เดินหน้าส่งเสริมตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) เครื่องหมายคุณภาพตอกย้ำมาตรฐานสินค้าไทยในตลาดโลก

28 May 2015
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้การนำของนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เดินหน้าตอกย้ำคุณภาพมาตรฐานสินค้าส่งออกไทย ยกระดับภาพลักษณ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการด้วยตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) เครื่องหมายบ่งชี้สำคัญในด้านคุณภาพและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและบริการของไทยในตลาดโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเปิดโอกาสทางการตลาดที่แข็งแกร่งให้แก่ผู้ผลิตและเพิ่มความเชื่อมั่นในการใช้สินค้าไทยให้กับผู้บริโภคทั่วโลก เนื่องจากสินค้าที่ได้รับการติดตราสัญลักษณ์ TTM ถือได้ว่าเป็นสินค้าและบริการที่ได้รับการเลือกสรรว่าเป็นสินค้าชั้นเยี่ยมจากประเทศไทย มีมาตรฐานการผลิตที่เชื่อถือได้ อีกทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งก่อให้เกิดกระแสการมองหาตราสัญลักษณ์ TTM ในกลุ่มผู้บริโภค ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่ไปไกลถึงทั่วโลกในปัจจุบัน
เดินหน้าส่งเสริมตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) เครื่องหมายคุณภาพตอกย้ำมาตรฐานสินค้าไทยในตลาดโลก

ทุกปีมีผู้ประกอบการส่งออกไทยให้ความสนใจขอรับตราสัญลักษณ์ TTM เป็นจำนวนมาก โดยทางกรมฯ ได้มีการกำหนดประเภทของผู้ได้รับตราสัญลักษณ์ไว้ 6 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก กลุ่มอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สินค้าเครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการบริการ ได้แก่ ธุรกิจบริการรักษาพยาบาล ธุรกิจบริการส่งเสริมสุขภาพ (สปา) และธุรกิจบริการการศึกษานานาชาติ ซึ่งการพิจารณาคุณสมบัติผู้ประกอบการเป็นไปอย่างเข้มข้น เพราะกรมฯ ยึดถือคุณภาพมาตรฐานของสินค้าและบริการเป็นสิ่งสำคัญ ส่งผลให้ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ ดังนั้นในแต่ละปีทางกรมฯ จึงได้มีการเปิดรับสมัครให้ผู้ประกอบการส่งออกสามารถลงทะเบียนสมัครเข้ารับตราสัญลักษณ์ TTM ได้ถึง 3 ครั้ง ทุกๆ 4 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีการพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติครบตามที่กำหนด เพื่อมีสิทธิ์ในการขอใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าว โดยในปัจจุบันมีผู้ประกอบการส่งออกไทยได้รับตราสัญลักษณ์ TTM รวมทั้งสิ้นกว่า 644 บริษัท อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก เช่น บริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด (กระเบื้องตราเคนไซ / กระเบื้องปูพื้นคัมพานา) บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (เครื่องปรับอากาศ และเครื่องฟอกอากาศไซโจเดนกิ) บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด (เครื่องจักรและอุปกรณ์โรงสีข้าวยนต์ผลดี) บริษัท ไทย - เยอรมัน โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) (ท่อและแผ่นสเตนเลสทีจี โปร) บริษัท ไทยเลิศอุตสาหกรรม จำกัด (เทปน้ำหยดเพื่อการเกษตรมิกิ) บริษัท มอนเด้ อุตสาหกรรม จำกัด (อุปกรณ์ประดับยนต์มอนเด้) บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (พัดลมไอน้ำมาสเตอร์คูล) บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (เพาเวอร์ซัพพลายและอิเลคทรอนิกส์เดลต้า) กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น บริษัท บลู ริเวอร์ โปรดักส์ จำกัด (ผักผลไม้สด/ผักผลไม้กระป๋องบลู เอเลเฟ่นท์) บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด (เครื่องแกงตรารอยไทย) บริษัท ทิปโก้ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จํากัด (น้ำผลไม้ตราทิปโก้) บริษัท สินวารีพัฒนา จำกัด (ซอสปรุงรสตราเมกาเชฟ) บริษัท สามร้อยยอด จำกัด (ผลไม้กระป๋องตราสามร้อยยอด) บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด (วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป /เส้นก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ เส้นหมี่ เส้นเล็ก วุ้นเส้นตราไวไว) บริษัท ซีพีแรม จำกัด (อาหารแช่แข็งเจด ดราก้อน) บริษัท ทีทีซี น้ำดื่มสยาม จำกัด (น้ำดื่ม/น้ำแร่สยาม) บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน (น้ำมันพืช/ไขมันพืช/มาการีนตราหยก) บริษัท หยั่น หว่อ หยุ่น จำกัด (เครื่องปรุงรสอาหารตราเด็กสมบูรณ์/ เม็กชัพ/ไอ-เชฟ) บริษัท บี.ฟู้ดส์โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ไก่สดและไก่ปรุงสดแปรรูปเบทาโกร / เอสเพียว) กลุ่มอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ เช่น บริษัท ภัทรา พอร์ซเลน จำกัด (ชุดกาน้ำ จานชาม ชุดกาแฟ ชุดน้ำชา ชุดเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร PATRA และ NAPA) บริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน) (เครื่องแก้วตราโอเชียนกลาส) บริษัท คีออส เฟอร์นิเจอร์ จำกัด (โต๊ะ/ตู้/ ล็อคเกอร์ คีออส) บริษัท ออฟฟิเชียล อีควิปเม้นท์-แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (เฟอร์นิเจอร์ FLEXLAB) บริษัท โซไนต์ อินโนเวทีฟ เซอร์เฟสเซส จำกัด (ผลิตภัณฑ์โซไนต์) และ กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น เช่น บริษัท จินตนา อินเตอร์เทรด จำกัด (ชุดชั้นในจินตนา) บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด (รองเท้าแกมโบล) บริษัท ซาบีน่า ฟาร์อีสท์ จำกัด (ชุดชั้นในซาบีน่า) บริษัท เอ็มบีพี เลเธอร์ อินดัสทรีส์ จำกัด (เครื่องหนัง ALBEDO) กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น บริษัท เวอรีน่าอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โลชั่นทาตัว ครีมทาหน้า เวอรีน่า) บริษัท ปุริ จำกัด (ปัญญ์ปุริ) บริษัท ไวท์เฮ้าส์คลีนนิ่ง โปรดักส์ จำกัด (น้ำยาล้างจานเคลนเซอร์, น้ำยาซักผ้าไวท์เฮ้าส์) บริษัท ยูนีซัน จำกัด (ยาและอาหารเสริมยูนิซัน) กลุ่มสถานพยาบาล เช่น บริษัท โสธราเวช จำกัด (โรงพยาบาลโสธราเวช) เป็นต้น

ทั้งนี้ในปี 2558 กรมฯ ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการส่งออกไทยที่มีสิทธิ์ขอรับตราสัญลักษณ์ TTM อย่างเข้มข้น เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าไทย ประกอบด้วย หนึ่ง) เป็นนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกผู้ส่งออกของกรม สอง) ได้รับการรับรองมาตรฐานในประเทศและ/หรือมาตรฐานสากลต่างประเทศ (สำหรับสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานกำหนด) ทั้งนี้บางกลุ่มสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานตามข้อกำหนด ได้แก่ สินค้าแฟชั่น สินค้าของตกแต่งบ้าน ผู้สมัครสามารถยื่นเอกสารประกอบ โดยเป็นหนังสือรับรองจากลูกค้า / ผู้นำเข้าในประเทศที่นิยมสินค้าที่มีคุณภาพสูงและเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ และหนังสือรับรองจากสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่าสินค้าของผู้สมัคร เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในประเทศนั้น สาม) จะต้องเป็นสินค้าและบริการที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศ (เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือเป็นธุรกิจบริการในประเทศ) สี่) มีคุณสมบัติด้านภาพลักษณ์ของกิจการ/องค์กร (Corporate Value) โดยผู้สมัครจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 ปฎิบัติการสีเขียว (Green Industry) เป็นอย่างน้อย หรือได้รับ ISO 14001 และ ISO 26000รวมทั้งจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2553) ระดับพื้นฐาน เป็นอย่างน้อย ห้า) มีการดำเนินกิจกรรมที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม (CSR in Process และ CSR after Process) โดยผู้สมัครจะต้องกรอกแบบฟอร์มด้าน CSR หก) มีมูลค่าการส่งออก 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยต่อปีไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท และ เจ็ด) ไม่มีประวัติเสียหายในการประกอบธุรกิจ เช่น ไม่มีพฤติกรรมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือมีเจตนาลอก เลียนแบบสินค้าและตราสินค้าของผู้อื่น

ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ TTM จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อธุรกิจต่างๆ มากมาย ได้แก่ หนึ่ง) การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศ จะได้รับพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมนิทรรศการในงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องเป็นอันดับแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอง) การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศที่กรมฯ เข้าร่วม จะได้รับพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมนิทรรศการในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศที่กรมฯเข้าร่วม เป็นอันดับแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 1 ปี และได้รับส่วนลดค่าใช้จ่ายสมทบโครงการร้อยละ 50 ไม่เกิน 3 ครั้งเป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับเครื่องหมาย สาม) การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ทางกรมฯ จัดขึ้น จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม อาทิ คณะผู้แทนการค้า /In-store Promotion /อบรมสัมมนา เป็นอันดับแรกภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับเครื่องหมาย รวมทั้งได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมสัมมนา/ฝึกอบรมที่จัดโดยสถาบันองค์ความรู้ฯ (ยกเว้นหลักสูตร Smart Exporter และ ความรู้เบื้องต้นในการส่งออก) เป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับเครื่องหมาย สี่) ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงลึก TTM Training Series โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ห้า) ได้รับการประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ของกรมฯทั้งในและต่างประเทศ และ หก) ได้รับข้อมูลข่าวสารจาก DITP Connect

โดยกรมฯได้เปิดให้ผู้ประกอบการสามารถลงทะเบียนสมัครเพื่อขอรับตราสัญลักษณ์นี้ได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.thailandtrustmark.com โดยกำหนดระยะเวลาลงทะเบียนครั้งที่ 1/2558 ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้ประกอบการส่งออกที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อรับตราสัญลักษณ์ TTM จำนวน 41 บริษัท อีกทั้งยังเปิดให้ลงทะเบียนครั้งที่ 2/2558 ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 พฤษภาคม และลงทะเบียนครั้งที่ 3/2558 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน – 15 กันยายน 2558 นี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1169 หรือสอบถามข้อมูลขั้นตอนการสมัครสมาชิก TTM ออนไลน์ได้ที่ 087-700-0114 หรือสมัครผ่านเว็บไซต์ที่ www.thailandtrustmark.com

HTML::image( HTML::image(