ผศ.ดร.ประภา กาหยี กล่าวว่า “การดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี ได้รับการตอบรับจากชุมชน และกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี ทำให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และเกิดรายได้ รวมถึงช่วยพัฒนาคุณภาพโดยรวมของชาวบ้าน ถือได้ว่าการดำเนินงานดังกล่าวประสบความสำเร็จในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน และในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้สนับสนุนโครงการพัฒนาการดำเนินงานตรวจสอบและทดสอบผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้า OTOP กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยคาดว่าความสำเร็จจากโครงการดังกล่าว จะทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ ได้ใช้บริการผ่านศูนย์ปฏิบัติการทดสอบทางเคมี ม.ราชภัฏภูเก็ต ดังนั้นการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะทำงาน ได้เดินทางมาเยี่ยมชมศูนย์ฯในครั้งนี้ เชื่อว่าจะก่อให้เกิดความร่วมมือต่อไป เพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานให้บริการแก่ชุมชนและสังคม” อธิการบดี กล่าว
ขณะที่ นายรังสรรค์ พลสมัคร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “คลินิกเทคโนโลยี ม.ราชภัฏภูเก็ต มีการดำเนินงานในภารกิจหลัก 2 ประการ คือ การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี และเสริมสร้างหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้มีการให้คำปรึกษาแก่ชุมชนหลายด้าน ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การถนอมอาหาร การแปรรูปอาหาร ซึ่งผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากในการให้คำปรึกษาของคลินิกฯ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.2556 เป็นปีแรกที่เราได้ดำเนินการวางแผนจัดตั้งหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณให้แก่กลุ่มเพาะเห็นอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ หมู่ที่ 8 ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนากระบวนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ภายใต้โครงการครัวอันดามัน ส่วนในปี พ.ศ.2559 คลินิกเทคโนโลยี จะพัฒนาและขยายงานห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการวิเคราะห์ ทดสอบ รับรองมาตรฐานสินค้าตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุม (มผช.) โดยจะพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน และประเทศชาติ โดยจะเป็นผู้ประสานความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่อไป”
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit