วันนี้ (13 สิงหาคม 2558) ที่ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร.นพ.อุทัย สุดสุข ประธานมูลนิธิอุทัย สุดสุข นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสัมมนาวิชาการ บุคลากรทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ มหาเถรสมาคม กรมการศาสนา สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานงานคณะกรรมการกลางอิสลามฯ สภาคริสตจักรฯ องค์กรศาสนาพราหมณ์ฯ องค์กรศาสนาฮินดู ในประเทศไทย รพ.ที่เกี่ยวข้องในแต่ละศาสนา และภาคภาคีเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง จำนวนกว่า 1,300 คน เพื่อผลักดัน นโยบายแห่งชาติสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย ส่งเสริมการนำหลักธรรมคำสอนแต่ละศาสนามา บูรณาการร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก ป้องกันและลดปัญหาการเจ็บป่วยประชาชน
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยประชาชน โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลา จึงได้จัดทำร่างนโยบายแห่งชาติสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย พ.ศ. 2559-2563 ถือว่าเป็นประเทศแรก โดยนำหลักธรรมคำสอนแต่ละศาสนา เช่น พุทธ อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู และซิกข์ มาบูรณาการเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ และหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน แผนไทย แพทย์ทางเลือก ภูมิปัญญาไทย และวิถีความเป็นไทย ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปรับแก้พฤติกรรมสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุการป่วยอันดับ 1 ประมาณ 10 ล้านคน และมีแนวโน้มมากขึ้นเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เป็นต้น โดยจะเสนอครม.ประกาศเป็นนโยบายชาติ ดำเนินการทุกพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 มั่นใจว่านโยบายนี้ จะทำให้การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของประเทศเข้มแข็งขึ้น ลดปัญหาสังคม เช่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้
ทางด้านนพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สาระของร่างนโยบายแห่งชาติสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย พ.ศ. 2559-2563 มีดังนี้ 1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์ พึ่งพาตนเองได้ โดยนำหลักธรรมของแต่ละศาสนามาปฏิบัติให้สอดคล้องและบูรณาการกับหลักการแพทย์การสาธารณสุข รวมทั้งสังคม วัฒนธรรมไทยและเศรษฐกิจพอเพียง 2.พัฒนาสหวิทยาการ บุคคลากร และการบริหารจัดการระบบสุขภาพ และ 3.ส่งเสริมพัฒนาองค์กรและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศาสนา ขับเคลื่อนนโยบายฯ สู่การปฎิบัติทุกพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการสุขภาพและส่งเสริมให้ยึดหลักธรรมศาสนาเหนียวแน่นมากขึ้น สร้างความรัก สามัคคีและความปรองดองอย่างยั่งยืน
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า การนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้ปรับพฤติกรรมสุขภาพประชาชน ทดลองใช้ตั้งแต่ปี 2553 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ อุบลราชธานี เลย และขยายเพิ่มอีก 19 จังหวัด ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ เช่น กรุงเทพฯ สิงห์บุรี ราชบุรี ชลบุรี สุโขทัย ลำพูน ขอนแก่น ตรัง เป็นต้น ใช้ 3 เครื่องมือ ได้แก่ หลัก3ส. คือ สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม หลัก3อ. คืออาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ หลัก1น. คือ นาฬิกาชีวิต ซึ่งเป็นการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายตามธรรมชาติ พบว่าได้ผลดีและโรคเรื้อรังที่เป็นเช่น เบาหวาน ความดันลดลง พุงและดัชนีมวลกายแต่ละคนลดลงร้อยละ 60-80
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit