จากรายงานการสำรวจความปลอดภัยบนท้องถนนของโลกซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2556 พบว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนยังคงไม่ลดลง โดย การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนนยังคงเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเสียชีวิตในกลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-29 ปี ในขณะเดียวกัน เกือบร้อยละ 60 ของจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกเป็นบุคคลที่มีอายุระหว่าง 15-44 ปี และจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนนถนนกว่าครึ่ง เป็นผู้ที่ขับขี่รถยนต์โดยปราศจากความระมัดระวัง
ฟอร์ดได้ริเริ่มการจัดโปรแกรม DSFL ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เมื่อปี พ.ศ.2551 และนับตั้งแต่นั้นมา ฟอร์ดได้ให้การอบรมแก่ผู้ขับขี่รถยนต์ประมาณ 90,000 คน จาก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ทั้งนี้ จุดประสงค์หลักของโปรแกรม DSFL คือการอบรมให้ความรู้ด้านการขับขี่ปลอดภัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดชีวิตให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ โดยผ่านการฝึกอบรมในสถานการณ์เสมือนจริง รวมถึงการให้ข้อมูลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง พร้อมโปรแกรมที่ทันสมัยและสนุกสนาน
ฟอร์ด เอเชีย แปซิฟิกได้จัดโครงการ TTT ขึ้นเพื่ออบรมและให้แนวทางแก่เหล่าเทรนเนอร์โปรแกรม DSFL เพื่อความสามารถในการบริหารและจัดการกิจกรรมต่างๆ ของโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้โปรแกรม DSFL สามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยฟอร์ดได้จัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 นอกจากนี้ ฟอร์ดยังให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบของเทรนเนอร์ และการมุ่งเน้นในการให้คำแนะนำที่ได้มาตรฐานแก่ผู้เข้าร่วมอบรมจากหลากหลายประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก โดยตลอดระยะเวลา 7 ปีนับตั้งแต่เริ่มโปรแกรมให้การอบรมเป็นครั้งแรก ฟอร์ดได้ให้ความรู้และอบรมผู้ขับขี่รถยนต์ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกแล้วกว่า 90,000 คน
มร. แรนดี้ เบลเชอร์ หัวหน้าเทรนเนอร์โปรแกรมการอบรม DSFL ของสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการอบรมมากว่าสองทศวรรษ กล่าวว่า “โปรแกรมการฝึกอบรมระยะเวลา 2 วันที่จัดขึ้นในปีนี้ นอกจากจะเป็นการทบทวนความรู้ให้กับเหล่าเทรนเนอร์แล้ว ยังมีการเพิ่มข้อมูลใหม่ๆ ให้กับคู่มือโปรแกรมการอบรม DSFL อีกด้วย โดยการอบรมดังกล่าวมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งในด้านความปลอดภัยของคนเดินทางเท้า ผู้ขับขี่รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่รถยนต์ขนาดใหญ่ รวมถึงการเพิ่มความปลอดภัยให้กับการขับขี่บนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการควบคุมยานพาหนะ และความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากผู้ขับขี่ขาดสมาธิหรือร่างกายไม่พร้อมที่จะขับขี่ เป็นต้น”
ฟอร์ดได้นำสภาพแวดล้อมการขับขี่แบบเสมือนจริง รวมถึงความต้องการเฉพาะของผู้ขับขี่ในแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียมาประยุกต์ใช้ในระหว่างการอบรมแต่ละช่วง ยกตัวอย่างเช่น ฟอร์ดได้เพิ่มตัวอย่างการใช้ที่นั่งบนรถสำหรับเด็กหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายบังคับในประเทศจีน นอกจากนี้แล้ว ฟอร์ดยังได้เพิ่มโปรแกรมอบรมการขับขี่สำหรับผู้หญิงในประเทศต่างๆ ซึ่งมีจำนวนผู้ขับขี่รถยนต์ที่เป็นผู้หญิงมากขึ้นอย่างเด่นชัด อาทิ ในประเทศไทยและอินโดนีเซีย และได้เพิ่มการอบรมด้านการขับขี่ปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่ที่พิการสำหรับโปรแกรม DSFL ในประเทศอินโดนีเซีย ในขณะเดียวกัน ยังได้เปิดตัวแคมเปญ “No Honking” หรือ “งดบีบแตร” สำหรับประเทศเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยบนท้องถนน และผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นจากการบีบแตรในสถานการณ์ที่ไม่มีความจำเป็น และสำหรับในประเทศอินเดีย ในปี พ.ศ. 2558 มีการขยายโปรแกรม DSFL ที่เน้นเรื่องมารยาทและความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนน
ปัจจุบัน โปรแกรมขับขี่เพื่อความปลอดภัยหรือ DSFL รวมถึงการจัดกิจกรรมในโรงเรียนและชุมชน และเนื้อหาฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย บนเว็บไซต์ www.drivingskillsforlife.com เข้าถึงผู้ขับขี่รถยนต์ในทุกช่วงอายุแล้วกว่า 500,000 คน และฟอร์ดคาดว่าภายในสิ้นปี พ.ศ. 2558 นี้ จะมีผู้ผ่านการอบรมขับขี่ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัยภาคปฏิบัติในโครงการนี้ถึง 150,000 คนจาก 32 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ คาดว่าจะมีผู้ได้รับความรู้จากช่องทางต่างๆ ทั้ง กิจกรรม ของโครงการรวมถึงการเรียนออนไลน์เพิ่มอีกกว่า 100,000 คน สำหรับประเทศไทย ฟอร์ดได้มีการจัดอบรมโปรแกรม DSFL ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 8 โดยจัดอบรมให้กับผู้สนใจทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และประชาชนทั่วไป ไปแล้วกว่า 8,000 ราย โดยผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรม
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit