Slim d’Hermès Koma Kurabe การตีความผ่านเรือนเวลา 12 แบบที่มีรายละเอียดลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเรือน ประดับหน้าปัดด้วยกระเบื้องเคลือบ ถ่ายทอดภาพงานแข่งม้าซึ่งจัดขึ้นเพียงปีละครั้ง ณ ศาลเจ้าคามิกาโมะ ที่สร้างขึ้นในปี 678 ก่อนคริสตกาล ในเมืองเกียวโต ชาวญี่ปุ่นจากทั่วประเทศต่างเดินทางมาเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรถึงความสงบสุขและความอุดมสมบูรณ์ของพืชผล อีกทั้งเพลิดเพลินกับการแข่งม้าและบรรยากาศฤดูใบไม้ผลิอันงดงาม
เครื่องบอกเวลาเรือนนี้คล้ายจะเชื้อเชิญให้เราเดินทางไปสัมผัสกลิ่นอายศิลปะอันเก่าแก่ในรูปแบบพิเศษ เพราะนี่ถือเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบอกเวลา ที่ได้นำศิลปะการทำเครื่องกระเบื้องเคลือบของฝรั่งเศสมาผสมผสานเข้ากับงานจิตรกรรมอะคาเอะ ดั้งเดิมของญี่ปุ่นไว้ได้อย่างลงตัว ด้วยการรังสรรค์ผ่านปลายพู่กันอันเชี่ยวชาญของ บุซัง ฟุกุชิมะ (Buzan Fukushima) จิตรกรระดับปรมาจารย์ของญี่ปุ่นชิ้นงานสุดพิเศษนี้เริ่มต้นจากห้องเวิร์คช้อปในเมืองแซฟวร์ ใกล้กรุงปารีส ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญของการทำเครื่องกระเบื้องพอร์ซเลนในยุโรปมานานกว่าสามศตวรรษ
ช่างศิลป์บรรจงริน Barbotine ซึ่งเป็นเนื้อโคลนเหลวสำหรับทำเครื่องกระเบื้องลงบนซับสเตรตแบบพลาสเตอร์บอร์ดที่ช่วยซึมซับน้ำและกรองเอาเนื้อโคลนไว้ จากนั้นตัดแบ่งเนื้อโคลนที่กรองได้ตามขนาดที่ต้องการลงบนแผ่นโลหะ และทิ้งไว้ให้แห้งเป็นเวลาหลายวัน จากนั้นมาถึงขั้นตอนการเผาดินดิบ (biscuit’ firing) และการขัดเงาทั่วทั้งแผ่นเพื่อลบรอยที่เหลืออยู่ จึงเข้าสู่ขั้นตอนการเคลือบเครื่องกระเบื้องที่สลับซับซ้อน โดยการเคลือบชั้นสีใสและนำไปเผาจำนวนทั้งหมด 4 ถึง 6 ชั้น หลังจากนั้นนำแผ่นกระเบื้องซึ่งได้เจาะรูบริเวณริมขอบไว้ไปแขวนไว้ในเตาเผา ก่อนจะถูกตัดแบ่งเป็นรูปร่างเพื่อทำเป็นหน้าปัดเรือนเวลาต่อไป
แผ่นกระเบื้องแปรเปลี่ยนเป็นผลงานศิลปะเมื่อถูกรังสรรค์ด้วยฝีมือชั้นครูของ บุซัง ฟุกุชิมะ หนึ่งในจิตรกรเพียงไม่กี่คนที่ยังนิยมเทคนิคจิตรกรรมแบบอะคาเอะซึ่งเคยรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยจิตรกรรมแบบอะคาเอะบนเครื่องกระเบื้องเคลือบอันเก่าแก่นี้ รังสรรค์ขึ้นที่เมืองคุทะนิ ในจังหวัดอิชิกะวะ ปรมาจารย์ชื่อดังบรรจงตวัดปลายพู่กันเพื่อไล่ระดับสีแดงและสีเหลืองนวลอย่างละเอียดประณีต ก่อนจะเคลือบด้วยชั้นสีทองสวยงาม และต้องใช้กระบวนการเผาอีกถึง 3 ครั้งเพื่อปรับแต่งลวดลายภาพจิตรกรรมให้งดงามราวกับภาพในความฝันถึงเทศกาลดั้งเดิมของญี่ปุ่น ปรมาจารย์ผู้นี้ได้เนรมิตภาพฝันให้กลับมามีชีวิตเป็นครั้งแรกบนหน้าปัดเรือนเวลาแอร์เมส เช่นเดียวกับที่ได้เคยถ่ายทอดผลงานศิลปะชั้นครูลงบนเครื่องประดับตกแต่งขนาดใหญ่เฉกเช่นแจกันและจานชามมาแล้ว
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit