“ผู้นำไทยรวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจงใจหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะลงทุนในด้านเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำหรือไม่สร้างผลกระทบ อย่างเช่น พลังงานลมและแสงอาทิตย์ แต่ยังเลือกใช้ถ่านหินและนิวเคลียร์ที่มีต้นทุนสูง เสี่ยงภัยและสกปรก"
“ในยุคปัจจุบัน มันดูไม่น่าเชื่อที่ผู้นำทางการเมืองของเรายังคงเชื่อในข้ออ้างที่บิดเบือนเรื่อง “ถ่านหินสะอาด” ในขณะที่พลังงานนิวเคลียร์บีบบังคับผู้คนในประเทศและในภูมิภาคต้องแบกรับความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยไม่จำเป็น""รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต้องเน้นให้ความสำคัญในการลงทุนด้านการจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและไม่มีผลกระทบ และรวมถึงเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอย่างขนานใหญ่ แผน PDP2015 ยังเป็นแผนที่นำไปสู่การการทำลายสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงจากมลพิษ เช่น ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก และปรอท (Hg)”แผน PDP2015 ยังขัดกับนโยบายพลังงานของประเทศไทย (3) และยังขัดกับผลประโยชน์ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศและภูมิภาคอีกด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นข้อมูลเพียงด้านเดียวหนึ่งในวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในแผน คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจการไฟฟ้า รัฐบาลมักอ้างว่า แผน PDP2015 จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้(ลดลงร้อยละ 36.9 ตลอดระยะเวลา 22 ปีของแผนซึ่งนั่นเป็นเพียงข้อมูลแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดไม่ได้ลดลงแต่ในความเป็นจริงแล้วมันจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.98 ในปี 2579 (เปรียบเทียบกับปี 2556)“รัฐบาลไทยกำลังละเลยแผนการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Actions หรือNAMAs) ที่ได้ยื่นต่อเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา หากดำเนินการตามแผน PDP2015 ประเทศไทยจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายการลดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยจากภาคพลังงานและภาคการขนส่งร้อยละ 7-20 ภายในปี 2563 (4) ตามที่ตกลงไว้” นายธารากล่าวเสริมข้อเรียกร้องของกรีนพีซ1) ถอดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดรวมถึงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดออกจากแผน PDP2015 เพราะไม่มีความจำเป็นจากการที่กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองในแผน PDP2015 สูงเกินความจำเป็นถึงร้อยละ 40 และแทนการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าโดยใช้วิธีแบบบนลงล่าง(5)ด้วยการพยากรณ์จากล่างขึ้นบนซึ่งสามารถประเมินการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าตามความเป็นจริงในแต่ละภาคเศรษฐกิจ กิจการอุตสาหกรรมและผู้ใช้ในระดับครัวเรือน2) จัดทําและพิจารณาเปรียบเทียบภาพฉาย(scenario)ในกรณีต่างๆที่มีความเป็นไปได้ในกระบวนการทําแผนพีดีพีเพื่อให้สะท้อนถึงสมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับความไม่แน่นอนที่เป็นตัวแปร หรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจ แนวโน้มราคาเชื้อเพลิง ราคาคาร์บอน (ก๊าซเรือนกระจก) จากนั้นนําเอาแผนกรณีต่างๆ มาเปรียบเทียบความเสี่ยงและต้นทุนรวม จากนั้นมีกระบวนการสาธารณะเพื่อให้สังคมเลือกแผนที่มีต้นทุนต่ำสุดภายใต้ระดับความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่พอยอมรับได้จากภาพอนาคตหลากหลายที่อาจเกิดขึ้นได้3) ประเมินผลกระทบของโครงการโรงไฟฟ้าในกรณีที่โครงการตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีแผนที่จะนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเขื่อนพลังน้ำที่ตั้งอยู่ในชายแดนของสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมาร์ และ กัมพูชา ซึ่งเป็นการหลบเลี่ยงต่อกฏระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการตรวจสอบจากสาธารณะชน รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบด้านมลพิษจากโรงไฟฟ้าในแต่ละประเทศโดยมีสิทธิที่จะแสดงความเห็น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อคนไทยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษทางอากาศเป็นผลกระทบที่ไม่จำกัดขอบเขต โครงการเหล่านี้ควรจะต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการตรวจสอบจากภาคประชาสังคมในประเทศไทยหมายเหตุ(1) แผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan-พีดีพี) ของประเทศไทย เป็นแผนที่จัดทําข้ึนเป็นประจําโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แผนดังกล่าวเป็นแผนแม่บทสําหรับการลงทุนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศ ตัวแผนฯ จะกําหนดว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าแบบใดขึ้นบ้าง เป็นจํานวนเท่าไร ที่ไหน และเมื่อไร แผนพีดีพีมีนัยยะที่ค่อนข้างกว้างขวางโดยไม่เพียงแต่กําาหนดอนาคตของภาคพลังงาน ภูมิทัศน์ทางสังคมและส่ิงแวดล้อมของประเทศเท่าน้ัน หากยังส่งผลต่อประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ อีกด้วย(2) http://www.eppo.go.th/PDP_hearing/index.html(3) พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายหลักที่ควบคุมเรื่องพลังงานในประเทศไทย ตามพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว รัฐบาลไทยชุดต่างๆ ได้กําาหนดเป้าหมายเชิงนโยบายของกิจการพลังงานไว้ดังนี้- ความมั่นคงทางพลังงาน: จัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ •• การพึ่งพาพลังงาน: ลดการพึ่งพาพลังงานนําาเข้าจากต่างประเทศ- ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน: เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน- ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ: ลดความเข้มข้นของการใช้พลังงาน •• กระจายแหล่งและชนิดของเชื้อเพลิง- ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์- ลดผลกระทบจากการจัดหาพลังงาน- อัตราค่าบริการพลังงานที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผลสําาหรับผู้บริโภค(4) http://newsroom.unfccc.int/unfccc-newsroom/thailand-submits-nama/(5) การพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าแบบบนลงล่างอยู่บนสมมติฐานการพยากรณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ระยะสั้นและระยะยาวเป็นหลัก การพยากรณ์จากล่างขึ้นบนจะติดตามแนวโน้มในการบริโภคพลังงานตามกลุ่มผู้บริโภคตามแต่ละวิธีการใช้ไฟฟ้าโดยคํานึงถึงทางเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ประชากรและโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit