแข่งขันทัดเทียมกับนานาชาติ จึงต้องการให้ผู้ประกอบการไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) เพื่อชิงส่วนแบ่งทางการตลาดและเพิ่มสัดส่วนของรายได้เข้าสู่ประเทศ โดยอาศัยองค์ประกอบที่สะท้อนจากรางวัลทั้ง 7 ประเภท ซึ่งในภาพรวมจะสามารถช่วยยกระดับจีดีพีภาคการผลิตไทยให้สูงขึ้นได้อย่างยั่งยืน คือ1. การเพิ่มผลผลิต โดยการเพิ่มจำนวนและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้เข้าสู่บริษัท2. การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการลดผลกระทบสู่สิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชม เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน3. การบริหารความปลอดภัย โดยการสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงานให้ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในช่องทางสำคัญที่ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ4. การบริหารงานคุณภาพ โดยการยกระดับขีดความสามารถในการบริหารงาน การจัดการ และการผลิต ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ

5. การจัดการพลังงาน โดยการใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งไม่เพียงช่วยประเทศชาติลดใช้พลังงานตามนโยบายรัฐบาล แต่ในขณะเดียวกันยังถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลดต้นทุนในการผลิตให้น้อยลง

6. การจัดการโลจิสติกส์ โดยการจัดการระบบขนส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างจุดแข็งและความได้เปรียบในทางการค้า

7. การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการพัฒนาให้ผู้ประกอบการมีความรอบรู้ในทุกๆ ด้าน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งการเป็นผู้นำ มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ มีการบริหารการตลาด การบริหารทรัพยากรบุคคล การบัญชีและการเงิน เทคโนโลยีและสารสนเทศ และมีธรรมาภิบาล

สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่สนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2558 สามารถเข้าไปดาวน์โหลดใบสมัครที่ www.dip.go.th และจัดส่งใบสมัครมายัง ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักบริหารกลาง ชั้น 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หรืออุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ หรือศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1-11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.facebook.com/pmindustryaward และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-202-4461 , 02-202-4522 , 02-202-4413

กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัว รางวัลไพรม์ มินิสเตอร์ อินดัสทรี อวอร์ด 2558 เฟ้นหาต้นแบบโรงงานฯ สร้างโมเดลอุตสาหกรรมคุณภาพ กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัว รางวัลไพรม์ มินิสเตอร์ อินดัสทรี อวอร์ด 2558 เฟ้นหาต้นแบบโรงงานฯ สร้างโมเดลอุตสาหกรรมคุณภาพ