“ทุกวันนี้ เราอยู่ในยุคของการปฏิรูปจากสังคมแบบดั้งเดิมไปสู่สังคมแห่งข้อมูล” มร. วิลเลียม ซวี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์การตลาดของหัวเว่ย กล่าว “วิธีการทำงาน การใช้ชีวิต และการเรียนรู้ของเราแตกต่างไปจากที่เคยเป็นมาในอดีตอย่างมากมาย คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับการพึ่งพาอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยสิ่งที่พวกเขาต้องการสามารถสรุปได้เป็นคำว่า ROADS คือ R-เรียลไทม์ O-ออน-ดีมานด์, A-ออล-ออนไลน์, D-DIY และ S-โซเชี่ยล” ซึ่ง มร. ซวี มองว่า ROADS จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนรูปแบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์ค รูปแบบการปฏิบัติการ และวิธีการทำธุรกิจ และหัวเว่ยจะยึดเทรนด์นี้เพื่อนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมและช่วยลูกค้าให้ปรับตัวรับมือกับความต้องการนี้
ในงานประชุม มร. อีริค ซวี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร หมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย อธิบายถึงกลยุทธ์การให้ความสำคัญกับการบริการเป็นอันดับแรกของบริษัทว่า “เราได้กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจโทรคมนาคมของเราใหม่ แทนที่จะให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์เหนือการบริการ ตอนนี้เราจะเน้นให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน โดยจะลงทุนด้านบริการให้มากขึ้นเพื่อจัดหาโซลูชั่นเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในช่วงการพัฒนาระยะต่างๆ กัน เรามุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินการผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างราบรื่น เป็นผู้บูรณาการรายใหญ่ที่สนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ICT ของผู้ประกอบการโทรคมนาคม และเป็นผู้นำด้านการวางแผนเน็ตเวิร์ค (Network Planning), การใช้เน็ตเวิร์คให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Network Optimization) รวมไปถึงการบริหารประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience Management) เราจะเป็นผู้นำในการจัดการบริการในอุตสาหกรรมให้ทันสมัย ยกระดับจุดยืนของอุตสาหกรรมจากเน็ตเวิร์คไปสู่บริการและประสบการณ์ และมุ่งเน้นเปลี่ยนจากการลดค่าใช้จ่ายการให้บริการ (OPEX) ไปสู่การสร้างคุณค่าแทน”
ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ความร่วมมือและสนับสนุนกันจากอุตสาหกรรมต่างๆ จึงเป็นแนวโน้มใหม่ที่เกิดขึ้น หัวเว่ยได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่ง ผ่านนวัตกรรมความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ ในอุตสาหกรรมไอซีที หัวเว่ยแสดงบทบาทให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในการผลักดันอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้า และในงานประชุมครั้งนี้ มร. ไรอัน ติง หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของหัวเว่ย ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ในโลกที่การเชื่อมโยงสื่อสารดีขึ้น จะมีแอพพลิเคชั่นเฉพาะอุตสาหกรรมเกิดขึ้นหลายสิบล้านแอพพลิเคชั่น การเปิดกว้างรับสิ่งใหม่และนวัตกรรมจะเป็นสิ่งสำคัญ หัวเว่ยจะให้ความสำคัญในด้านโครงสร้างพื้นฐานเน็ตเวิร์ค โครงสร้างด้านไอที และโครงสร้างดิจิทัล และจะร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาโซลูชั่นที่ได้เปรียบในการแข่งขัน” หัวเว่ยยังมีส่วมร่วมอย่างจริงจังในการสร้างระบบนิเวศขององค์กรมาตรฐานหลายแห่ง และคอมมูนิตี้โอเพ่นซอร์สต่างๆ ซึ่งการมีส่วนร่วมนี้ทำให้อุตสาหกรรมไอซีทีเปิดกว้างมากขึ้น ด้วยวิธีนี้เอง จึงช่วยให้พันธมิตรหลายต่อหลายรายสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมบนแพลทฟอร์มแบบเปิดของหัวเว่ยได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายดาย ด้วยความพยายามนี้ หัวเว่ยจึงมีส่วนร่วมในการส่งเสริมระบบนิเวศโดยรวมให้เจริญเติบโตขึ้น
ในงานเดียวกัน หัวเว่ยยังได้เผยรายงาน Global Connectivity Index (GCI) ประจำปี 2558 ซึ่งปีนี้ได้เพิ่มจำนวนประเทศที่ได้รับการประเมินจาก 25 เป็น 50 ประเทศ และจำนวนดัชนีจาก 16 เป็น 38 ตัว ด้วยการเน้นการเชื่อมโยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มากกว่าในด้านโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว หัวเว่ยหวังที่จะจัดทำข้อมูลอ้างอิงอย่างมีวัตถุประสงค์และเป็นในเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้นสำหรับการวางแผนด้านไอซีทีระดับชาติ จากรายงาน GCI ประเทศสหรัฐอเมริกา สวีเดน และสิงคโปร์ ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสูงสุด และในการจัดอันดับของกลุ่ม 50 ประเทศที่ได้รับการสำรวจ จีนถูกจัดอยู่ในอันดับสองของกลุ่มเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาด้วยหลายเหตุผลสนับสนุน อาทิ เศรษฐกิจจากอินเทอร์เน็ตของจีนกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ตลาดอี-คอมเมิร์ซมีการเติบโตจากเดิมหลายเท่า และอุตสาหกรรมต่างๆ กำลังลงทุนในด้านคลาวด์คอมพิวติ้งและดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น นอกจากนี้ การวิเคราะห์จากรายงาน GCI ยังบ่งบอกได้ว่า การลงทุนด้านไอซีทีเพิ่มขึ้น 20% จะช่วยให้ GDP ของประเทศเติบโตขึ้น 1% และในขณะที่ความขาดแคลนด้านทรัพยากรเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา ความเชื่อมโยงสื่อสารจึงกลายเป็นกำลังสำคัญเบื้องหลังการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศมร. วิลเลียม ซวี กล่าวเสริมว่า “ยุคแห่งการเชื่อมโยง (Connectivity) จำนวนมหาศาลกำลังจะมาถึง และจะส่งอิทธิพลต่อทุกประเทศ ทุกอุตสาหกรรม ทุกองค์กร และส่งผลถึงทุกๆ คนด้วย การเชื่อมโยงที่มีการพัฒนาและความร่วมมือแบบเปิดกว้างจะยกระดับโลกาภิวัตน์ให้ก้าวล้ำยิ่งขึ้นไปอีก หัวเว่ยจะนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ทรัพยากรของตนทั่วโลกในทุกๆ ด้าน และร่วมทำงานกับลูกค้าและพันธมิตรอย่างเปิดกว้าง เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมและองค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนผ่านด้านไอซีทีไปได้อย่างราบรื่น ด้วยความร่วมมืออย่างเปิดกว้างนี้ หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งเพื่อโลกที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารที่ดีขึ้น และช่วยให้อุตสาหกรรมไอซีทีมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน”ผู้สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.huawei.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของหัวเว่ยได้ทางhttp://www.linkedin.com/company/Huaweihttp://www.twitter.com/Huaweihttp://www.facebook.com/Huaweihttp://www.google.com/+Huaweihttp://www.youtube.com/Huawei
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit