ด้วยระยะทางราว 1,300 กิโลเมตร ระบบโครงข่ายเคเบิล MCT จะเชื่อมโยงระหว่างเมืองเชอราติงในมาเลเซีย และจังหวัดระยองของไทย และมี Branching Unit ที่เชื่อมจากสายเคเบิลหลักไปยังสีหนุวิลล์ในกัมพูชา ส่วนการเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและเมียนมาร์สามารถทำได้โดยผ่านโครงข่ายภาคพื้นดิน โครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ MCT นี้จะใช้เทคโนโลยี 100G ใหม่ล่าสุด ที่ให้ความเร็วสูงกว่า 30 เทราบิตต่อวินาที โดยจะเริ่มดำเนินการและให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงปลายปี 2559
พิธีลงนามในข้อตกลงได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ปราก ซกคน รัฐมนตรีกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ประเทศกัมพูชา เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูง และแขกผู้มีเกียรติมากมายร่วมเป็นสักขีพยาน โครงการนี้ยังถือเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญของกัมพูชา ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงกับภูมิภาคผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำขนาดใหญ่ความเร็วสูงครั้งแรกของประเทศ
หัวเว่ย มารีน จะใช้นวัตกรรมตัวขยายสัญญาณใยแก้วนำแสงใหม่ของหัวเว่ย ซึ่งสามารถรองรับคู่สายเคเบิลได้มากถึง 6 คู่ โดยบรรจุอยู่ในโครงไททาเนียมขนาดเล็ก ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดตั้งระบบ เนื่องจากสามารถวางและฝังท่อได้ในขั้นตอนเดียวระบบโครงข่ายเคเบิลใหม่นี้จะช่วยให้กัมพูชาและประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบมีแถบความถี่เชื่อมโยงระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานดาต้ารวดเร็วขึ้น รวมถึงเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้ทั้งองค์กรธุรกิจและบุคคลด้วย
มร. หม่า เหยียนเฟิง รองประธานบริหาร บริษัท หัวเว่ย มารีน กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับลูกค้าของเรา และเริ่มดำเนินการพัฒนาและก่อสร้างทางด่วนใยแก้ว MCT เพื่อมอบโครงสร้างพื้นฐานอันล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของภูมิภาคอินโดจีน”
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit