นางสาวสุภิญญากล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานควรทำการสำรวจการรับชมในพื้นที่นั้น ๆ ก่อนการยุติแอนะล็อก เช่น กรณีสมุย จากข้อมูลทั่วไปพบว่า ประชาชนรับชมจากดาวเทียมร้อยละ 95 ซึ่งข้อมูลนี้สำนักงานควรตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และมีแผนการสนับสนุนการรับชมของผู้บริโภคที่เหลือ โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยให้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงฟรีทีวีด้วยวิธีการอื่นก่อนการยุติแอนะล็อก รวมทั้งต้องมีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องตลอดจนข้อสงสัยของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในหลากหลายช่องทางอย่างสอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมาย
“ควรเตรียมข้อมูลที่มีความชัดเจน เป็นระบบและสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจง่าย เพื่อให้เป็นเสมือนคู่มือผู้บริโภคในการทำความเข้าใจกับแผนการยุติการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อก และเผยแพร่ในเวบไซต์สำนักงานฯ อย่างไรก็ตามในขณะนี้พบว่า สำนักงานฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่าง ๆ ในการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอลปรากฏในเวบไซต์อย่างกระจัดกระจายอย่างน้อย 5 เวบไซต์ด้วยกัน ได้แก่www.nbtc.go.th , www.broadcast.nbtc.go.th www.digital.nbtc.go.th www.digitaltv.nbtc.go.th และwww.bcp.nbtc.go.th ทั้งนี้ควรเตรียมการสรุปบทเรียนของการดำเนินการแผนการยุติแอนะล็อกในพื้นที่นำร่องเพื่อนำมาปรับปรุงใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป” สุภิญญากล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit